วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

4 เคล็ดลับพัฒนาสติปัญญาลูกให้โตสมวัย

4 เคล็ดลับพัฒนาสติปัญญาลูกให้โตสมวัย

Attention, เปิดในหน้าต่างใหม่. พิมพ์อีเมล
เคล็ดลับพัฒนาสติปัญญาลูกให้โตสมวัย


ลูกจากวัยแรกเกิด จนเข้าสู่ปฐมวัย (6 ขวบแรก) นั้น ลูกของเราจะมีการพัฒนาการทั้งด้านร่างกายและจิตใจที่รวดเร็วมาก หากเราสามารถช่วยเสริมให้ลูกมีพัฒนาการที่ถูกต้อง เหมาะสมตามวัยของเราได้ละก็ จะทำให้ลูกของเราเป็นเด็กที่มีความประพฤติดี มีความฉลาดทางด้านอารมณ์สูง
โดยพื้นฐานของเด็กตั้งแต่แรกเกิดนั้น ลูกของเราจะมีความอยากรู้ อยากเห็น อยากลอง เพราะลูกยังไม่รู้จัก "กลัว" หรือ "ถูก ผิด" นั้นเอง เซลล์สมองของลูกในช่วงแรกเกิดจนถึง 6 ขวบแรกนั้นจะมีการพัฒนาการอย่างรวดเร็ว ลูกจะสามารถรับรู้และเก็บสิ่งที่ตัวเองได้รับมาเป็นประสบการณ์ที่ฝังลงไปในจิตใจ ยิ่งเขาได้รับประสบการณ์ที่ดีมากเท่าไร โตขึ้นลูกก็จะยิ่งเติบโตเป็นเด็กที่ดีมากเท่านั้น
เราสามารถช่วยเสริมการพัฒนาการต่างๆ ให้ลูกได้ 4 ทางดังนี้

1. ให้ลูกได้เห็นในสิ่งที่ดี

ลูกของเรา (แม้ว่าจะเพิ่งแรกเกิดก็ตาม) สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่ตัวเองเห็นได้ การมองเห็นนี้หมายรวมถึงการกระทำบางอย่างของพ่อแม่ หรือผู้เลี้ยงดูที่กระทำต่อตัวเองและกระทำต่อตัวลูกของเราด้วย โดยการกระทำต่างๆ ที่เด็กเห็นนั้น เด็กจะยังไม่สามารถแยกแยะได้ว่า สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ แต่เด็กจะซึมซับในสิ่งที่เห็นทั้งหมดแล้วสุดท้ายจะกลายเป็นพฤติกรรมของลูกเอง เช่น เด็กที่เห็นพ่อแม่ชอบร้องเพลง อารมณ์ดี หรือเล่นดนตรี เมื่อลูกเติบโตขึ้น ลูกก็จะมีความรักในดนตรี มีจิตใจอ่อนโยน หรือกรณีที่พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูไม่ชอบกินผัก เมื่อเด็กโตขึ้นเด็กก็มักจะไม่กินผักไปด้วย

2.ให้ลูกได้ยินในสิ่งที่ดี

คำพูดที่ดี น้ำเสียงที่อ่อนโยน เด็กทารกแรกเกิดสามารถรับรู้ได้ โดยเฉพาะเด็กในช่วงปฐมวัย (แรกเกิด - 6 ขวบ) เด็กจะตั้งใจฟังและมีความรู้สึกไวต่อเสียงต่างๆ หากใครที่เคยเลี้ยงลูกมาก่อน เมื่อลูกอายุประมาณ 3-4 เดือนจะพบว่าเวลาที่เราอุ้มลูกแล้วพูดคุยกับลูก ลูกจะทำปากขมุบขมิบ ดวงตาจะจ้องตรงมายังหน้าพ่อหรือแม่ที่อุ้มเขาอยู่ เขาจะตั้งใจฟังเสียงต่างๆ ที่เข้ามากระทบต่อตัวเขานั้น ดังนั้นเสียง คำพูดต่างๆ ที่ไม่ดี โดยเฉพาะคำสบถ คำด่า ซึ่งมักจะเป็นคำที่สั้นๆ (1 - 2 พยางค์) จะเป็นคำที่เด็กวัยปฐมวัยสามารถจดจำได้ง่าย ดังนั้นหากไม่อยากให้ลูกพูดจากก้าวร้าว พ่อแม่และผู้เลี้ยงดูก็ต้องระวังอย่าใช้คำพูดที่ไม่ดีให้เด็กได้ฟัง อย่าคิดว่าลูกยังเล็กอยู่ยังฟังไม่รู้เรื่อง เพราะเด็กจะจดจำลักษณะการออกเสียงสั้นๆ เหล่านั้นและพูดออกมาโดยไม่รู้ความหมาย ซึ่งกว่าพ่อแม่จะรู้ว่าลูกของตัวเองติดพูดคำด่า คำก้าวร้าว ก็อาจจะแก้ไขได้ยาก

3. ให้ลูกเล่นและมีกิจกรรมดีๆ

เด็กในช่วงปฐมวัยจะห่วงเล่น ซึ่งเป็นธรรมชาติของเด็ก พ่อแม่ที่เข้าใจในพัฒนาการของลูกก็จะสามารถหากิจกรรม หรือการเล่นที่สอดคล้องกับแต่ละช่วงอายุของลูกได้ นอกจากนั้นการเล่นของเด็กนั้นจะเป็นการเรียนรู้ที่กระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้อย่างดี
4. ให้การอบรมสั่งสอนลูกตั้งแต่เล็ก
เด็กในช่วงปฐมวัยมีความอยากรู้อยากเห็นตลอด เด็กจะมีความกระตือรือล้นในการเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัว ดังนั้นการอบรมสั่งสอนเป็นสิ่งจำเป็น โดยการสอนนั้นควรจะเป็นการสอนในลักษณะอธิบาย ไม่ใช่การสั่งหรือห้าม แม้ว่าเด็กในวัยนี้จะยังไม่สามารถเข้าใจในสิ่งที่พ่อแม่อธิบายได้ทั้งหมด แต่การอธิบายให้ลูกฟังตั้งแต่เล็ก หรือปล่อยให้เขาได้ลองเองกับตัวเอง (กิจกรรมนั้นต้องไม่เป็นอันตราย) แล้วพ่อแม่คอยชี้แนะว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น จะทำให้เด็กสามารถเรียนรู้และเข้าใจได้อย่างรวดเร็วกว่าการสั่งสอนแบบใช้คำพูดอย่างเดียว เช่น การสอนลูกให้แปรงฟัน โดยใช้วัสดุแบบจำลองฟันปลอม ให้ลูกได้หัดถือแปรงสีฟันเอง พ่อแม่ชี้แนะว่าเหตุใดต้องแปรงฟัน เหตุใดต้องจับด้ามแปรงสีฟันแบบนี้ ขยับมืออย่างไร เป็นต้น


6 วิธีรับมือไม่ให้ลูกเอาแต่ใจตัวเอง


6 วิธีรับมือไม่ให้ลูกเอาแต่ใจตัวเอง

6 วิธีรับมือไม่ให้ลูกเอาแต่ใจตัวเอง

Attention, เปิดในหน้าต่างใหม่. พิมพ์อีเมล
           เด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 6 ขวบ ลูกของเราจะเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก ซึ่งเด็กในช่วงปฐมวัยนี้ยังไม่สามารถใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหา แต่ลูกจะคอยสังเกตการตอบสนองจากคนรอบข้างทั้งพ่อแม่ และผู้ดูแล หากพ่อแม่ที่ไม่รู้มาก่อนว่าลูกของตนนั้นกำลัง "ลองดี" กับตัวเองแล้วละก็ ลูกก็จะเรียนรู้ว่า "ถ้าทำอย่างนี้แล้วพ่อแม่จะยอม" ซึ่งเมื่อเด็กเรียนรู้ไปมากๆ เข้า ก็จะพัฒนากลายเป็นนิสัย และเริ่มรู้ว่าจะทำอย่างไรให้ผู้ใหญ่ยอมทำในสิ่งที่เขาต้องการนั้นเอง ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นแล้วพ่อแม่คงต้องเหนื่อยอีกเยอะเลยค่ะ วันนี้เรามีวิธีเตรียมรับมือไม่ให้ลูกเอาแต่ใจตัวเองและรับฟังเหตุผลพ่อแม่

คุณพ่อคุณแม่เคยเจอลูกมีอาการเหล่านี้บ้างหรือเปล่า

  1. เวลาที่ลูกต้องการจะให้พ่อแม่ทำอะไรให้ เช่น กินขนม ซื้อของเล่น พาไปเที่ยว เมื่อไม่ได้ดั่งใจ ลูกก็จะร้องไห้งอแง หนักๆ เข้ามีอาการดิ้นลงไปกับพื้น ชักดิ้นชักงอ สุดท้ายพ่อแม่ก็ต้องยอมทำตามที่ลูกต้องการ
  2. เวลาที่ไปขัดใจลูก เช่น ให้หยุดเล่นเพื่อไปทำกิจกรรมอื่น ลูกก็จะร้องไห้งอแง
  3. เวลาที่พ่อแม่สอนหรือบอกลูกให้ทำอะไร ลูกมักจะต่อต้านหรือไม่ยอมทำตาม

สาเหตุที่ลูกมีอาการเหล่านั้นเพราะ

  1. นับตั้งแต่ลูกเกิดออกมา ลูกของเราก็จะมีการเรียนรู้ เช่น เมื่อตัวเองรู้สึกหิว เมื่อร้องไห้แล้วมีน้ำนมให้กิน เด็กก็จะเรียนรู้ว่า อ้อ.. ถ้าหิวให้ร้องไห้นะ เดี๋ยวจะมีน้ำนมมาให้กินอิ่มอร่อย
  2. เมื่อลูกเรียนรู้ว่าทำแบบไหนแล้วได้ผล แต่เมื่อทำซ้ำแล้วยังไม่ได้สิ่งที่ตัวเองต้องการ ลูกก็จะเพิ่มความรุนแรงของการกระทำขึ้นไปอีก เช่น ครั้งแรกพ่อแม่พาไปเที่ยวแล้วซื้อของเล่นหรือขนมให้ลูกกิน เมื่อพาลูกออกไปอีก ลูกก็จะให้เราซื้อขนมหรือของเล่นเพิ่มให้ เมื่อไม่ได้ลูกก็จะร้องไห้ หากการร้องไห้ครั้งนี้ทำให้พ่อแม่ใจอ่อนจนทำตามสิ่งที่ลูกต้องการ ลูกก็จะเรียนรู้และเข้าใจไปเองว่า "ทำแบบนี้แล้วพ่อแม่จะยอม"
    เมื่อวันต่อๆ ไปอยากจะได้อะไร ลูกก็จะนำกลับไปใช้มุขเดิม คือ ร้องไห้งอแง ถ้าไม่ได้ ลูกก็จะร้องไห้หนักขึ้น ดังขึ้น มีอาการลงไปนั่งชักดิ้นชักงอ หากพ่อแม่ยอมตามใจลูก ลูกก็จะจดจำไปอีกว่า "ถ้าทำแบบขั้นที่ 1 ไม่ได้ ก็ทำแบบขั้นที่ 2 นี้ แล้วพ่อแม่จะยอมฉัน"
    ยิ่งพ่อแม่เห็นลูกร้องไห้งอแงแล้วก็ตามใจ หรือพูดโอ๋ลูก ลูกก็จะยิ่งจดจำว่า ทำสิ่งนี้แล้วจะมีคนรัก คนเอาใจ ซึ่งเด็กทุกๆ คนจะเรียนรู้เองตามธรรมชาติ ทำให้ยิ่งโตขึ้น ลูกจะยิ่งเอาแต่ใจมากขึ้น และหากขัดใจ ก็จะร้องไห้หรือมีพฤติกรรมที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น

ทางแก้ไม่ให้ลูกเอาแต่ใจตัวเอง

  1. ต้องทำความเข้าใจกับธรรมชาติของลูกให้มากว่าลูกในวัยนี้ (ช่วง 6 ขวบแรก) นั้น หากพ่อแม่สอนและฝึกไม่ตามใจลูกทุกครั้งที่ร้องไห้งอแง ลูกจะโตขึ้นมาโดยไม่ติดนิสัยเหล่านี้
  2. ให้ลูกหัดเรียนรู้การช่วยเหลือตัวเอง เช่น พ่อแม่อาจจะเริ่มฝึกลูก (เริ่มตอน 2 ขวบ) ให้เริ่มใส่เสื้อผ้าเอง, กินข้าวเอง, ดื่มน้ำจากแก้วเอง ฯลฯ และควรพาลูกไปเล่นกับเพื่อนๆ ในวัยเดียวกัน เมื่อลูกไปเจอกับเพื่อนในวัยเดียวกัน ลูกจะเรียนรู้การแบ่งปัน การได้รับและการให้
  3. เวลาที่ลูกร้องไห้เมื่อไม่ได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ (ประเภทลงไปนั่งดิ้นชักกระตุกๆ ที่พื้น) สิ่งแรกที่พ่อแม่ต้องทำคือ การเข้าไปอุ้มลูก กอดลูกไว้ โดยไม่ต้องไปโวยวาย ไปดุด่าว่าลูก แค่กอดลูกไว้เฉยๆ แล้วพาลูกออกมาจากสิ่งที่เขาต้องการ เช่น ร้านขนม ร้านของเล่น
    การกอดลูกเอาไว้เฉยๆ โดยที่พ่อแม่ไม่ดุ ไม่ด่า ไม่ว่าอะไรลูก เมื่อลูกร้องไห้จนเหนื่อยและไม่เห็นสิ่งเร้า (สิ่งที่ตัวเองอยากได้ เช่น ขนม ของเล่น ฯลฯ) สักพักลูกก็จะลืมไปเอง ซึ่งเมื่อลูกอารมณ์เริ่มดีขึ้น พ่อแม่ควรสอนลูกว่าเหตุใดพ่อแม่จึงไม่ซื้อหรือทำสิ่งนั้นให้ลูก แต่ไม่ควรไปดุด่าลูกอีก แค่บอกเหตุผลว่าทำไมถึงไม่ทำหรือซื้อสิ่งนั้นให้ก็พอค่ะ
    โปรดจำไว้ว่า แม้ว่าลูกจะยังเล็ก จะไม่เข้าใจเหตุผลที่พ่อแม่อธิบายไปทั้งหมด แต่ถ้าพ่อแม่ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ ลูกจะซึมซับถึงการใช้เหตุผล ไม่ใช่การใช้อารมณ์ของพ่อแม่โต้ตอบ พ่อแม่หลายคนมักจะด่าว่าลูกว่า "ร้องทำไม หยุดร้องเดี๋ยวนี้" ซึ่งทำให้ลูกรู้สึกว่าเขาไม่ได้รับความรัก พ่อแม่ไม่รักเขา ลูกจึงต้องเรียกร้อง (ด้วยการร้องไห้งอแง และดิ้นๆ เพิ่มขึ้นนั้นเอง)
  4. หัดตั้งคำถามกับลูกบ่อยๆ ถามลูกว่าลูกรู้สึกยังไงบ้าง และลูกคิดยังไงกับสิ่งที่ตัวเองอยากได้ ทำไมถึงอยากได้สิ่งๆ นั้น และทำไมจะต้องเอาสิ่งๆ นั้นให้ได้
  5. เปิดโอกาสให้ลูกได้หัดตัดสินใจเองบ้าง อาจจะเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ หรือเรื่องที่เกี่ยวกับตัวของลูกเอง เช่น จะเลือกเสื้อผ้าตัวไหนดี (ลูกจะได้อารมณ์ดี เพราะบางครั้งลูกอาจจะไม่อยากใส่ชุดที่พ่อแม่เลือกให้ก็ได้), มื้อเย็นนี้จะกินอาหารอะไรดี (มีเมนูอาหารให้เลือกหลากหลาย แล้วลูกเป็นคนตัดสินใจ) ฯลฯ เป็นต้น
  6. พูดคุยกับลูกให้บ่อย เด็กในช่วงปฐมวัยนั้น พ่อแม่เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวและเป็น "ของเล่น" ที่ดีที่สุดสำหรับเขา หากพ่อแม่พูดคุยกับลูกสม่ำเสมอ เล่นกับลูก ให้ความรัก กอดลูกให้มาก ลูกจะไม่ใช้ความก้าวร้าวเป็นตัวต่อรองกับพ่อแม่

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ

 




วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเรา ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ส่งผลให้เราสามารถดูแลสุขภาพได้ดีขึ้นและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการโภชนาการ ผลจากการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสบาย เช่นเราจะรู้สึกว่าไม่มีความสุขหากอากาศร้อนมากวิทยาศาสตร์ช่วยให้เรามีพัดลมหรือแอร์ เราได้รับความบันเทิงทางเทคโนโลยีเช่นทีวี วิทยุ เป็นต้น เราสามารถเก็บข้อมูลได้มากมายเรียกใช้ข้อมูลประมวลความรู้และสื่อสารข้อมูลไปทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วจากเครื่องคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์ช่ายให้เราเข้าใจตัวเองและโลกรอบตัว ความยิ่งใหญ่และความซับซ้อนของธรรมชาติทำให้เราพยายามอธิบายเพื่อสร้างความเข้าใจและแสวงหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวในจักรวาล ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เราเกิดความตระหนักมากขึ้นและพยายามที่เขียนอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล
เด็กเล็กๆมีธรรมชาติที่เป็นผู้ความอยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไรสามารถแสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเขาและเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่ เด็กสามารถสังเกตและสื่อสารเกี่ยวเรื่องดิน หิน อากาศและท้องฟ้า เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุ พลังงานจากแม่เหล็ก แสงและเสียง เด็กสามารถสำรวจลักษณะของน้ำและความร้อน สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กปฐมวัยเริ่มการทำงานทางวิทยาศาสตร์ เด็กสามารถแก้ปัญหาต่างๆโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆได้มากมาย กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาโดยทำให้เด็กได้รับความรู้ พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่น การสังเกต การจำแนกประเภท การเรียงลำดับ การวัด การคาดคะแน และการสื่อสาร รวมทั้งทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กสนใจวัตถุและเหตุการณ์ เด็กเล็กมีวิธีการเรียนรู้คล้ายนักวิทยาศาสตร์สามารถทำงานด้วยทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และพัฒนาการทางอารมณ์เช่นเด็กมีความรู้สึกและเจตคติทางบวก
วิทยาศาสตร์หมายถึงการสืบค้นและอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ สภาพแวดล้อมและร่างกายมนุษย์ หรือวิทยาศาสตร์หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆในธรรมชาติ โดยได้จากการศึกษาค้นคว้าอย่างมีขั้นตอนและมีระเบียบแบบแผน ความรู้ของข้อมูลต่างๆ ที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบสามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีหลักฐานและข้อมูลเพิ่มเติมขึ้นจากการค้นพบใหม่ที่เป็นปัจจุบันและที่ดีกว่าคือ ตัวอย่างและข้อมูลที่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่สามารถทดสอบได้ มีขอบเขต มีระเบียบกฎเกณฑ์ มีการสังเกตการจดบันทึกการตั้งสมมติฐาน และอื่นๆ วิทยาศาสตร์มีขอบข่ายการศึกษาค่อนข้างกว้างขวาง แต่โดยสรุปแล้วก็คือ การศึกษาธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา ซึ่งอาศัยกระบวนการค้นคว้าหาความรู้ที่มีขั้นตอนเป็นระเบียบแบบแผนตั้งแต่สมัยโบราณ มนุษย์พยายามเรียนรู้ทำความเข้าใจและอธิบายธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา อันได้แก่ พฤติกรรมการเปลี่ยนแปลง และปรากฏการณ์ต่างๆ จนนำไปสู่การกำหนดหลักการ กฎเกณฑ์ และทฤษฏี อันเป็นรากฐานของการศึกษาค้นคว้าแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เช่น ชาร์ลส์ ดาร์วิน ได้ศึกษาธรรมชาติและพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต แล้วสรุปเป็นทฤษฎีวิวัฒนาการ แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้ศึกษาความธรรมชาติและความสัมพันธ์ของสสารกับพลังงาน จนได้มาเป็นทฤษฎีวิวัฒนาการ เป็นต้น
Katz and Chard (1986. อ้างอิงจาก Cliatt & Shaw. 1992 : 3-4 ) อธิบายวัตถุประสงค์การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ว่า ทำให้เกิดความรู้ ทักษะต่างๆ การจัดการและ ความรู้สึก ความรู้ประกอบด้วย ความคิด ข้อเท็จจริง ความคิดรวบยอดและสารสนเทศ ทักษะประกอบด้วย พฤติกรรมทางร่างกาย สังคม การสื่อสารและการแสดงออกทางปัญญาเช่น การเล่นและการทำงานคนเดียวหรือกับคนอื่นๆ การแสดงความคิดผ่านภาษาโดยการพูดและการเขียน การจัดการกับกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยลักษณะนิสัยการทำงานด้วยความอดทน ความอยากรู้อยากเห็น การลงมือแสวงหาความรู้ด้วยการทดลองตามที่ได้วางแผนไว้ สนับสนุนให้ได้มาซึ่งความรู้ อัญชลี ไสยวรรณ(2547 :1-6 )กล่าวเพิ่มเติมว่ากิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กเรียนรู้วิธีการเรียนและการสร้างความมั่นใจของเด็ก ลดความกลัวในสิ่งที่ยังไม่รู้ จะนำไปสู่ความรู้สึกประสบความสำเร็จ การสนับสนุนความอยากรู้ของเด็ก กิจกรรมวิทยาศาสตร์เพิ่มความสนใจและความอยากรู้อยากเห็นในการทำงานร่วมกันเพื่อหาคำตอบจากคำถามทางวิทยาศาสตร์

    กิจกรรมวิทยาศาสตร์ในห้องเรียนเด็กปฐมวัยมีความสำคัญหลายประการดังนี้

  1. ส่งเสริมการเห็นคุณค่าของตนเองและมีความกระตือรือร้น (คือเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้)
  2. ส่งเสริมการทำงานรายบุคคลและการคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาของเด็ก
  3. ยอมรับรูปแบบการเรียนรู้จากวัสดุอุปกรณ์ซึ่งจะช่วยสร้างประสบการณ์ที่เป็นธรรมชาติ การรับรู้และความพยายามของเด็กหลายคนจากการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีความสำคัญต่อการรับรู้ชีวิต เรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์การทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์
  4. เพื่อเป็นการช่วยอธิบายความเข้าใจด้วยตัวเองของเด็ก
  5. ดูแลเอาใจใส่ต่อพฤติกรรมของเด็กที่ปรากฎ เช่น การแสดงความกังวลใจ เด็กที่เกิดความเบื่อ
  6. กิจกรรมการค้นพบช่วยให้ผู้เรียนสนใจใฝ่รู้ อยากสืบค้นต่อไป
  7. ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพทางสติปัญญาของเด็กจากการเรียนรู้ที่เด็กได้สัมผัสกับวัสดุอุปกรณ์ ทำให้เด็กมีแรงจูงใจในการทำกิจกรรมที่มีความยากขึ้น เด็กได้เรียนรู้ภาษาและเนื้อหาสาระแบบบูรณาการ เช่น วิธีการได้รับประสบการณ์ทางภาษาแบบธรรมชาติต่อการอ่าน วิธีการสอนแบบโครงการต่อการพัฒนาหลักสูตร การใช้ประสาทสัมผัส และการใช้กล้ามเนื้ออย่างเหมาะสมกับวัย

สื่อการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

สื่อการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

             สื่อการสอนเป็นตัวกลางซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอน มีหน้าที่เป็นตัวนำความต้องการของครูไปสู่ตัวนักเรียนอย่างถูกต้อง รวดเร็ว เป็นผลให้นักเรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายการสอนได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม นักการศึกษาเรียกชื่อสื่อการสอนด้วยชื่อต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์การสอน วัสดุการสอน โสตทัศนูปกรณ์ เทคโนโลยีการศึกษา สื่อการเรียนการสอน สื่อการศึกษา เป็นต้น
สื่อการสอนวิทยาศาสตร์ หรือสื่อในการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดสถานการณ์ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เนื้อหา ที่เป็นความรู้ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์
ชนิดของสื่อการสอน
             สื่อการสอนที่ใช้ในการสอนมีหลายชนิดสำหรับเด็กปฐมวัยอาจกล่าวได้ว่าสิ่งใดก็ตามที่เป็นเครื่องช่วยให้เด็กวัยนี้มีพัฒนาการ นับว่าเป็นสื่อการสอนได้ทั้งสิ้น ได้แก่
             1. ครู
ครูเป็นสื่อที่นับได้ว่ามีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นผู้ก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวต่าง ๆ
ในการเรียนรู้และเป็นสื่อที่จะนำสื่ออื่น ๆ ให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอน หากปราศจากครู การเรียนการสอนก็จะไม่มีผลต่อเด็กในวัยนี้อย่างแน่นอน
             2. สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ
สื่อชนิดนี้ครูหรือผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องจัดหาหรือทำขึ้น เพราะมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ
เพียงแต่ผู้ใช้จะต้องเลือกตามความมุ่งหมาย เช่น การสอนเรื่องวงจรชีวิตกบ ก็ควรเลือกฤดูกาลที่เหมาะสม คือ ฤดูฝน เพื่อจะได้นำสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติมาศึกษาได้ แทนที่จะใช้วิธีวาดภาพไข่กบ ลูกอ็อด และลูกกบ ประกอบคำอธิบาย เป็นต้น
             3. สื่อที่ต้องจัดทำขึ้น
สื่อชนิดนี้มีมากมายหลายชนิด สุดแต่ผู้ที่สนใจจะจัดซื้อ จัดหา หรือจัดทำขึ้น ได้แก่
ของจำลอง ภาพถ่าย ภาพวาด เกม วีดีทัศน์ ฯลฯ
นอกเหนือจากนี้ สื่อดังกล่าวอาจแบ่งออกตามลักษณะของการใช้ได้เป็น 3 ประเภทคือ
             1. สื่อการสอนประเภทวัสดุ เช่น ภาพ เปลือกหอย ฯลฯ
             2. สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์ เช่น วิทยุ เครื่องเล่นวีดีโอ เครื่องรับโทรทัศน์ ฯลฯ
             3. สื่อการสอนประเภทวิธีการ กระบวนการจัดกิจกรรม เช่น การสาธิต การทดลอง เกม
บทบาทสมมติ ฯลฯ
การจัดหาสื่อการสอนวิทยาศาสตร์
             ก่อนที่ครูปฐมวัยจะจัดสื่อการสอนนั้นควรคำนึงถึงสื่อที่อยู่ใกล้ตัวก่อน ซึ่งอาจเป็นสื่อของจริงชนิดต่าง ๆ หรือสื่อสำเร็จรูป ได้แก่ ตุ๊กตา หุ่นจำลอง แล้วจึงคิดต่อไปว่าสื่อชนิดใดจะจัดทำขึ้นได้อย่างง่าย ๆ ประหยัดวัตถุดิบ ประหยัดเวลาและแรงงาน ได้ผลคุ้มค่า และใช้ประโยชน์ได้ตรงตามจุดประสงค์ที่วางไว้ ถึงแม้ว่าสื่อนั้นจะไม่สวยงามเท่ากับสื่อที่จัดทำขึ้นด้วยเครื่องจักรซึ่งมีความประณีตงดงามก็ตาม และที่สำคัญที่สุดก็คือ ถ้าครูสามารถผลิตสื่อได้เองก็จะเป็นการดี ไม่ต้องรองบประมาณในการจัดซื้อ
ครูปฐมวัยต้องจัดหาและรวบรวมสื่อ วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังนั้นครูควรจะทราบถึงแหล่งของวัสดุอุปกรณ์ และวิธีการที่จะได้สื่อ วัสดุอุปกรณ์เหล่านั้นมา
แหล่งสื่อที่ครูสามารถรวบรวมได้ ได้แก่
             1 พ่อแม่และผู้ปกครองของเด็ก พ่อแม่และผู้ปกครองของเด็กเป็นจำนวนมากที่ได้สะสมวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ไว้มาก เช่น เขาได้ไปเที่ยวทะเลมาเขาก็สะสมเปลือกหอยต่าง ๆ ไว้ ถ้าทางโรงเรียนได้บอกถึงความต้องการสิ่งเหล่านี้ ผู้ปกครองเด็กมีความยินดีที่จะบริจาคให้ หรือผู้ปกครองบางคนที่ไม่มีวัสดุอุปกรณ์อยู่ เขาอาจจะบริจาคเป็นเงินเพื่อให้ซื้อก็ได้ หรือบางคนอาจจะให้ยืมมาใช้
             2 บุคคลต่าง ๆ ในชุมชน ได้แก่ เจ้าของร้านค้า โรงงานอุตสาหกรรม หน่วยงานของรัฐบาลและเอกชน บุคคลเหล่านี้จำนวนมากต้องการช่วยเหลือโรงเรียนอยู่แล้ว ถ้าโรงเรียนแจ้งความจำนง
             3 ซื้อจากร้านค้า ซึ่งอาจจะหาซื้อได้จากร้านค้าที่เป็นของคุรุสภาหรือของเอกชนทั่ว ๆ ไป
             4 ประดิษฐ์ขึ้นเอง ทางโรงเรียนอาจจะทำขึ้นมาเอง หรือเชิญคนในชุมชนที่มีความสามารถร่วมกันจัดทำ โดยใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่น ในการรวบรวมวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ นั้น ครูควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
- ความปลอดภัย วัสดุอุปกรณ์ที่จะนำมาให้เด็กใช้ต้องปลอดภัยจากอันตรายต่าง ๆ เช่น ไม่มีคมที่อาจบาดมือเด็กได้ หรือสีที่ใช้ต้องไม่มีอันตรายต่อสุขภาพเด็ก เป็นต้น
- ความเหมาะสม วัสดุอุปกรณ์ทึ่จัดหามานั้นต้องมีขนาดเหมาะสมกับวัยของเด็ก เด็กสามารถหยิบใช้ได้เอง นอกจากนั้นยังต้องเหมาะสมกับเรื่องที่สอนด้วย
- ราคาถูก ทำได้ง่าย ไม่ต้องใช้เงินซื้อหรือซื้อก็ใช้เงินเพียงเล็กน้อย
- สะดวกในการขนย้ายและเก็บรักษา
- พยายามใช้สิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติให้มากที่สุด เช่น ต้นไม้ อากาศ ไอน้ำ ฯลฯ
ในสภาพปัจจุบัน โรงเรียนส่วนใหญ่ไม่สามารถจัดซื้อ จัดหาสื่อการสอนและของเล่นเด็กได้ครบถ้วนทุกประการ ทั้งนี้ครูปฐมวัยจึงจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มพูนทักษะ การคิดค้น ประดิษฐ์ สะสมวัสดุสิ่งของต่าง ๆ ที่พอจะหาได้ในท้องถิ่น เช่น ขวดพลาสติก จุกขวดฝาน้ำอัดลม กระป๋องนม เศษผ้า เศษไม้ กล่องกระดาษ ลังกระดาษ เมล็ดพืช ใบไม้ ดอกไม้ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ วัสดุต่าง ๆ เหล่านี้ หาได้จากเด็ก ๆ ในโรงเรียน เพื่อนครู เพื่อนบ้าน ครูปฐมวัยควรฝึกการชอบสะสมเศษวัสดุเพื่อนำมาผลิตเป็นสื่อ
การใช้สื่อการสอนวิทยาศาสตร์
             ในแต่ละวันที่จัดกิจกรรมให้เด็ก กิจกรรมนั้นควรมีสื่อเป็นเครื่องมือชักนำให้เด็กมีความสนใจในแต่ละกิจกรรมนั้น ๆ นานพอสมควร วิธีการใช้สื่อ โดยพิจารณาจากกิจกรรมจะขอกล่าวถึงกิจกรรมในวงกลมหรือกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นตัวอย่างของการใช้สื่อเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ของเด็ก โดยนำเนื้อหาที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์พร้อมทั้งสื่อเสนอเป็นตัวอย่าง ดังนี้
             1. กิจกรรมทายเสียงสัตว์
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กรู้จักธรรมชาติเกี่ยวกับสัตว์
กิจกรรมและสื่อ ครูทำเสียงสัตว์ต่าง ๆ ให้เด็กทาย การทายนี้อาจจะให้เด็ก
ตอบปากเปล่าหรือใช้ภาพสัตว์ หรือชูภาพสัตว์ที่ครูทำไว้ ชู
ให้ครูและเพื่อน ๆ ดู
             2. กิจกรรมทายกลิ่น
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กรู้จักสิ่งแวดล้อมดีขึ้น
กิจกรรมและสื่อ
             1) ครูลองหาสิ่งของต่าง ๆ เช่น ดอกกุหลาบ ดอกมะลิ
ผิวส้ม กะปิ ใบตะไคร้ ใบเตย ฯลฯ เท่าที่พอจะหาได้ให้
เด็กได้มีโอกาสดมและรู้จักจนแน่ใจ
             2) ใช้ผ้าปิดตาผู้ที่จะทาย แล้วให้ผู้นั้นมีโอกาสเพียงดมกลิ่น
สิ่งต่าง ๆ ที่ละอย่าง แล้วตอบว่าแต่ละอย่างคือสิ่งใดบ้าง
             3. กิจกรรมชิมรส
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กรู้จักสิ่งแวดล้อมดีขึ้น
กิจกรรมและสื่อ
             1) ครูนำสิ่งที่เด็กจะรับประทานได้โดยไม่เป็นอันตราย เช่น
เกลือ น้ำตาล มะนาว มะระ ฯลฯ มาให้เด็กมีโอกาสเห็น
และชิม
             2) ใช้ผ้าปิดตาผู้เป็นอาสาสมัครแล้วให้ชิมสิ่งต่าง ๆ แล้วให้
ทายว่าสิ่งนั้นคืออะไร
             4. กิจกรรมหลับตาคลำสิ่งของ
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กรู้จักสังเกตลักษณะเด่นชัดของสิ่งของต่าง ๆ
กิจกรรมและสื่อ
             1) ครูให้เด็กได้สัมผัสของเล่นหรือสิ่งของต่าง ๆ เช่น ผลไม้
ดอกไม้
             2) ปิดตาอาสาสมัคร แล้วให้สัมผัสของแต่ละชนิดแล้วทาย
ว่าคืออะไร
             5. กิจกรรมบอกส่วนต่าง ๆ ของพืช
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กรู้จักส่วนต่าง ๆ ของพืช
กิจกรรมและสื่อ
             1) ครูนำพืชที่มีส่วนประกอบสำคัญต่าง ๆ เช่น ราก ใบ ดอก
ผล มาให้เด็กพิจารณา และแนะนำส่วนสำคัญเหล่านั้น
             2) ครูให้เด็กชี้บอกส่วนต่าง ๆ ตามครูบอกชื่อหรือใน
ทำนองกลับกัน ให้ครูเป็นฝ่ายชี้ให้เด็กบอกว่าส่วนของ
พืชที่ครูชี้นั้นเรียกว่าอะไร
             6. กิจกรรมจับคู่แม่ลูก
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กรู้จักลักษณะของสัตว์เมื่อยังตัวเล็ก-โต
กิจกรรมและสื่อ
             1) ครูจัดทำภาพลูกสัตว์กับพ่อหรือแม่ของสัตว์ต่าง ๆ เหล่า
นั้น เป็นคู่ ๆ
             2) นำภาพเหล่านั้นคว่ำลงปนกัน แล้วให้เด็กแข่งขันกัน
เลือกให้เข้าคู่เป็นคู่ ๆ
             7. กิจกรรมแยกประเภทสัตว์
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กรู้จักแบ่งประเภทของสัตว์อย่างง่าย ๆ
กิจกรรมและสื่อ
             1) ครูจัดทำภาพสัตว์หลาย ๆ ชนิดที่เด็กรู้จักแล้ว แนะนำว่า
สัตว์ชนิดใดเป็นสัตว์เลี้ยง สัตว์ชนิดใดเป็นสัตว์ป่า
             2) ให้เด็กแยกประเภทสัตว์ไปตั้งกับฉากที่จัดทำไว้เป็น 2
แบบ คือ ฉากป่า กับฉากบ้าน
             8. กิจกรรมเกมสัตว์เลี้ยง
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กรู้จักชื่อสัตว์ชนิดต่าง ๆ มากขึ้น
กิจกรรมและสื่อ
             1) ให้เด็กแต่ละคนบอกชื่อสัตว์มาคนละชนิด และจำไว้ว่าตัวเองคือสัตว์ชนิดใด
             2) จัดเด็กนั่งล้อมกันเป็นวงกลม โดยให้มีจำนวนเก้าอี้น้อย
กว่าผู้เล่น 1 คน ดังนั้นจะมีผู้เล่นซึ่งจะเป็นถามกลางวง 1
คน ผู้ถามจะถามใครก่อนก็ได้เธอรักสัตว์ต่าง ๆ ไหมถ้า
ผู้ถูกถามตอบว่า รักทุกคนรวมทั้งผู้ถามและผู้ถูกถามจะ
ต้องรีบลุกขึ้นเปลี่ยนที่นั่งซึ่งย่อมจะมีผู้ที่ไม่มีที่นั่งเหลืออยู่
คนหนึ่งเป็นคนถาม เมื่อมีการถามว่า เธอรักสัตว์ต่าง ๆ
ไหมและถ้าผู้ตอบตอบเช่นเดิม ทุกคนก็จะต้องลุกขึ้น
เปลี่ยนอีกที แต่ถ้าผู้ตอบคนใดตอบว่า ไม่รักผู้ถามจะต้อง
ซักต่อไปว่า ไม่รักแมว ลิง หมาทุกคนที่สมมติตัวอย่าง
ว่าเป็นสัตว์เหล่านั้น ก็จะต้องลุกขึ้นเปลี่ยนที่และจะมีผู้ที่ไม่
มีที่นั่งเหลืออยู่ต่อไป (เกมนี้ครูควรจัดทำหน้ากากเป็นรูป
สัตว์ต่าง ๆ แจกให้เด็กแต่ละคนสวมด้วย เพื่อทุกคนจะได้
เห็นว่าเพื่อน ๆ ที่ร่วมแสดงนั้นเล่นเป็นตัวแทนสัตว์ชนิดใด
บ้าง
             9. กิจกรรมลอกและพิมพ์เส้นใบของใบไม้
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กได้เห็นลักษณะของใบไม้ที่แตกต่างกันออกไป
กิจกรรมและสื่อ
             1) ครูนำใบไม้ชนิดต่าง ๆ กระดาษขาว สีเทียนมาเตรียมเป็น
สื่อสำหรับเด็ก
             2) เปิดโอกาสให้เด็กลอกเส้นของใบไม้ โดยการใช้กระดาษ
ทาบลงบนใบไม้ แล้วถูด้วยสีเทียน ลายเส้นของใบไม้จะ
ปรากฏขึ้นมาอย่างเห็นชัดเจน
             10. กิจกรรมเลือกอาหารสัตว์
จุดประสงค์ เพื่อให้มีพื้นฐานในการเลี้ยงดูสัตว์
กิจกรรมและสื่อ
             1) ครูสนทนากับนักเรียน เรืองสัตว์ชนิดต่าง ๆ แล้วอภิปราย
เกี่ยวกับอาหารสัตว์แต่ละชนิดชอบกิน
             2) ครูจัดทำภาพอาหารสัตว์ชนิดต่าง ๆ และภาพสัตว์มาเพื่อ
ให้นักเรียนจับคู่โดยการโยงเส้น หรือใช้ริบบิ้นตัดโยง
ภาพสัตว์และอาหารที่สัตว์แต่ละชนิดชอบ
             11. กิจกรรมสำรวจอ่างปลา
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กรู้จักสังเกตเกี่ยวกับพืช สัตว์ และสิ่งที่ไม่มีชีวิตกิจกรรมและสื่อ
             1) ครูให้นักเรียนมีโอกาสไปดูอ่างเลี้ยงปลาอย่างใกล้ ๆ เพื่อ
ดูสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในอ่างเลี้ยงปลานั้น
             2) ครูถามนักเรียนด้วยคำถามง่าย ๆ เช่น มีสัตว์ชนิดใดบ้าง
ในอ่าง มีพืชชนิดใด และมีสิ่งใดบ้างที่ไม่ใช่พืชหรือสัตว์
             12. กิจกรรมทายรอยเท้าสัตว์
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กรู้จักสังเกตลักษณะของรอยเท้าสัตว์ชนิดต่าง ๆ
กิจกรรมและสื่อ
             1) ครูให้นักเรียนล้างเท้า แล้วเดินบนพื้นให้เป็นรอยเท้าของ
ตนเอง
             2) ครูนำสัตว์บางชนิดที่หาง่าย เช่น สุนัข แมว มาพิมพ์รอย
เท้าของสัตว์เหล่านี้บนกระดาษขาว ให้เด็กได้สังเกต ต่อ
จากนั้นจึงดำเนินกิจกรรมทายรอยเท้าของสัตว์อื่น ๆ ต่อ
ไป โดยอาจจะต้องหาโอกาสนให้เด็กได้เห็นสัตว์หรือ
ภาพสัตว์ชนิดนั้นก่อน
             13. กิจกรรมรุ้งกินน้ำจำลอง
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจเกี่ยวกับการเกิดรู้งกินน้ำ
กิจกรรมและสื่อ ครูหรือนักเรียนอาจทำรุ้งกินน้ำเอง โดยการอมน้ำไว้ในปาก
แล้วพ่นพานแสงแดดที่ส่องผ่านช่องลม หรือรอยแตกของ
ผนัง ซึ่งภายในห้องมืดจะเห็นลักษณะของรุ้งกินน้ำ เกิดขึ้น
ชั่วครู่หนึ่ง หากไม่ใช้วิธีอมน้ำพ่น อาจใช้กระบอกฉีดน้ำที่
ใช้พรมผ้าในขณะรีดผ้าแทนก็ได้
             14. กิจกรรมแยกพวกสารแม่เหล็ก
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคุณสมบัติของแม่เหล็ก
กิจกรรมและสื่อ ครูนำของหลาย ๆ ชนิดใส่ไว้บนถาดหรือวางบนโต๊ะ แล้ว
ให้เด็กลองใช้แม่เหล็กเข้าไปใกล้ ๆ ของแต่ละอย่าง แล้ว
แยกว่าของชนิดใดที่ดูดติดกับแม่เหล็กก็ไว้พวกหนึ่ง พวกที่
ไม่ติดแม่เหล็กไว้อีกพวกหนึ่ง
             15. กิจกรรมเกมเหยียบเงา
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กได้เห็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ
กิจกรรมและสื่อ ในตอนเช้าหรือบ่ายแดดอ่อนพอที่จะทำให้เกิดเงาที่มองเห็น
ได้ ครูอาจพานักเรียนมาเล่นเหยียบเงากัน โดยใครถูกคนอื่นเหยียบเงา ก็จะแพ้ต้องออกจากวงไป ทั้งนี้นอกจากจะได้รับความสนุกสนาน ได้ออกกำลังกายแล้ว ยังได้เห็นว่าเงาเกิดจากการที่ตัวเอง (ทึบแสง) กั้นแสงสว่างไว้
การจัดเก็บสื่อวิทยาศาสตร์
สื่อการสอนวิทยาศาสตร์ ควรมีการจัดเก็บดังนี้
- การเก็บวัสดุอุปกรณ์ควรวางไว้บนชั้นที่ต่ำ เด็กสามารถหยิบยกด้วนตนเองได้
- วัสดุอุปกรณ์ใดที่จะต้องนำมาใช้ในเรื่องเดียวกัน ควรเก็บไว้ในกล่องเดียวกัน กล่องที่จะนำมาบรรจุวัสดุอุปกรณ์ควรเป็นกล่องเล็ก ถ้าใช้กล่องใหญ่เด็กอาจไม่สามารถยกได้และอาจตกลงมาทับเด็ก
- การจัดวัสดุอุปกรณ์ต้องจัดเพื่อยั่วยุให้เด็กเกิดความสนใจในการที่จะเอาออกมาทำกิจกรรม
- หมั่นตรวจเช็ควัสดุอุปกรณ์อยู่เสมอ ถ้าพบสิ่งใดชำรุดควรซ่อมแซม หรือไม่นำมาใช้
- ใช้ระบบสัญลักษณ์มาช่วยในการจัดประเภทวัสดุ ไม่ควรใช้ตัวหนังสือเพราะเด็กยังอ่านไม่ออก เช่นใช้สีเป็นเครื่องหมายบอกหมวดหมู่เพื่อให้เด็กเข้าใจง่ายขึ้น หรือใช้ภาพ
ประโยชน์ของการใช้สื่อการสอนวิทยาศาสตร์
             1. ช่วยให้เกิดประสบการณ์ตรง โดยเด็กได้เห็น ได้ทดลองและได้ทำด้วยตนเอง
             2. ช่วยให้เด็กเข้าใจบทเรียนดียิ่งขึ้นเพราะไม่ต้องอาศัยจินตนาการเพียงอย่างเดียว ซึ่งเกินความสามารถของเด็ก
             3. ช่วยให้บทเรียนเป็นที่น่าสนใจแก่เด็กยิ่งขึ้น อันเป็นเครื่องยั่วยุให้เด็กเกิดความตั้งใจในการเรียนเป็นอย่างดี
             4. ช่วยให้เด็กเห็นบทเรียนต่อเนื่องกัน เกิดความคิดและเข้าใจได้ง่าย เช่น ดูภาพยนตร์หรือภาพพลิกเกี่ยวกับความเจริญเติบโตของแมลง เห็นความเจริญเติบโตเป็นระยะ ๆ
             5. ช่วยให้จัดกิจกรรมให้เด็กร่วมในบทเรียนง่ายเข้า
             6. ช่วยให้ผู้เรียนจดจำเรื่องราวต่าง ๆ ได้นานและมากขึ้น
             7. ส่งเสริมให้มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนการสอนเพราะเด็กเรียนด้วยความสนุกสนานและ
เข้าใจ
ตัวอย่างสื่อการสอนวิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย
             ในชั้นปฐมวัยไม่ได้สอนเป็นรายวิชา เป็นการเตรียมความพร้อมโดยนำเอาวิชาต่าง ๆ มาบูรณาการเป็นหน่วย และสอดแทรกวิธีสอนแบบเรียนปนเล่นด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ดังนั้นสื่อการสอนหากจัดโดยยึดตามรายวิชาแล้ว สื่อการสอนวิทยาศาสตร์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสื่อที่พบหาได้จากธรรมชาติ หรือครูสามารถประดิษฐ์ขึ้นมาได้เอง ตัวอย่างเช่น
             1. ของจริง
ของจริง ได้แก่ วัตถุ (คน พืช สัตว์ สิ่งของ สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ) สถานการณ์จริง
ปรากฏการณ์จริง เป็นสื่อการสอนที่ใช้มากที่สุดในระดับปฐมวัย เนื่องจากเป็นสื่อที่เด็กได้รับประสบการณ์ตรงที่เป็นรูปธรรม และเป็นประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากการสัมผัสด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้านของตนเอง ในสภาพการณ์จริง สื่อชนิดนี้เด็กจะเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด เพราะเด็กต้องการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ที่แวดล้อม ต้องการที่จะสัมผัสแตะต้อง ได้เห็น ได้ยิน ได้ชิม หรือได้ดมด้วยตนเอง
ตัวอย่าง สื่อของจริง เช่น ดอกไม้จริง ดินชนิดต่าง ๆ ก้อนหิน ต้นไม้ ฯลฯ
             2. ของจำลอง และสถานการณ์จำลอง
เป็นสื่อที่ใกล้เคียงของจริงหรือสถานการณ์จริงมากที่สุด ในบางครั้งประสบการณ์ตรง
นั้นไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ หรืออาจเป็นอันตราย หรือของจริงอาจมีขนาดใหญ่หรือเล็กเกินไป มีความซับซ้อน อยู่ไกลเกินกว่าที่จะนำมาศึกษาได้ จึงต้องจำลองหรือเลียนแบบให้มีลักษณะที่ใกล้เคียงหรือเหมือนจริงที่สุด เพื่อความสะดวก ปลอดภัย และเข้าใจได้ง่าย
ตัวอย่าง สื่อของจำลอง เช่น ผลไม้จำลอง หุ่นจำลองต่าง ๆ
             3. ภาพ บัตรภาพ ภาพชุด และแผนภูมิ
ภาพ บัตรภาพ หรือภาพชุด แผนภูมิที่เกี่ยวกับประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ นำมาใช้
ประกอบการสอนของครูในการให้แนวคิดต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อครูสอนแนวคิดอะไรก็นำภาพ บัตรภาพ ภาพชุด หรือแผนภูมินั้นให้เด็กดู เด็กจะเกิดความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ ได้
ตัวอย่าง สื่อภาพ บัตรภาพ ภาพชุด และแผนภูมิ เช่น ภาพรุ้งกินน้ำ บัตรภาพแมลง
ภาพชุดดอกไม้ แผนภูมิส่วนประกอบของต้นไม้ ฯลฯ

             4. หนังสือภาพ และหนังสือส่งเสริมการอ่าน
หนังสือภาพและหนังสือส่งเสริมการอ่านที่มีเรื่องและภาพ เป็นสื่อสำหรับให้เด็ก
เรียนรู้ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่จัดหาได้ง่าย การใช้หนังสือภาพอาจทำได้ดังนี้
- จัดมุมหนังสือเพื่อเด็กปฐมวัยสามารถหยิบและเปิดขึ้นดูเอง ทำความเข้าใจกับสิ่งที่เห็นในภาพ และโยงกับสิ่งที่ตนเห็นในชีวิตประจำวัน หนังสือภาพที่จะให้ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ หนังสือภาพสัตว์เลี้ยง แม้เด็กปฐมวัยส่วนมากจะยังอ่านหนังสือไม่ได้ แต่ดการดูภาพก็จะช่วยให้ความรู้และประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์แก่เด็กได้เป็นอย่างดี
- ใช้ประกอบการสอนของครู เป็นการใช้หนังสือภาพประกอบการเล่าเรื่องนิทาน หรือการใช้แนวคิดทางธรรมชาติวิทยาแก่เด็กปฐมวัย หนังสือภาพที่ใช้อาจเป็นชุดเดียวที่จัดไว้ในมุมหนังสือ ครูจะช่วยอ่านบทสนทนาของตัวละครหรือคำบรรยายให้นักเรียนฟังเป็นการเพิ่มประสบการณ์แก่เด็กอีกทางหนึ่งด้วย
- ใช้ประกอบการแสดงออกของเด็กปฐมวัย ในกรณีที่เป็นเด็กปฐมวัยอายุ 4-5 ขวบ ครูอาจให้นักเรียนเล่าเรื่องจากหนังสือภาพให้เพื่อนนักเรียนฟังเป็นการกระตุ้นความสามารถในการแสดงออก และฝึกให้เด็กรู้จักสังเกตสิ่งที่อยู่รอบตัวเพื่อที่จะนำมาเล่าให้เพื่อนฟัง ประกอบหนังสือภาพอีกด้วย
ตัวอย่างสื่อหนังสือภาพ และหนังสือส่งเสริมการอ่าน เช่น หนังสือภาพสัตว์เลี้ยง หนังสือนิทาน ฯลฯ
             5. โสตทัศนุปกรณ์
อุปกรณ์เหล่านี้ใช้ได้เฉพาะโรงเรียนที่มีความพร้อมในด้านงบประมาณที่จะสามารถจัดหาเครื่องฉาย เครื่องเสียง วีดิทัศน์ ฯลฯ ได้ สำหรับโรงเรียนที่ยังไม่มีความพร้อมด้านนี้ ก็อาจใช้สื่ออื่นทดแทนได้ อุปกรณ์เหล่านี้จะให้ประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์แก่เด็กปฐมวัยในลักษณะต่าง ๆ อาทิ
- เครื่องเสียง ช่วยให้นักเรียนได้ยินเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงลมพัด เสียงน้ำตก เสียงฟ้าร้อง ฟ้าผ่า เสียงคนและสัตว์ เป็นต้น
- เครื่องฉายสไลด์ช่วยให้นักเรียนเห็นภาพธรรมชาติต่าง ๆ ได้พร้อมกัน
- เครื่องฉายภาพยนตร์และวีดิทัศน์ช่วยให้นักเรียนได้เห็นภาพการเคลื่อนไหว และได้ยินเสียงปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ
             6. การสาธิตและการทดลองง่าย ๆ
การสาธิต และการทดลอง เป็นกิจกรรมที่ให้เด็กปฐมวัยได้รู้จักสังเกต และคิดอย่างมีเหตุผล รู้จักปฏิบัติงานอย่างมีขั้นตอน และแสวงหาความรู้และเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยครูสาธิตสิ่งที่ต้องการให้เด็กเห็นขั้นตอนการปฏิบัติ ให้เด็กได้สังเกต ซักถาม และสรุป พร้อมกับให้เด็กมีโอกาสทดลองสิ่งที่ครูสาธิตหรือเรื่องที่เป็นพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ด้วยตนเอง
ตัวอย่าง สื่อการสาธิตและการทดลองง่าย ๆ เช่น
- การเล่นบ่อทราย เด็กจะได้เรียนรู้จากการสัมผัสความนุ่มนวล ความสาก ฯลฯ ของทราย เรียนรู้ว่า เมื่อเป่าทรายจะกระจาย เมื่อเอาน้ำเทลงไปทรายจะจับตัวเป็นก้อน เรียนรู้ส่วนผสมของทราย รวมทั้งสังเกตชีวิตสัตว์เล็ก ๆ ที่อาจมองเห็นในทราย
- การเล่นน้ำ เด็กจะเรียนรู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติหลายอย่างจากการเล่นน้ำ ดังนั้นจึงต้องจัดอ่างน้ำและภาชนะให้เด็กได้มีโอกาสเล่นตัก ตวง เอามือแกว่งไกว วิดน้ำ หรือสังเกตสิ่งที่อยู่ในน้ำ เป็นต้น
- กรงแมลง การดักจับแมลงเป็นสิ่งที่เด็กชอบมาก ครูอาจสอนวิธีจับแมลงโดยการจับมาเพื่อการศึกษา สังเกต มิใช่การทำลายชีวิต แมลงที่เด็ก ๆ สนใจ เช่น แมลงเต่าทอง ผีเสื้อ ตั๊กแตน การจับควรจับด้วยสวิงดักแมลง เมื่อดักได้ให้ค่อย ๆ เก็บใส่กรงสำหรับแมลง ซึ่งหมายถึงบ้าน
ชั่วคราวของแมลง เมื่อสังเกตและศึกษาในระยะเวลาหนึ่งแล้วให้ปล่อยแมลงเหล่านั้นไป
กรงแมลงอาจทำจากกระป๋องพลาสติกที่ตัดหัวท้ายให้ยาวขนาด 2 นิ้ว แล้วหุ้มท้ายด้วยผ้าโปร่งบางมัดด้วยเชือกพลาสติก ส่วนด้านบนให้มีผ้าที่ปิดเปิดได้ อาจใส่ใบไม้หรือพืชต้นเล็ก ๆ ไว้ในขวด เพื่อให้แมลงรู้สึกว่าเหมือนอยู่ในธรรมชาติ
มดเป็นแมลงอีกชนิดหนึ่งที่เด็ก ๆ สนใจอยากรู้ ลองนำขวดปากกว้างมาตักทรายหรือดินที่มีรังมดอยู่ใส่ลงไปแล้วหุ้มรอบ ๆ ขวดด้วยผ้าหรือกระดาษสีดำ ใส่น้ำหวาน หรือเศษอาหารลงไปในขวด ปล่อยทิ้งไว้สัก 2-3 วัน ถอดผ้าที่หุ้มออก จะเห็นมดในขวดกำลังสร้างอาณาจักรอยู่ภายในนั้น เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของมด ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับเด็ก
- กรงสัตว์ กรงสัตว์สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยใช้ลังหรือกล่องบรรจุผลไม้นำมาหุ้มด้านบนด้วยลวด ส่วนด้านล่างรองด้วยถาดสังกะสี ลังนี้ทำเป็นบ้านกระต่ายหรือสัตว์เล็ก ๆ อื่น เช่น กระแต กระรอก หนู ลูกไก่ ฯลฯ อาจใส่ทรายชื้น ๆ และต้นไม้นุ่ม ๆ สำหรับเป็นกรงเลี้ยงกบหรือคางคกหรือกิ้งก่า ถ้าเป็นสัตว์บางอย่าง เช่น เต่า อาจจะต้องใส่ก้อนหินและน้ำ กรงสัตว์นี้เป็นบ้านชั่วคราวของสัตว์เพื่อให้เด็กได้สังเกต มิใช่เป็นกรงสำหรับขังสัตว์ เมื่อศึกษาแล้วให้ปล่อยสัตว์ไปอยู่ตามธรรมชาติต่อไป
- ตาชั่ง สำหรับเด็ก ๆ แล้วตาชั่วที่ใช้เป็นเพียงตาชั่งสำหรับวัดความสมดุล คือ ตาชั่งสองแขน ซึ่งทำได้ง่าย ๆ โดยใช้แกนไม้ตั้งบนฐานแท่นไม้ ใช้ที่แขวนเสื้อชนิดทำด้วยไม้แขวนติดกับหมุดเล็ก ๆ ที่ปลายของไม้แขวนเสื้อห้อยด้วยกล่องนม เด็กจะใช้ชั่วของเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อดูความสมดุลหรือดูว่าอะไรหนักกว่าอะไร
- กระถางต้นไม้ เด็ก ๆ ชอบสะสมเมล็ดชนิดต่าง ๆ นอกจากการเก็บเมล็ดผลไม้ใส่กล่องไว้ให้เด็กได้สังเกตเรื่องของขนาด รูปร่าง และสีแล้ว เมล็ดเหล่านี้อาจจะนำมาทดลองเพาะ การเพาะลงในกระถางจะทำให้เด็กได้มีโอกาสสังเกตการเจริญของเมล็ดได้อย่างใกล้ชิด กระถางพืชนี้อาจจะเป็นกระถางดินหรือดัดแปลงมาจากวัสดุเหลือใช้ เช่น กระป๋องต่าง ๆ แก้ว เหยือก ภาชนะพลาสติกต่าง ๆ ถ้าเป็นที่เพาะเมล็ดพืชขนาดใหญ่อาจใช้ลังไม้รองด้วยอลูมิเนียม เพื่อเวลารดน้ำจะได้ไม่เปียกออกมาด้านนอก
- กรงนก นอกจากจะมีการนำแมลงหรือสัตว์เล็ก ๆ ชนิดต่าง ๆ มาให้เด็กได้ศึกษาในห้องเรียนแล้ว ครูสามารถที่จะนำนักเรียนออกไปศึกษาสังเกตสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่นอกห้องเรียน เช่น ชีวิตนก ฉะนั้น อาจมีการทำกรงนกหรือบ้านนกชนิดต่าง ๆ ไว้ในบริเวณรอบนอกอาคาร ตามต้นไม้หรือชายคา บ้านนกอาจจะทำด้วยไม้ ทำด้วยกาบมะพร้าวทั้งลูกมัดด้วยลวดหรือรังนกกระจาบ มีอาหารนกไว้ให้สำหรับเด็กได้ใช้เลี้ยงนก
- กล่องวิทยาศาสตร์ ควรสะสมกล่องเปล่าสำหรับใส่ชุดวิทยาศาสตร์ อาจจะเป็นกล่องขนมปังที่เป็นโลหะหรือกล่องพลาสติก แต่ละกล่องจะบรรจุวัสดุสำหรับการทดลองแต่ละอย่าง เช่น กล่องที่จะทดลองเรื่องลอย-จม ในกล่องจะมีวัสดุสำหรับการทดลองในเรื่องดังกล่าว เช่น ลูกโป่ง ลูกแก้ว เศษไม้ ฟองน้ำ เม็ดโฟม หน้ากล่องเขียนชื่อติดไว้ เวลานำมาใช้จะได้สะดวกในการค้นหา นอกจากนี้ กล่องที่บรรจุวัสดุอุปกรณ์สำหรับสอนความคิดรวบยอดแต่ละเรื่องแล้ว อาจจะเป็นกล่องที่บรรจุเครื่องมือที่ใช้บ่อย ๆ เช่น แว่นขยาย แม่เหล็ก กระจกเงา ลวด เปลือกหอย เข็มทิศ นาฬิกา ฯลฯ
- การปรุงอาหาร กิจกรรมการปรุงอาหาร เป็นการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กายภาพ เพราะเด็กจะสังเกตการเปลี่ยนแปลงของสสารได้ง่าย เช่น การละลาย การทำให้อ่อนตัว การเปลี่ยนรูปทรงและสีอาหาร ไม่จำเป็นจะต้องปรุงให้สุกเพียงการผสมเครื่องปรุงก็เป็นประสบการณ์การเรียนรู้อย่างหนึ่ง

             7. นิทาน
การเล่านิทานเป็นการเล่าเรื่องต่าง ๆ โดยการใช้หนังสือภาพ หนังสือนิทาน หุ่นต่าง ๆ
หรือแสดงท่าทางประกอบการเล่าเรื่อง โดยครูเลือกนิทานที่เหมาะสมกับวัย ความสนใจ และความต้องการของเด็ก เล่าให้เด็กฟังโดยอ่านจากหนังสือ หรือใช้อุปกรณ์ประกอบ พร้อมกับให้เด็กได้สนทนา อภิปราย และแสดงความคิดเห็นจากนิทาน
ตัวอย่าง สื่อนิทาน เช่น นิทานเรื่องประโยชน์ของผัก
มีเด็กนักเรียนห้องหนึ่งกินผักกันทั้งห้อง ทุกคนแข็งแรงมาก และก็มีเด็กนักเรียนอีก
ห้องหนึ่งไม่กินผักเลย ทุกคนอ่อนแอมาก วันหนึ่งนักเรียนต้องแข่งขันเดินเร็วกัน นักเรียนห้องที่กินผักเดินชนะ เพราะแข็งแรง เดินไม่เหนื่อย ส่วนนักเรียนห้องที่ไม่กินผักเดินไปได้หน่อยก็เป็นลมล้มลงจึงแพ้

             8. เพลง
การร้องเพลง เป็นการจัดให้เด็กได้แสดงออกเพื่อความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และ
เรียนรู้เกี่ยวกับภาษาและจังหวะ โดยให้เด็กฟังและร้องเพลงไปพร้อม ๆ กับครู เพลงที่นำมาให้เด็กร้อง ควรเลือกเนื้อเพลงง่าย ๆ และสั้น และควรให้เด็กได้เคลื่อนไหวท่าทางประกอบการร้องเพลง เปิดโอกาสให้เด็กแสดงท่าทางประกอบอย่างอิสระตามจินตนาการ
ตัวอย่าง สื่อเพลง เช่น เพลงรุ้งกินน้ำ
รุ้งเลื่อมลายงามงดงาม สีม่วงครามอีกงามน้ำเงิน
เขียวเหลืองเพลินดูน่าชม ช่างงามสมสีส้มแดง
             9. เกม
การเล่นเกม เป็นการให้เด็กได้รับความเพลิดเพลิน สนุกสนาน เด็กได้เคลื่อนไหว
ร่างกายส่วนต่าง ๆ เล่นและอยู่ร่วมกับเด็กอื่นได้ โดยเล่นเกมที่มีกติกาง่าย ๆ หรือเกมการละเล่นพื้นเมืองที่เหมาะกับวัย ก่อนเล่นครูต้องอธิบายกติกาและสาธิตให้เข้าใจ
ตัวอย่าง สื่อเกม เช่น เกมแมวจับหนู
วิธีเล่น - ให้เด็กนั่งเป็นวงกลม จับมือกัน
- ให้เด็กออกมา 2 คน คนหนึ่งสมมติเป็นแมว อีกคนหนึ่งสมมติเป็นหนู
- สมมติให้คนที่นั่งเป็นถ้วยที่เก็บน้ำมันหมู
- ให้เด็กคนที่เป็นแมวไปหาน้ำมันหมู
- ให้เด็กคนที่เป็นหนูไปกินน้ำมันหมู
- เด็กคนที่เป็นแมวถามเด็กคนที่นั่งเป็นวงกลมว่าน้ำมันหมูหายไปไหน
- เด็กคนที่นั่งทั้งหมดตอบว่าหนูกินหมด
- เด็กคนที่เป็นแมวถามว่า หนูหายไปไหน
- เด็กคนที่นั่งทั้งหมดชี้ไปที่ตัวหนู
- เด็กคนที่เป็นแมววิ่งไล่ตามหนู ถ้าวิ่งจับหนูได้ถือว่าจบเกม และผลัด
เปลี่ยนคนใหม่ต่อไป

             10. คำคล้องจอง
การท่องคำคล้องจอง เป็นการส่งเสริมการใช้ภาษาในการฟัง พูด เด็กได้รับคาม
เพลิดเพลิน สนุกสนาน โดยให้เด็กฟังและท่องคำคล้องจองไปพร้อม ๆ กับครู คำคล้องจองที่นำมาให้เด็กท่องจำควรเลือกคำคล้องจองที่ง่าย ๆ และสั้น ควรให้เด็กได้เคลื่อนไหวท่าทางประกอบการท่องคำคล้องจอง เปิดโอกาสให้เด็กแสดงท่าทางประกอบอย่างอิสระตามจินตนาการ
ตัวอย่าง สื่อคำคล้องจอง เช่น คำคล้องจอง ประโยชน์ของดิน หิน ทราย
ดิน หิน ทราย ใช้ในการก่อสร้าง เป็นห้างร้านบ้านเรือนที่อาศัย
ทำถนนโรงเรียนวัดทั่วไทย ทำของใช้ปลูกต้นไม้ได้ดีเอย
             นอกจากวัสดุดังกล่าวข้างต้น ยังมีวัสดุอื่น ๆ ที่สามารถจัดหาเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากนี้ได้ แล้วแต่ความสามารถของโรงเรียน เช่น กล้องจุลทรรศน์ หนังสือสารานุกรมวิทยาศาสตร์ ลูกโลกและตัวอย่างหินแร่ต่าง ๆ และครูวิทยาศาสตร์ควรสำรวจและบันทึกรายการเหล่านี้ไว้ด้วย คือ แหล่งทรัพยากรในท้องถิ่น ทั้งทรัพยากรบุคคลและสถานที่ที่จะนำมาให้เด็กได้เรียนรู้ ทรัพยากรบุคคล อาทิเช่น เจ้าหน้าที่เกษตร, อนามัย, บรรณารักษ์ เจ้าหน้าที่วนอุทยาน เจ้าหน้าที่สวนสัตว์ เจ้าหน้าที่จากสมาคมสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ นักวิทยาศาสตร์ นักกีฏวิทยา เจ้าหน้าที่ป่าไม้ เกษตรกร เจ้าของฟาร์มสัตว์ต่าง ๆ ส่วนสถานที่ที่น่าสนใจ อาทิเช่น สวนสัตว์ วนอุทยาน พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ นอกจากนี้อาจจะมีการร่วมมือกับโรงเรียนมัธยม หรืออุดมศึกษาในท้องถิ่น ที่จะขอนักเรียนระดับโตมาควบคุมและทำงานด้านวิทยาศาสตร์กับเด็กทั้งในและนอกห้องเรียน
บทสรุป
             สื่อการสอนวิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย มีหลากหลาย ตัวอย่างเช่น ของจริง ของจำลอง สถนการณ์จำลอง ภาพ บัตรภาพ ภาพชุด แผนภูมิ หนังสือภาพ หนังสือส่งเสริมการอ่าน โสตทัศนูปกรณ์ การสาธิต การทดลอง นิทาน เพลง เกม และคำคล้องจอง ซึ่งหาได้จากท้องถิ่นและแหล่งต่าง ๆ รอบตัว หรือสามารถผลิตขึ้นใช้เอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับปฐมวัยที่การใช้สื่อการสอนมีความสำคัญและจำเป็นมากในการจัดประสบการณ์ เพื่อให้เด็กเห็นเป็นรูปธรรม เกิดความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น ดังนั้นครูควรเลือกใช้สื่อการสอนให้เหมาะสมและสอดคล้องกับเนื้อหาและกิจกรรม โดยควรเลือกใช้สื่อที่เป็นของจริง หรือสื่อมีอยู่ในสิ่งแวดล้อมของเด็ก เพื่อเป็นการประหยัด และก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

มารยาทที่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัย

มารยาทที่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัย

                      ความหมายของมารยาทไทย ราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายว่ามารยาทหรือมรรยาท เป็นคำไทย ซึ่งนำมาจากภาษาบาลี ว่า “ มริยาท ” หรือภาษาสันสกฤตว่า “ มรยาทา ” แปลว่า กิริยาวาจาที่ถือว่าเรียบร้อย หมายถึง การปฏิบัติตนโดยผ่านกระบวนการฝึกอบรม ขัดเกลาให้เป็นไปตามความนิยมยอมรับของสังคมแต่ละสังคม

ลักษณะเฉพาะของมารยาทไทย ที่แสดงถึงวัฒนธรรมของชาติ และเป็นการแสดงออกต่อผู้อื่นที่นุ่มนวล มีความเป็นระเบียบแบบแผน มีกาละเทศะ คือ

· สุภาพอ่อนน้อม
· เคารพระบบอาวุโส
· มีกิริยาวาจาคำลงท้ายเฉพาะ
· มีการยืน เดิน นั่ง ที่ต่างบรรยากาศ
· มีการแสดงความเคารพ
· การทักทาย
· การใช้วาจา
· การแสดงความคิดเห็น

คุณค่าของมารยาทไทย เรื่องของมารยาทนั้น ยังมักเข้าใจกันว่าเป็นเรื่องวิธีการเข้าสังคม ปรับตัวให้เข้ากับหมู่คณะเพื่อความเป็นระเบียบ เพื่อความงดงามน่าดู ความจริงแล้วมารยาทเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ โดยเฉพาะวัฒนธรรมของไทย ซึ่งส่วนหนึ่ง มาจากสังคมเกษตรกรรม และอีกส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาต่างๆทั้งศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ คนไทยได้รับการยกย่องจากชาวต่างชาติมาช้านานว่า เป็นผู้มีมารยาทอ่อนโยน นุ่มนวล น่ารัก

ลักษณะมารยาทที่ดีในเด็กปฐมวัย สามารถจำแนกเป็นกลุ่มได้ดังนี้
1. มารยาทการพูดจา
· เจรจาไพเราะ มีหางเสียง ครับ หรือ ค่ะ

· รู้จักใช้คำว่า ขอบคุณ และ ขอโทษ ให้เป็นนิสัย

· ไม่พูดเสียงดังเกินไป หรือตะโกนโหวกเหวก เป็นกิริยาที่ไม่งาม

· งดพูดคำหยาบคาย เพราะไม่เป็นมงคลแก่ผู้พูด และผู้ฟัง

2. มารยาทการแสดงออก
· หลีกเลี่ยงการแย่งกันพูด นอกจากจะไม่น่าดูแล้วยังไม่รู้จักการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วย

· ฝึกท่าทางประกอบการพูดให้เหมาะสม ไม่ยกมือขวักไขว่ หรือแสดงท่าทางอยู่ตลอดเวลา ฝึกพูดให้มีจังหวะ เสียงชัดเจน พูดสั้นแต่ได้ใจความ ไม่เพ้อเจ้อ เพราะบางคนแก้เขินด้วยการแลบลิ้น การยักคิ้ว โดยไม่ตั้งใจ เมื่อทำบ่อยๆก็จะติดเป็นนิสัยและเสียบุคลิกภาพได้

· แสดงไมตรีจิตด้วยการทักทาย สนใจทุกข์สุข และแสดงความจริงใจ

· การมีสัมมาคารวะ รู้จักเด็กรู้จักผู้ใหญ่ รู้จักเคารพผู้อื่น

· การแสดงออกเมื่อมีโอกาส เป็นมารยาทที่ต้องฝึกให้เป็นนิสัย เช่น มารยาทการลุก นั่ง เดิน ยืน การใช้น้ำเสียง การควบคุมอารมณ์

· มารยาทเมื่ออยู่ต่อหน้าผู้ใหญ่ เช่นไม่นั่งไขว่ห้าง ไม่นั่งกระดิกเท้า ไม่นั่งเหยียดเท้าถ่างขา เวลาเดินผ่านก็ต้องก้มหลัง หรือถ้าพบผู้ใหย่ก็ต้องแสดงความเคารพ

· รู้จักกล่าวคำสุภาพ ไม่พูดจาล้อเลียนหลอกลวงผู้ใหญ่ ต้องมีความนอบน้อมนับถือผู้ใหญ่

· ต้องไม่แสดงกิริยาขัดขวางสิ่งที่นิยมกัน เช่นขณะที่เขานั่งอยู่กับพื้น ตนเองต้องไม่ยืน ขณะที่เขาทุกข์โศกต้องไม่แสดงกิริยารื่นเริง ถ้าเป็นแขกบ้านใดก็ต้องเกรงใจเจ้าของบ้าน เมื่อพบใครต้องไม่จ้องดูเขา

· ต้องรู้จักเกรงอกเกรงใจผู้อื่น รู้จักเคารพผู้อื่น รู้จักแสดงความอ่อนน้อมทั้งกาย วาจา ใจ และแสดงมารยาทกับผู้อื่นได้เหมาะสมกับวัย กับบุคคล กับโอกาส และสถานที่

ปัจจุบันพฤติกรรมการแสดงออกของนักเรียนพบว่า มีมารยาทที่แตกต่างจากเดิมมาก ทั้งยังเป็นไปในทางลบ ไม่ว่าด้านการพูด ด้านการกระทำ และด้านการแสดงออก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องปลูกฝังและพัฒนาตั้งแต่ระดับปฐมวัย เพราะการปลูกฝังมารยาทไทยนั้นเป็นการซึมซับ ซึ่งวิธีการที่จะช่วยพัฒนามารยาทไทยให้กับเด็กปฐมวัย ได้แก่พ่อแม่ต้องเป็นต้นแบบ เป็นตัวอย่างสำคัญ และต้องคอยอบรม คอยแนะนำ คอยสั่งสอนเด็กอย่างใกล้ชิด ตลอดจนคุณครูประจำชั้น จะต้องมีหน้าที่ให้วิชาความรู้เรื่องมารยาทไทยกับเด็ก และจะต้องฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับมารยาทให้เด็กเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจจะจัดผนวกไปกับตารางประจำวันก็ได้ เช่นก่อนเข้าห้องเรียน หรือก่อนกลับบ้านตอนเย็น ตามความเหมาะสมและจำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัย

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

ส่งลูกไปโรงเรียนอย่างมีความสุข

การส่งลูกไปโรงเรียนอย่างมีความสุข


baby

ส่งลูกไปโรงเรียนอย่างมั่นใจ
(M&C แม่และเด็ก)

            ภาพการไปโรงเรียนครั้งแรกของเด็กอนุบาล มักไม่น่ารักเท่าไหร่ ก็แหม...นี่เป็นครั้งแรกที่พวกหนู ๆ จะต้องออกเผชิญโลกภายนอกตามลำพังนี่นะ จากที่เคยอยู่ที่บ้าน มีคุณพ่อคุณแม่พี่เลี้ยงดูแล จู่ๆ จะให้ไปอยู่ที่โรงเรียนกับคนแปลกหน้าอย่างคุณครูและเพื่อน ๆ ก็ต้องใช้เวลาปรับตัวเป็นธรรมดา

            แล้วจะมีวิธีไหนที่ทำให้เจ้าตัวเล็กคุ้นเคยกับการไปโรงเรียนได้เร็ว ๆ ได้บ้างนะ

ให้ลูกมีส่วนร่วมในการเลือกโรงเรียน

            วิธีแรกที่ควรทำคือการค่อยๆ อธิบายให้ลูกได้รู้ว่า ถึงเวลาแล้วที่เขาจะต้องไปโรงเรียน เหมือนอย่างพี่ๆ ที่โตแล้ว เรื่องนี้ถ้าบ้านไหนมีพี่ ๆ ที่เป็นเด็กวัยเรียนอยู่ด้วยแล้วก็ไม่ยาก เจ้าหนูจะเข้าใจได้จากภาพที่เห็นว่าพี่ ๆ ไปโรงเรียนตอนเช้า เดี๋ยวพอเย็นก็ได้กลับบ้าน การไปโรงเรียน ไม่ใช่การพรากจากแม่ตลอดไป ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวแบบนั้น

            แต่ถ้าไม่มีตัวอย่างให้ลูกดูชัด ๆ ขนาดนั้น ก็ควรให้ลูกได้มีส่วนร่วมในการเลือกโรงเรียนของตัวเอง โดยนำเอกสารของโรงเรียนต่าง ๆ มาให้ลูกดู ซึ่งในเอกสารเหล่านั้นมักมีภาพเด็กนักเรียนในอิริยาบถที่ร่าเริง แจ่มใสอยู่ ลองชี้ชวนให้ลูกดูภาพเหล่านั้น และกระตุ้นให้ลูกอยากร่วมกิจกรรมที่เห็นในภาพ ถามเขาบ่อย ๆ ว่าอยากไปที่โรงเรียนนี้มั้ย อยากไปเล่นกับเพื่อนๆ แบบนี้มั้ย ลูกชอบภาพโรงเรียนไหน ไปเที่ยวโรงเรียนกันมั้ย

เสริมความพร้อมก่อนเริ่มเรียน

            จากนั้นบอกลูกบ่อย ๆ ว่าเขาโตแล้วต้องไปโรงเรียน เหมือนอย่างที่คุณแม่คุณพ่อต้องไปทำงาน มีแต่เด็กเล็ก ๆ ที่ยังไม่รู้เรื่องเท่านั้นที่ไม่ต้องไปโรงเรียน ลูกจะรู้สึกว่าการไปโรงเรียนเป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจ โดยคุณแม่อาจใช้ช่วงเวลาพูดคุยเรื่องนี้ขณะทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน เช่น ขณะเล่านิทาน วาดรูประบายสี ควรบอกเขาว่า เขาจะได้ทำกิจกรรมสนุก ๆ อย่างนี้ร่วมกับเพื่อนๆ และคุณครูที่โรงเรียน ซึ่งจะสนุกกว่าการเล่นกันอยู่ที่บ้านแค่สองคนแม่ลูก

สร้างความคุ้นเคยกับการเรียนรู้

            การสร้างความคุ้นเคยกับการเรียนรู้ เป็นเรื่องจำเป็นค่ะ คุณอาจฝึกให้ลูกรู้สึกสนุกกับการไปโรงเรียน ด้วยการเล่นสมมุติเป็นครู นักเรียนฝึกอ่าน ก ไก่ ข ไข่ ซึ่งนอกจากจะทำให้เขาได้มีพื้นฐานการเรียนรู้แล้ว ยังช่วยเพิ่มความอยากเข้าไปสัมผัสบรรยากาศห้องเรียนจริง ๆ ได้เป็นอย่างดี

กระตุ้นความอยากไปโรงเรียน

            เด็ก ๆ จะรู้สึกอยากและรอคอยวันที่จะไปโรงเรียนมากขึ้น ถ้าคุณเอาของต่าง ๆ ที่เขาจะต้องใช้ไปโรงเรียนมาให้ดูบ่อย ๆ อย่างชุดนักเรียน กระเป๋าเป้ สมุด หนังสือ ดินสอสี เด็กบางคนถึงกับซ้อมจัดกระเป๋าหนังสือ หรือแต่งชุดนักเรียนได้ทุกวันเชียวค่ะ ดังนั้น ถ้าลูกรบเร้าขอแต่งชุดนักเรียนเล่นอยู่กับบ้านในช่วงก่อนเปิดเทอม ก็ไม่ควรห้ามค่ะ

หนูทำได้...ไม่ต้องห่วง

            ก่อนเปิดเทอมคุณแม่ควรใช้เวลาช่วงนี้ฝึกให้ลูกทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง เพราะเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กวัยอนุบาลไม่อยากไปโรงเรียน เพราะเขาไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ อย่างเต็มที่ในบางเรื่อง

            ดังนั้นควรฝึกลูกให้ทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง ตั้งแต่เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่าง การแต่งตัว การสวมรองเท้า การรับประทานอาหาร เพราะที่โรงเรียนจะไม่มีใครคอยป้อนอาหารหรือแต่งตัวให้อย่างที่บ้าน ถ้าเขาไม่ได้รับการฝึกเรื่องเหล่านี้ไว้ พอถึงเวลาไปโรงเรียนจริง ๆ ก็จะรู้สึกว่าการไปโรงเรียนเป็นเรื่องน่าอึดอัดใจ เต็มไปด้วยสิ่งที่เขาทำไม่ได้ แต่ถ้าคุณแม่ได้ฝึกลูกไว้แล้วล่ะก็สบายใจได้เลยค่ะว่า เขาจะไปโรงเรียนได้อย่างมั่นใจ และภูมิใจที่ทำสิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเอง อย่างเด็กใด ๆ

เอาของรักไปเรียนด้วย

            สำหรับเด็กอนุบาลแล้ว เหตุผลหลักเลยที่ทำให้ลูกไม่อยากไปโรงเรียนคือ ไม่อยากจากคุณแม่หรือพี่เลี้ยง เรื่องนี้คุณแม่ควรทำความเข้าใจและบอกลูกว่า หนูแค่ไปโรงเรียนในตอนเช้าเดี๋ยวบ่าย ๆ ก็ได้กลับบ้านแล้ว และเพื่อความสบายใจของเขา คุณแม่อาจให้เขานำตัวแทนคุณแม่ หรือของรักของเขา เช่น ตุ๊กตาตัวเล็ก ๆ หรือแผ่นซีดีการ์ตูนเรื่องโปรด ไปโรงเรียนด้วยก็ได้ โดยตุ๊กตาจะช่วยเป็นตัวแทนของคุณแม่ หรือแผ่นซีดีที่นำติดตัวไปจะเป็นเหมือนเครื่องเตือนว่า อีกเดี๋ยวเขาก็จะได้กลับบ้านเปิดซีดีดูพร้อม ๆ กับคุณแม่แล้วล่ะ เขาไม่ได้อยู่ที่โรงเรียนตลอดไปสักหน่อย

เตรียมรับความป่วน

            ถึงจะเตรียมความพร้อมให้ลูกไว้ดีขนาดไหน แต่เมื่อถึงเวลาไปโรงเรียนจริง ๆ เขาก็อาจจะโยเยขึ้นมาได้ คุณแม่ต้องเตรียมใจรับสถานการณ์ เอาไว้ เช่น อย่ายอมให้ลูกหยุดเรียนโดยไม่มีเหตุผล เพราะถ้ามีครั้งแรกแล้ว ย่อมมีครั้งต่อ ๆ ไม่ตามมาแน่นอน ไม่ควรแสดงท่าทีตกใจ หรือกังวลเกินเหตุเมื่อลูกบอกว่าปวดหัว หรือปวดท้อง ในตอนเช้าก่อนไปโรงเรียน ไม่ควรไปส่งลูกด้วยด้วยตัวเอง ถ้าปกติเขาขึ้นรถโรงเรียน และอย่าเอาของขวัญ รางวัลมาล่อ ถ้าต้องการทำเช่นนั้น ควรใช้การสะสมคะแนน เช่น ถ้าเขาไปโรงเรียนทุกวัน โดยไม่ร้องงอแงครบหนึ่งสัปดาห์จึงจะได้รางวัล

            คุณอาจเห็นว่าการเรียนระดับอนุบาล ไม่ใช่เรื่องซีเรียสมากนัก น่าจะยอมให้ลูกหยุดได้บ้าง แต่การฝึกให้ลูกคุ้นเคยกับการไปโรงเรียนนั้น ความสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญค่ะ หากยอมตามใจให้ลูกหยุดเรียน ไปบ้างไม่ไปบ้างแล้วล่ะก็ เชื่อได้เลยว่าคุณจะต้องพบปัญหานี้ไปเรื่อย ๆ และการแก้ไขก็จะทำได้ยากขึ้นตามไปด้วย

เคล็ดลับเลือกโรงเรียนให้ลูก

        ก่อนอื่นมองหาโรงเรียนใกล้บ้าน หรือใกล้ที่ทำงานคุณพ่อคุณแม่เอาไว้ก่อน เพื่อความสะดวกในการรับ-ส่ง และลูกจะได้ไม่ต้องเหนื่อยกับการเดินทางมากเกินไป

        จากนั้นนำข้อมูลของโรงเรียนต่าง ๆ มาศึกษาเปรียบเทียบ ทั้งเรื่องมาตรฐานของโรงเรียน หลักสูตรการศึกษา กิจกรรม และค่าใช้จ่าย

        สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียน จากผู้ปกครองที่มีลูกเรียนอยู่ในโรงเรียนที่คุณสนใจ สังเกตพฤติกรรมของเด็ก ๆ ที่เรียนในโรงเรียนนั้น ๆ

        ข้าไปสำรวจสภาพแวดล้อมโรงเรียนด้วยตัวเอง ว่ามีความสะอาอดปลอดภัย มีอุปกรณ์การเรียนเครื่องเล่นพร้อมมากแค่ไหน ถือโอกาสนี้พูดคุยกับคุณครู ถามถึงทัศนคติของคุณครูที่มีต่อเด็ก

เด็กปฐมวัยกับพัฒนาการทักษะทางภาษา

 
เด็กปฐมวัยกับพัฒนาการทักษะทางภาษา




การจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กปฐมวัยนั้นควรจัดให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก คำนึงถึงตัวเด็กเป็นหลัก จัดประสบการณ์ให้เด็กได้เพื่อส่งเสริมพัฒนาทุกด้าน เช่น ทักษะทางภาษา ........... .....
 

ปัจจุบันการจัดสิ่งแวดล้อมที่ดีมีสถานเลี้ยงเด็กที่ได้มาตรฐาน มีพี่เลี้ยงเด็กที่มีความรู้ เข้าใจ  ความต้องการ พัฒนาการเด็กจะส่งผลให้เด็กได้รับความรัก  ความอบอุ่น  ความมั่งคงทางจิตใจ      เมื่อเด็กโตขึ้นสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้อย่างมีความสุข   หนังสือสำหรับเด็กจะทำให้เด็กเป็นผู้มีสุขภาพจิตดี  มีความสุข  มองโลกในแง่ดีและปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้    
ในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในการสร้างหนังสือสำหรับเด็ก การอ่านคำกลอนให้เด็กฟังเป็นเทคนิคหนึ่งที่นิยมนำมาใช้กับเด็กปฐมวัย ทั้งนี้เพราะคำกลอนเป็นสื่อที่เด็กคุ้นเคย ให้ความสนุกสนานและความรู้ เด็กสามารถเก็บความจากเรื่องที่ฟังได้สมควรแก่วัย 
การที่ครูอ่านคำกลอนให้เด็กฟังแล้วให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์จากคำกลอนโดยครูมีคำถามมาใช้ประกอบการจัดกิจกรรมความคิดสร้างสรรค์ด้วยนั้น    เป็นการส่งเสริมการแสดงออก ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์   นอกจากนี้กิจกรรมการวาดภาพเป็นกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการในการสร้างหนังสือสำหรับเด็กได้ เด็กในวัยนี้ชอบวาดภาพเป็นชีวิตจิตใจถึงแม้จะยังอ่านเขียนหนังสือไม่ได้ แต่เขาสามารถวาดภาพบอกเล่าความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ของเขาให้เรารับรู้ได้อย่างละเอียด โดยผ่านวิธีการวาดภาพ เพราะในการวาดภาพของเด็กนั้นมักสะท้อนถึงเรื่องราวที่เขาสนใจ
                        จากสภาพการจัดการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัยโดยทั่วไป ครูมักจะเป็นผู้กำหนดกิจกรรมเป็นส่วนใหญ่ ครูยังเป็นผู้มีบทบาทมากที่สุด เน้นครูเป็นศูนย์กลาง  ในการจัดกิจกรรมส่วนใหญ่จะเป็นการตอบสนองพฤติกรรมที่ครูเป็นผู้ริเริ่ม การนำกิจกรรมละครสร้างสรรค์มาใช้กับเด็ก ครูยังคิดเป็นเรื่องยุ่งยาก เสียเวลาและตัวครูยังขาดทักษะบางประการที่จะส่งเสริมการแสดงออกของเด็กโดยผ่านละครสร้างสรรค์อีกด้วย ในทำนองเดียวกันการนำกิจกรรมการวาดภาพมาใช้กับเด็กปฐมวัย ครูส่วนมากจะเน้นที่การพัฒนากล้ามเนื้อมือและตา  ในลักษณะประสาทสัมพันธ์ ความคิดสร้างสรรค์ ความสวยงามเป็นหลักและมองข้ามการใช้การวาดภาพเสริมกิจกรรมอื่นๆเพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาทางด้านจิตใจ
สำหรับการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กปฐมวัยนั้นควรจัดให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก  คำนึงถึงตัวเด็กเป็นหลัก  จัดประสบการณ์ให้เด็กได้  กระทำ  เพื่อส่งเสริมพัฒนาทุกด้าน  ควรเลือกประสบการณ์ที่ใกล้ตัวเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมของเด็ก  อีกทั้งต้องคำนึงถึงความแตกต่างและความสนใจของเด็กเป็นรายบุคคล  เพราะเมื่อเด็กมีความสนใจก็จะตั้งใจทำกิจกรรมและเรียนรู้อย่างสนุกสนาน  ยิ่งไปกว่านั้นควรจัดประสบการณ์ให้เด็กมีโอกาสเรียนรู้ในหลายรูปแบบ  เช่น  การปฏิบัติการทดลอง  การนำไปทัศนศึกษา  การเล่นบทบาทสมมติ  การเล่นเป็นกลุ่มและเดี่ยว  ซึ่งเด็กแต่ละคนอาจมีวิธีการเรียนรู้ไม่เหมือนกัน  นอกจากนี้การจัดหน่วยประสบการณ์ให้กับเด็กนิยมจัดในรูปของกิจกรรมต่างๆ  คือ  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ  กิจกรรมสร้างสรรค์และเล่นตามมุม  กิจกรรมในวงกลม  กิจกรรมการเล่นกลางแจ้งและเกมการศึกษา  ในการจัดประสบการณ์ทางภาษาแก่เด็กว่าเป็นวิธีที่เด็กได้ฝึกทักษะการมองจากซ้ายไปขวา  การลากตัวอักษรจากบนลงล่าง  และการจำเครื่องหมายต่างๆ  ตลอดจนการสร้างสมุดเล่มใหญ่  (Big Book)  จะช่วยเปิดโอกาสให้เด็กได้คิดจินตนาการทบทวนความจำ  ได้แสดงออกตามความสามารถของแต่ละคน  อีกทั้งได้ใช้กล้ามเนื้อและสายตาอย่างประสานสัมพันธ์กัน  มีการถ่ายโยงการเรียนรู้ซึ่งกันและกันขยายความรู้ความคิดแก่กัน  ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้  และเรียนรู้อย่างสนุกสนาน 

วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554

หลักในการเลือกโรงเรียนอนุบาลสำหรับลูก

                                  หลักในการเลือกโรงเรียนอนุบาลสำหรับลูก


               ได้มีการศึกษาถึงปัจจัยที่ผู้ปกครองใช้ในการเลือกโรงเรียนอนุบาลเอกชน ให้บุตรหลานเข้าเรียน และความคาดหวังของผู้ปกครอง เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนอนุบาลเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้ปกครองของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในเขตกรุงเทพ โดยการสุ่มและใช้แบบสอบถามเพื่อทำการวิเคราะห์ ซึ่งผลการวิจัยเป็นดังต่อไปนี้ ปัจจัยในการตัดสินใจเลือกโรงเรียนอนุบาลสำหรับลูกๆ คือ ปัจจัยเกี่ยวกับโรงเรียน ครูผู้สอน ประสบการณ์การสอน การบริหารความปลอดภัย การบริการอาหารและสุขภาพของเด็กอนุบาล การสร้างความสัมพันธ์ำกับผู้ปกครอง และค่าใช้จ่ายต่างๆโดยเฉพาะค่าเทอม
1. ไปเยี่ยมชมโรงเรียนที่ต้องการเลือก
สิ่งที่ดีที่สุดคือการบุกไปเยี่ยมชมโรงเรียน ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องการเลือก ซึ่งมีหลายๆโรงเรียนได้เปิดให้ผู้ปกครองเข้าชม โดยเฉพาะกิจกรรมการเรียนในห้องเรียน ในขณะที่กำลังทำการสอน อย่างไรก็ตามคุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตให้ดีว่าไม่ได้เป็นการจัดฉาก หรือจัดการสอนที่ประทับใจ เราต้องเดินดู พูดคุยกับคุณครู นักเรียน เพื่อจะได้เก็บข้อมูลที่เป็นความจริง ยิ่งถ้าคุณพ่อคุณแม่มีโอกาสพูดคุยกับผู้ปกครอง ที่ส่งลูกๆมาเรียนที่โรงเรียนนี้ ยิ่งจะทำให้เราได้ข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียนในแง่ต่างๆมากขึ้น

สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตในขณะเยี่ยมชมโรงเรียน
ความสะอาดของห้องเรียน อาคาร สนามเด็กเล่น โรงอาหาร ห้องน้ำ
ความปลอดภัยของสถานที่เรียน เช่น สถานที่ตั้งของสระว่าน้ำ การจราจรด้านหน้าโรงเรียนมีควันจากท่อไอเสียรถยนต์ หรือมีเสียงรถยนต์ดังเข้ามาในโรงเรียน สะพานข้ามถนน สภาพพื้นที่ด้านหลังโรงเรียน เช่น คูคลองซึ่งนักเรียนอาจจะพลัดตกลงไป หรือ ป่ารกซึ่งอาจจะมีสัตว์มีพิษเข้ามาในโรงเรียน
จำนวนสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น จำนวนอุปกรณ์การสอน ขนาดของโต๊ะ และเก้าอี้ รวมไปถึงการจัดวางโต๊ะและเก้าอี้ว่าเหมาะสมกับขนาดของห้องเรียนหรือไม่ อุปกรณ์ได้การกีฬามีพอเีพียงหรือไม่ จำนวนเครื่องเล่นต่างๆ
สถานที่จอดรถสำหรับการรับ-ส่งนักเรียน
การดูแลเรื่องความปลอดภัย เช่นการแลกบัตรสำหรับผู้เข้ามาในโรงเรียน วิธีการรับนัำกเรียนกลับบ้าน
ห้องพยาบาล และนางพยาบาลในการช่วยเหลือนักเรียนเบื้องต้นเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
จำนวนของตู้น้ำดื่ม และสภาพของตู้น้ำดื่ม สภาพของตู้น้ำดื่มจะมีผลอย่างมากับสุขภาพของนักเรียน ถ้าตู้น้ำเก่า เป็นสนิม หรือมีการเชื่อมด้วยตะกั่ว ก็จะทำให้นักเรียนดื่มน้ำที่มีสารเจือปนที่เป็นพิษเข้าไป หรือแม้กระทั้งปัญหารเรื่องไฟฟ้าดูด อาจจะเกิดขึ้นได้กับตู้น้ำที่มีสภาพเก่า

นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ควรหาเวลาไปเยี่ยมชมโรงเรียนหลายๆครั้ง ในเวลาที่ต่างกัน เพื่อจะได้เห็นสภาพแวดล้อมต่างๆและหลีกเลี่ยงการจัดฉากของโรงเรียน อาจจะไปในช่วงพักกลางวัน ดูอาหารกลางวันที่เด็กนักเรียนได้รับ ดูสนามเด็กเล่นว่าเพียงพอสำหรับเด็กทั้งโรงเรียนหรือเปล่า

2. ขอดูนโยบายและวัตถุประสงค์ของโรงเรียนนโยบายและวัตถุประสงค์ของโรงเรียน

                จะทำให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจแนวคิดของโรงเรียน แนวทางการบริหารโรงเรียน แนวการสอนและการพัฒนานักเรียน ซึ่งเป็นจุดสำคัญที่คุณครูจะต้องปฏิบัติตามในการสอนนักเรียน และยังทำให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจแนวทางการสอน ซึ่งเราจะได้ปรัับการสอนเด็กเมื่ออยู่ที่บ้านให้สอดคล้องกับการสอนจากโรงเรียน คุณพ่อคุณแม่อาจจะถามถึงรางวัลต่างๆ ที่โรงเรียนเคยได้รับ เพื่อจะได้เห็นศักยภาพทางด้านต่างๆของโรงเรียน เช่นรางวัลโรงเีรียนดีเ่ด่น รางวัลชนะเลิศทางด้านดนตรี รางวัลชนะเลิศทางด้านศิลปะ ซึ่งจะทำให้เราได้เห็นจุดเด่นของโรงเรียนมากขึ้น

คุณพ่อคุณแม่อาจจะพูดคุยกับผู้อำนวยการ หรือคุณครูใหญ่เพื่อถามคำถาม และข้อเอกสารต่างๆมาทำการศึกษา เช่นอัตราสวนคุณครูกับจำนวนนัำกเรียน ข้อมูลเกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันที่นักเรียนแต่ละคนต้องทำ หลักสูตรการเรียนต่างๆ


3. ตรวจสอบความสามารถของคุณครูผู้สอน และบุคลากรอื่นๆของโรงเรียน

ความสามารถของคุณครูผู้สอน เป็นสิ่งสำคัญที่มีผลต้องการเรียนรู้ของเด็ก เราสามารถขอดูประวัติการเรียนและการสอนของคุณครู สังเกตจากการพูดคุย หรือการถามปัญหาต่างๆ เพื่อจะดูแนวคิดของคุณครู ดูภาษาที่ใช้ ลักษณะและบุคคลิก

สามารถเปรียบเทียบได้กับการที่คุณพ่อคุณแม่รับสมัครครูผู้สอนให้มาสอนลูกของตัวเอง เราคาดหวังให้ครูผู้สอนมีลักษณะ คุณสมบัติ และบุคคลิกภาพอย่างไร คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถใช้แนวทางนี้พูดคุยกับคุณครู เพื่อดูว่าคุณครูมีคุณสมบัติตามที่เราคาดหวังไว้หรือไม่


4.ตรวจสอบค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ต้องจ่ายเมื่อเลือกโรงเรียนแห่งนี้
แน่นอนหนึ่งในค่าใช้จ่ายก็คือ ค่าเทอม แต่คุณพ่อคุณแม่ต้องศึกษาให้ละเอียดว่ามีค่าใช้จ่ายอื่นๆที่สำคัญอีกหรือเปล่า เพราะหลายๆครั้งโรงเรียนจะเลี่ยงการเก็บค่าเทอมที่สูง โดยเก็บเป็นค่าอื่นๆเช่น ค่าการใช้คอมพิวเตอร์ ค่ากิจกรรมพิเศษ หรือแม้กระทั้งค่าแรกเข้า ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรจะขอเอกสารเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายทั้งหมด และอาจจะต้องถามเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสินของสิ้นเปลืองที่ผู้ปกครองต้องรับผิดชอบ เช่น สมุดของโรงเรียน กระเป๋า เครื่องแบบ บัตรนัำกเรียน ชุดลูกเสือ เนตรนารี หรือ อนุกาชาด ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเรียนพิเศษหลังเลิกเรียน ในกรณีที่คุณพ่อคุณแม่มารับเด็กได้ตอนเย็นๆ หรือค่าใช้จ่า่ยเกี่ยวรถยนต์รับส่งนักเรียน ทั้งหมดนี้เป็นอีกข้อมูลหนึ่งที่จะช่วยในการตัดสินใจเลือกโรงเรียนให้กับลูกๆของท่าน หรือยังช่วยในการวางแผนด้านการเงิน เพื่อให้การส่งลูกๆไปเรียนโรงเรียน โดยเฉพาะโรงเรียนเอกชน ไม่เกิดปัญหาขึ้นในภายหลัง เพราะการที่ต้องหยุดหรือย้ายโรงเรียน จะีมีปัญหาที่ยุ่งยากต่างๆตามมา

วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554

เสริม ไอคิว-อีคิว ให้ลูกน้อยด้วยนมแม่

เสริม ไอคิว-อีคิว ให้ลูกน้อยด้วยนมแม่

พญ.ธนีนาถ ตรีรัตน์วีรพงษ์ แพทย์ ประจำโรงพยาบาลตากสิน และ ดร.บุญศรี กิตติโชติพาณิชย์ นักโภชนาการจากวิทยาลัยเกื้อการุณย์ จับมือกันให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์นานัปการของการ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ตลอดจนแนะแนวทางการปฏิบัติตนอย่างถูกต้องของผู้เป็นแม่ เพื่อนำไปสู่การถ่ายทอด ความสมบูรณ์สู่ลูกน้อย

ในงาน “สายใยรักแห่งครอบครัว” ณ ศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา พญ.ธนีนาถ ตรีรัตน์วีรพงษ์ และ ดร.บุญศรี กิตติโชติพาณิชย์ กล่าวว่าเด็กควรได้รับนมแม่ตั้งแต่ครึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด และกินนมแม่อย่างเดียวไปจนถึงช่วง 6 เดือน เพราะสารอาหารในนมแม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสมตามอายุลูก มีส่วนสำคัญในการสร้างเซลล์สมอง กระตุ้นการเจริญเติบโตของเนื้อสมอง ช่วยให้ลูกฉลาดและแข็งแรง โดยไขมันในนมแม่จะไปห่อหุ้มเส้นใยประสาทในสมองลูก ส่วนโปรตีนในนมแม่จะช่วยลดโอกาสการเป็นโรคภูมิแพ้ เพราะมีสารต้านการอักเสบ สามารถช่วยลดโอกาสการติดเชื้อและไม่สบายของลูก ซึ่งสารอาหารดังกล่าวไม่สามารถทดแทนได้ด้วยนมผสม

ในส่วนของ IQ-EQ นั้นสามารถสร้างจากแม่ส่งต่อถึงลูกได้ ทั้งนี้เพราะแม่และลูกจะมีสายใยผูกพัน ที่เชื่อมโยงถึงกันได้ แม่จึงสามารถสร้างพัฒนาการด้าน IQ-EQ ให้กับลูกได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เริ่มจากการดูแลตัวเองทั้งอาหารกาย โดยรับประทานสิ่งที่เป็นประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ส่วนอาหารใจ จะเป็นในเรื่องการทำสมาธิ เพื่อให้จิตใจสงบ ไม่เครียด ซึ่งจะส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านอารมณ์ของลูก ทำให้ลูกเรียนรู้ที่จะสงบ อ่อนโยน ไม่วู่วาม ขณะเดียวกันระหว่างที่แม่สงบมีสมาธิ ร่างกายจะผลิต Growth Hormone ไปส่งเสริมพัฒนาการทางด้าน IQ ทำให้ลูกเกิดมาเป็นเด็กฉลาด

ขณะที่ลูกกำลังดูดนมจากอกแม่ ฮอร์โมนอ็อกซิโตซิน (Oxytocin) ในร่างกายของแม่ก็จะเพิ่มระดับขึ้น ทำให้เกิดสัญชาตญาณ ความเป็นแม่ผู้มีจิตใจอ่อนโยน เปี่ยมด้วยความรักและเมตตา รู้สึกสงบ เป็นสุข ซึ่งเด็กจะได้รู้ถึงความรู้สึกที่อ่อนโยนนั้น ทำให้เด็กอารมณ์ดี และเป็นสุขไปด้วย.

ปัญหาพฤติกรรมของเด็กวัย 1-3 ปี

ปัญหาพฤติกรรมของเด็กวัย 1-3 ปี


ลักษณะพฤติกรรมเด็กวัย 1-3 ปี

        จากการศึกษาพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็กวัย 1-3 ปี พบว่า เด็กวัยนี้มีการเจริญเติบโตของเซลล์ประสาทอย่างรวดเร็ว โดยมีการสร้างเส้นใยประสาทและจุดเชื่อมต่อ (synapse) ของใยประสาท ซึ่งใยประสาทเหล่านี้มีผลต่อการเรียนรู้ ความคิด ความจำ ตลอดทั้งพฤติกรรมและพัฒนาการของเด็ก ประกอบกับธรรมชาติของเด็กวัยนี้เริ่มมีกิจกรรมต่างๆ เกิดขึ้นมากมายจากการค้นคว้า และสำรวจสิ่งใหม่ๆ รอบตัว มีความเป็นตัวของตัวเอง มีความพร้อมทางทักษะของพัฒนาการมากขึ้น สามารถยืน เดิน วิ่ง ได้ด้วยตนเอง โดยที่เด็กรู้สึกว่าตนเองสามารถควบคุมเหตุการณ์ต่างๆ ได้ และเกิดความภาคภูมิใจในงานที่ตนเป็นผู้กระทำสำเร็จ บางครั้งอาจพบว่าเด็กแสดงปฏิกิริยาตอบโต้กับเหตุการณ์ต่างๆ บางอย่างไม่เหมาะสม ซึ่งแสดงออกมาในรูปของพฤติกรรมที่เป็นปัญหาได้ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าเด็กวัยนี้เป็นวัยที่สำคัญต่อการพัฒนาพฤติกรรมและการเรียนรู้ทักษะของพัฒนาการในทุกด้าน
         ซึ่งปัญหาของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นกับเด็กวัยนี้ เป็นปัญหาที่ค่อนข้างเข้าใจง่าย ไม่สลับซับซ้อน ส่วนใหญ่เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต และพัฒนาการ จะเป็นลักษณะของการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อม ซึ่งถ้าเด็กได้เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมอย่างไม่เหมาะสม โดยขาดการดูแลเอาใจใส่จากพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูแล้วนั้น ก็อาจจะก่อให้เกิดปัญหาทางพฤติกรรมขึ้นอย่างง่ายดาย ตลอดทั้งสภาวะการณ์ทางสังคมในปัจจุบันมีสิ่งล่อแหลมต่อการเกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม พ่อแม่มีทัศนคติต่อเทคโนโลยีค่อนข้างมาก โดยเน้นที่วัตถุมากกว่าการมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กโดยตรง ขาดการดูแลเอาใจใส่ ขาดความเข้าใจในพัฒนาการและมีวิธีการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม สิ่งเหล่านี้มีผลต่อปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็กทั้งสิ้น

ชนิดของพฤติกรรมที่เป็นปัญหา

อาจจำแนกตามสาเหตุได้ดังนี้

1.       พันธุกรรม ปัญหาลักษณะทางพันธุกรรมบางอย่าง เช่น เด็กกลุ่มอาการดาวน์ เด็กกลุ่มนี้มี
ระดับสติปัญญาต่ำกว่าเด็กปกติ เรียนรู้ช้า มีความสนใจสั้น มีพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง ไม่มีสมาธิ เด็กเหล่านี้มีการเคลื่อนไหวช้ากว่าปกติ ไม่คล่องตัวเนื่องจากกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก

2.       สิ่งแวดล้อม พฤติกรรมที่เป็นปัญหาส่วนใหญ่ มักมีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก
แทบทั้งสิ้น สภาพครอบครัว การเลี้ยงดูของคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครอง มีอิทธิพลสูงต่อพฤติกรรมที่เกิดขึ้น สิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม หรือไม่เอื้ออำนวย ทำให้เกิดสภาพความกดดัน และมีผลต่อการปรับตัวของเด็ก บางครั้งจะพบว่าเด็กได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่มากเกินไป (overprotection) หรือน้อยเกินไป(neglected) หรือขาดการกระตุ้นที่เหมาะสม (improper stimulation) ตามสภาพของเด็กแต่ละคน 
ลักษณะพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
1. พฤติกรรมการอยู่ไม่นิ่ง (ซน) จะพบว่าส่วนใหญ่เด็กวัยนี้ มีความอยากรู้อยากเห็น ต้องการสำรวจตรวจค้นอยู่แล้ว ตลอดทั้งมีภาวะอยู่ไม่นิ่ง ซน และมีช่วงความสนใจสั้น วอกแวก เคลื่อนไหวตัวเองอย่างไร้จุดหมาย แต่ลักษณะพฤติกรรมเช่นนี้จะพบในเด็กที่มีความต้องการพิเศษมากกว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน  เนื่องจากเด็กที่มีความต้องการพิเศษนั้น มีความสามารถในการรับรู้ช้ากว่า ร่วมกับความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมต่ำ และบางครั้งปัจจัยการเลี้ยงดูก็มีส่วนทำให้เด็กเหล่านี้มีพฤติกรรมการอยู่ไม่นิ่งมากขึ้นด้วย เนื่องจากความรัก ความสงสารเด็ก เห็นว่าเด็กมีปัญหาพัฒนาการและยังเล็กอยู่ รอให้โตขึ้นกว่านี้จึงค่อยสอนก็ได้

วิธีการแก้ไข
1.1    จัดสภาพแวดล้อมให้เป็นระเบียบ โดยลดสิ่งเร้ารอบตัวเด็ก เช่น เก็บของเล่นของเด็กเข้าตู้
หรือลิ้นชักให้เรียบร้อย ลดภาพหรือเครื่องตกแต่งภายในห้องเด็กให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อจะไม่กระตุ้นความสนใจของเด็กมากนัก

1.2    สร้างพฤติกรรมที่เหมาะสมให้กับเด็ก โดยใช้วิธีปรับพฤติกรรม โดยการสร้างเสริมความ
สนใจและคงสมาธิในขณะทำกิจกรรม เพื่อลดพฤติกรรมการอยู่ไม่นิ่งของเด็ก โดยการใช้ของเล่นเพื่อกระตุ้นความสนใจและคงสมาธิให้เด็กมีมากขึ้น อาจให้เด็กเล่นของเล่นครั้งละ 1 ชิ้น เมื่อเล่นเสร็จ ให้สัญญาณเตือนเด็กกว่า “จบ” หรือ “เสร็จ” และบอกว่า “เก็บ” กระตุ้นให้เด็กนำของเล่นเก็บเข้าที่ และเลือกของเล่นชิ้นต่อไปนำมาเล่นอย่างต่อเนื่อง โดยช่วงเวลาของการเล่นในระยะแรก อาจเป็นช่วงสั้นๆ ประมาณ 1-2 นาที/ชิ้น และค่อยๆ เพิ่มระยะเวลาในการเล่นกับเด็กต่อไป

1.3    จัดตารางเวลาการทำกิจกรรมหรือกิจวัตรประจำวันของเด็กอย่างเป็นระบบ โดยต้องกระทำ
กิจกรรมเหล่านี้ตามขั้นตอนที่จัดอย่างสม่ำเสมอทุกวัน จะทำให้เด็กเข้าใจและยอมรับขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรมดีขึ้น เรียนรู้การทำกิจกรรมง่ายขึ้น

1.4    ควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้กระทำกิจกรรมอย่างมีความหลากหลาย เพื่อกระตุ้นความสนใจเด็กให้เกิดสมาธิในการเรียนรู้  โดยการจัดกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวมากก่อน เช่น กิจกรรมการออกกำลังกาย อาจเป็นการวิ่ง เตะบอล กระโดด เพื่อให้เด็กระบายพลังงานที่มีอยู่เต็มเปี่ยม และจึงเบี่ยงเบนไปสู่กิจกรรมที่มีเป้าหมาย ซึ่งมีการเคลื่อนไหวน้อยกว่า เน้นการฟังและการมีสมาธิในขณะทำกิจกรรม เช่น กิจกรรมศิลปะ หรือกิจกรรมการนั่งเล่น จะทำให้เด็กสนใจและเรียนรู้กิจกรรมที่มีเป้าหมายได้ดีขึ้น
1.5    การใช้ยา ในกรณีที่เด็กมีภาวะอยู่ไม่นิ่งมากอาจพิจารณาใช้ยาร่วมกับการปรับพฤติกรรม ซึ่งใช้วิธีปรับพฤติกรรมอย่างเดียวแล้วไม่ค่อยได้ผล ซึ่งขึ้นอยู่กับความรุนแรงของพฤติกรรมที่เด็กแสดงออก และความร่วมมือในการปรับพฤติกรรมของที่บ้านและที่โรงเรียนว่ามีความสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และชัดเจนมากน้อยเพียงใด แต่การใช้ยาไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวหรือเป็นอันตรายต่อเด็ก เพียงแต่ขอให้อยู่ในความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น และควรรับประทานยาต่อต่อเนื่องและอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งขนาดของยาอาจต้องปรับตามลักษณะพฤติกรรมของเด็กและน้ำหนักของเด็กตามความเหมาะสมด้วย ถึงแม้เด็กจะได้รับยาเพื่อควบคุมพฤติกรรมก็ตาม ก็ยังควรใช้หลักของการปรับพฤติกรรมควบคู่กับการใช้ยาร่วมด้วย จึงจะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

2. พฤติกรรมก้าวร้าว อาจมีลักษณะของพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง และผู้อื่น หรือทำลายสิ่งของ ซึ่งในเด็กที่มีความต้องการพิเศษนั้นอาจมีปัญหาของพฤติกรรมที่รุนแรงกว่าเด็กปกติ เพราะมีภาวะการณ์เรียนรู้ช้า ไม่เข้าใจ มีความบกพร่องทางการสื่อสาร บอกความรู้สึกหรือความต้องการกับผู้อื่นไม่ได้ 
     ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรจะต้องป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรง หรือถ้าเด็กเกิดพฤติกรรมนี้แล้ว ก็ควรที่จะหยุดยั้งพฤติกรรมเหล่านี้ให้ได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับเด็กและผู้อื่นที่อยู่รอบข้าง อย่านำข้อบกพร่องของเด็กเหล่านี้มาเป็นตัวขัดขวางการสร้างพฤติกรรมที่เหมาะสม และไม่ยุติธรรมสำหรับเด็กอื่นๆ และผู้อื่นด้วย ที่จะต้องยอมรับในพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเด็ก จะมีผลทำให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษขาดความเข้าใจในการเรียนรู้พฤติกรรมที่ถูกต้อง เพราะคิดว่าพฤติกรรมที่แสดงออกเป็นที่ยอมรับของผู้อื่น ซึ่งอนาคตเด็กเหล่านี้ก็จะไม่เป็นที่ยอมรับของผู้อื่นในสังคม
วิธีการแก้ไข
2.1 ถ้าพฤติกรรมก้าวร้าวที่ไม่รุนแรง และไม่เป็นอันตรายต่อตัวเองและผู้อื่น เช่น พฤติกรรม
tantrum ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้กับเด็กวัยนี้ ไม่ว่าจะเป็นเด็กปกติหรือเด็กที่มีความต้องการพิเศษก็ตาม ควรใช้เทคนิคปรับพฤติกรรมในลักษณะของการเพิกเฉย (ignore) ต่อพฤติกรรมที่เด็กแสดงออก ไม่ว่าจะเป็นร้องไห้ โวยวายเสียงดัง ฯลฯ และไม่ควรหัวเราะต่อพฤติกรรมที่เด็กแสดงออก แต่ควรแสดงสีหน้าที่เรียบเฉย นิ่ง สงบ และลอบสังเกตพฤติกรรมที่เด็กแสดงออก ซึ่งอาจใช้เวลาแตกต่างกันประมาณ 10-30 นาที หรือบางครั้งอาจนานถึง 1 ชั่วโมงก็ได้ หลังจากที่เด็กมีพฤติกรรมที่ลดลง สงบลง ใช้วิธีเบี่ยงเบนความสนใจของเด็กออกจากเหตุการณ์ช่วงนั้น ไปสู่กิจกรรมอื่นแทน และไม่ควรพูดย้ำเตือนเหตุการณ์นั้นอีก

2.2    อาจใช้เทคนิคปรับพฤติกรรมด้วยวิธี time out โดยจัดมุมห้อง มุมใดมุมหนึ่งของบ้านหรือ
ห้องฝึก ซึ่งมุมนั้นควรเป็นมุมเงียบ และไม่มีสิ่งที่เด็กสนใจ แต่ต้องไม่น่ากลัวสำหรับเด็ก ไม่ควรมีอุปกรณ์ใดๆ เป็นแรงเสริมให้เด็กสนใจหรือต้องการ ถ้าเด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว ทำร้ายผู้อื่น หรือทำลายข้าวของ นำเด็กแยกออกจากสิ่งแวดล้อมขณะนั้น และนำเข้ามุมที่จัดไว้สำหรับปรับพฤติกรรม บางครั้งเรียกว่ามุมสงบ โดยให้เด็กอยู่ภายในมุมนั้นชั่วคราว เวลาที่ใช้ในการควบคุมพฤติกรรมเด็ก พิจารณาตามอายุ โดยอายุ (ปี) : เวลา (นาที) เช่น เด็กอายุ 2 ปี ใช้ 2 นาที เป็นต้น และมีครูหรือผู้อื่นคอยดูแลอยู่ห่างๆ และเมื่อครบเวลานำเด็กออกจากมุมนั้น ถ้าเด็กยังแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมอีก ก็จะต้องใช้วิธี time out ทุกครั้ง

2.3    เทคนิคปรับพฤติกรรม โดยวิธีลงโทษ (punishment) เป็นวิธีการหยุดพฤติกรรมที่ไม่
เหมาะสมโดยทันที พฤติกรรมนั้นค่อนข้างรุนแรงและเป็นอันตรายต่อตัวเด็กและผู้อื่น ซึ่งถึงแม้จะได้ผลทันทีก็จริง แต่ควรใช้เป็นวิธีสุดท้ายกับเด็ก เพราะเด็กไม่สามารถเข้าใจถึงเหตุผลต่างๆ ที่เกิดขึ้น แต่กลับเรียนรู้ว่าถ้าจะหยุดพฤติกรรมอื่นๆ จะต้องใช้การลงโทษ (ซึ่งอาจใช้การตี การกัด) ไปใช้แก้ปัญหากับเด็กหรือผู้อื่นแทน

2.4    ถ้าพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กรุนแรงและเป็นอันตรายต่อผู้อื่นหรือตัวเด็กเอง อาจใช้วิธีกอด
รัดเพื่อหยุดยั้งพฤติกรรม ถ้าเด็กตัวใหญ่อาจใช้ผ้าห่อรัดตัวเด็กแทน และต้องไม่สนใจต่อพฤติกรรมที่เด็กแสดงออก เด็กอาจจะดิ้นหรือต่อต้านผู้ปรับพฤติกรรม แต่ผู้ปรับพฤติกรรมต้องมีความชัดเจน อดทน และสม่ำเสมอ ต่อพฤติกรรมที่เด็กแสดงออก และเมื่อเด็กสงบลงใช้วิธีเบี่ยงเบนไปสู่กิจกรรมใหม่แทน ไม่ควรพูดตำหนิในสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว และถ้าเด็กเกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเช่นนี้อีก ก็อาจจะใช้วิธีการปรับพฤติกรรมเช่นนี้อีกทุกครั้ง จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรมได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น มากกว่าการพูดตำหนิว่าเด็กอย่างเดียว เพราะเด็กที่มีความต้องการพิเศษ มีความบกพร่องในความเข้าใจและการสื่อภาษา

3. พฤติกรรมไม่ยอมแบ่งปันและไม่รู้จักรอคอย เด็กในวัยนี้ยังรอคอยไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นเด็กปกติหรือเด็กที่มีความต้องการพิเศษก็ตาม ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ยากสำหรับเด็กในวัยนี้ และจะยากมากถ้าเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ แต่ทักษะของพฤติกรรมเหล่านี้สามารถเรียนรู้กันได้

วิธีการแก้ไข
3.1    จัดกลุ่มกิจกรรมย่อย ซึ่งมีเด็กประมาณ 2-3 คนต่อครู 1 คน โดยครูจัดของเล่นให้มีความหลากหลายและเป็นที่สนใจของเด็ก ครูจะเป็นผู้นำกลุ่มโดยให้เด็กผลัดกันเล่นของเล่น โดยใช้เวลาในการเล่นแต่ละขั้นไม่นานมาก จากนั้นครูให้สัญญาณเตือนให้เด็กพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนของเล่นกัน จะทำให้เด็กทุกคนในกลุ่มได้เรียนรู้การเล่นอย่างมีกฎเกณฑ์
3.2    ถ้ากรณีของเล่นที่เด็กสนใจและมีจำนวนจำกัด ครูควรมีกฎเกณฑ์กับเด็กให้ชัดเจน เช่น คนไหนอยากเล่นของเล่นชิ้นนี้ยกมือขึ้น ให้เด็กที่ยกมือขึ้นก่อนได้รับของเล่น ซึ่งในกลุ่มอาจมีเด็ก 4 คนแต่มีเด็ก 3 คนที่ยกมือขึ้น ก็ให้เด็ก 3 คนเล่นของเล่นก่อน หลังจากนั้นครูอาจจับเวลาการเล่นให้เล่นคนละ 5 นาที เมื่อครบเวลา ครูให้สัญญาณเตือนให้เด็กส่งของเล่นให้เพื่อนที่ยังไม่ได้เล่นต่อไป โดยใช้กฎกติกาเดิม แต่ถ้าเกิดกรณีที่เด็กไม่รอคอยพยายามจะแย่งของเล่นออกจากเพื่อน ครูต้องยับยั้งพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมให้ได้ โดยการจับแยกเด็กออกจากกลุ่ม ถึงแม้ว่าเด็กจะร้องไห้ โวยวายก็ตาม ต้องใช้วิธีการเพิกเฉย (ignore) แต่ครูจะให้ความสนใจในเด็กที่แสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม โดยให้เล่นของเล่นกันต่อไป เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ในพฤติกรรมที่เหมาะสมเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน
4. พฤติกรรมการกระตุ้นตัวเอง เช่น การโยกตัว การดูดนิ้ว ฯลฯ พฤติกรรมเหล่านี้มักเกิดขึ้นเวลาเด็กอยู่คนเดียว ไม่รู้จะทำกิจกรรมอะไร บางครั้งอาจเป็นการเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น ดังนั้นเด็กจึงแสดงพฤติกรรมออกมาเพื่อหาความสุขสบายในรูปของการกระตุ้นตัวเอง

วิธีการแก้ไข

4.1    สังเกตพฤติกรรมโดยพิจารณาความถี่ที่เกิดขึ้น และพฤติกรรมเหล่านี้เกิดในเหตุการณ์
ใดบ้าง

4.2    ให้ความรัก ความเอาใจใส่ อย่าดุว่า ตำหนิ หรือชี้นำพฤติกรรม สิ่งเหล่านี้จะทำให้เด็กสนใจ
และมีพฤติกรรมเพิ่มขึ้น ทางที่ถูกต้องควรโอบกอด สัมผัสด้วยความรัก และเบี่ยงเบนให้เด็กสนใจในกิจกรรมอื่นแทน อาจใช้ของเล่น หรือเกมการเล่นอื่นเข้ามาแทน

5. พฤติกรรมดื้อรั้น พฤติกรรมดื้อรั้นของเด็กนั้น ทางด้านจิตวิทยาได้กล่าวว่าเป็นพฤติกรรมที่เด็กต้องการความเป็นอิสระหรือความเป็นเจ้าของในส่วนที่เป็นของตัวเอง เช่น เรื่องความเป็นตัวของตัวเองที่จะทำอะไรเป็นอิสระด้วยตัวเอง พอไม่ได้รับในสิ่งนั้น เด็กก็จะหาทางต่อสู้ โดยแสดงความดื้อรั้นกับคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ใกล้ชิด มักพบในวัย 2-4 ปี ในช่วงนี้เด็กต้องการทำอะไรใหม่ๆ ด้วยตนเอง พบสิ่งใหม่ๆ ก็อยากสำรวจค้นคว้า ผู้ใหญ่ไม่ควรขัดขวางพัฒนาการของเด็กเพียง แต่คอยดูว่าถ้าสิ่งนั้นนำไปสู่อันตราย หรือนำไปสู่การละเมิดสิทธิของผู้อื่น ก็ต้องคอยป้องกัน หรือยับยั้งอย่างจริงจัง บางครั้งเด็กอาจแสดงพฤติกรรมดื้อรั้นร่วมกับพฤติกรรมก้าวร้าว เช่น ลงไปนอนดิ้น ร้อง กระทืบเท้า ทำลายข้าวของ ทุบตีผู้ใหญ่

     พฤติกรรมเช่นนี้เกิดจากการที่เด็กถูกตามใจจนกระทั่งเคยตัว โดยที่ผู้ใหญ่คาดไม่ถึงว่าการปล่อยตัวตามใจทุกอย่างนั้นเป็นการขัดขวางพัฒนาการของเด็กอย่างร้ายแรงที่สุด เพราะจะทำให้เด็กกลายเป็นคนไม่มีความอดทน นึกอยากได้อะไรก็ต้องได้ทุกอย่าง ขาดวินัย ถ้าไม่ได้ก็จะอาละวาด ก้าวร้าว ถ้าเด็กแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวแล้วเด็กได้ในสิ่งที่ต้องการ ครั้งต่อไปเด็กก็จะเอาพฤติกรรมก้าวร้าวเช่นนั้นเป็นเครื่องต่อรองกับคุณพ่อคุณแม่อีก หรือบางทีก็จะยิ่งอาละวาดหรือก้าวร้าวมากขึ้น เพราะรู้ว่าการกระทำเช่นนั้นจะทำให้ผู้ใหญ่ยอม หรืออีกสาเหตุหนึ่งที่พบบ่อยในพฤติกรรมเด็กดื้อรั้น คือเด็กถูกยั่วยุด้านเดียว เช่น ถูกขัดใจอยู่ตลอดเวลา หรือถูกแหย่ให้โกรธตลอดเวลา จนกลายเป็นเด็กขี้โมโห หรือกรณีถูกลงโทษโดยไม่เป็นธรรมหรือถูกลงโทษรุนแรงเกินไป สิ่งเหล่านี้จะเป็นการเร้าอารมณ์ให้เด็กเกิดพฤติกรรมดื้อรั้นแทบทั้งสิ้น
วิธีการแก้ไข
5.1 ไม่ควรบังคับเด็กมากเกินไป แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ควรตามใจมากเกินไป ถ้าทำตามไม่ได้หรือให้ไม่ได้ก็ควรบอกว่าทำไม่ได้ ต้องยืนยันตามเหตุผลนั้นอย่างจริงจัง การกระทำอย่างอ่อนโยนแต่เด็ดขาดชัดเจน เป็นวิธีหนึ่งที่แสดงให้เด็กรู้ว่ามีคนรักและเอาใจใส่ความรู้สึกของเด็ก

5.2 ในกรณีที่เด็กมีพฤติกรรมดื้อรั้น เช่น มีพฤติกรรมต่อต้าน ร้องไห้โวยวาย วิธีแก้ไขที่ง่ายที่สุดในขณะนั้นคือ ต้องใจเย็น อย่าให้อะไรในขณะที่เด็กเกิดพฤติกรรมเช่นนั้น ถ้าเห็นว่าไม่มีเหตุการณ์อะไรที่หนักหนาและไม่เป็นอันตรายต่อตัวเด็ก อยากร้องก็ปล่อยให้ร้อง อย่าแสดงอาการวิตกกังวลกับพฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น เด็กก็จะค่อยๆ สงบและเงียบลง เมื่อเด็กเงียบควรเบี่ยงเบนความสนใจไปทางอื่น พฤติกรรมการดื้อรั้นก็จะลดลง และถ้าเด็กก้าวร้าวโดยการทำร้ายตัวเอง/ผู้อื่นร่วมด้วย ควรจับ/กอดรัดเด็กไว้ก่อนเพื่อหยุดพฤติกรรมนั้น เมื่อเด็กสงบลงก็เบี่ยงเบนความสนใจไปสู่สิ่งอื่น เมื่อเด็กมีอารมณ์ดื้อรั้น ผู้ใหญ่ต้องใจเย็น สงบ แต่เอาจริง จะทำให้เด็กได้เรียนรู้ว่าอะไรที่ทำได้ อะไรที่ทำไม่ได้หรือไม่ควรทำ 
     ขณะเดียวกันผู้ใหญ่ก็ต้องพยายามเข้าใจธรรมชาติและความต้องการของเด็กด้วย ถ้าเอาแต่สอนเด็กแต่ตัวเองไม่ทำตามที่สอนหรือไม่ทำตามที่พูด เด็กก็จะเกิดการเรียนรู้ว่าผู้ใหญ่ดีแต่พูดเท่านั้น เช่น บอกว่าถ้าทำอย่างนั้นอย่างนี้แล้วจะต้องถูกลงโทษ เมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมนั้นจริงกลับไม่มีอะไรเกิดขึ้น เด็กก็จะรู้ว่าพ่อแม่ไม่เอาจริง และเด็กก็จะยิ่งแสดงพฤติกรรมนั้นมากขึ้น ก็จะต้องขู่มากขึ้นกว่าเดิม ทำให้เด็กไม่สามารถเรียนรู้หรือเข้าใจพฤติกรรมนั้นได้ กลับเข้าใจว่าเป็นเพียงคำขู่ ไม่มีอะไรจริงจัง กรณีเช่นนี้ เป็นการส่งเสริมให้เด็กกลายเป็นเด็กที่มีพฤติกรรมดื้อรั้นมากขึ้น

ปัญหาของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นกับเด็กในวัยนี้ไม่ยากที่จะแก้ไข ถ้าเข้าใจถึงพัฒนาการของเด็กและเทคนิคการปรับพฤติกรรมอย่างเหมาะสม ก็สามารถนำเด็กไปสู่พฤติกรรมที่ดีที่เหมาะสมตามวัยของเด็กได้
สรุป     การแก้ไขปัญหาพฤติกรรมของเด็กนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องยอมรับและตระหนักถึงปัญหาพฤติกรรมที่เกิดขึ้นก่อน จากนั้นต้องพยายามหาสาเหตุของพฤติกรรมที่เป็นปัญหา ซึ่งเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันโดยทางพันธุกรรมและการอบรมเลี้ยงดู วิธีการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมแบบหนึ่ง อาจเหมาะสมกับเด็กคนหนึ่ง แต่อาจไม่เหมาะสมกับเด็กอีกคนหนึ่งก็ได้ ซึ่งการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมของเด็กก็ควรทำเป็นรายบุคคล ถ้าคุณพ่อคุณแม่เข้าใจ และบำบัดพฤติกรรมที่เป็นปัญหาได้ทันท่วงที ก็จะสามารถขจัดปัญหาพฤติกรรมนั้นได้ 
     การแก้ไขปัญหาที่ได้ผลดีต้องอาศัยความรัก ความเข้าใจและความตั้งใจจริงของพ่อแม่ แต่การป้องกันปัญหาก่อนเกิด ย่อมเป็นสิ่งที่ควรจะทำมากกว่า ถ้าคุณพ่อคุณแม่เข้าใจหลักพัฒนาการและธรรมชาติของเด็กในวัยนี้ ตลอดจนเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล มีความรักและความตั้งใจในการเลี้ยงดู ก็จะสามารถป้องกันปัญหาพฤติกรรมที่อาจเกิดได้นั่นเอง