วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553

คลินิกพัฒนาการเด็ก

คลินิกพัฒนาการเด็ก

พญ.แก้วตา  นพมณีจำรัสเลิศ : กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก

คลินิกสำหรับเด็กทุกคนทั้งเด็กที่มีพัฒนาการปรกติและล่าช้า หรือ กลุ่มเด็กพิเศษ บริการให้คำปรึกษาปัญหาพฤติกรรมและพัฒนาการในเด็กปรกติทั่วไป แนวทางการเลี้ยงดู ส่งเสริมศักยภาพเด็ก ตรวจวินิจฉัยหา สาเหตุ ประเมินพัฒนาการเด็กโดยแพทย์บำบัดและส่งเสริมพัฒนาการโดยนักวิชาชีพสาขาต่างๆได้แก่


กุมารแพทย์พัฒนาการเด็ก

• ปรึกษาปัญหาพฤติกรรมและพัฒนาการในเด็กปรกติ แนวทางการเลี้ยงดู ส่งเสริมศักยภาพเด็ก
• ตรวจวินิจฉัยและประเมินพัฒนาการเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า,
เด็กพิเศษประเมินความสามารถในการเรียนรู้ (Neurodevelopmental profile)
ในเด็กที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้ และสมาธิ
• ประเมินและให้คำแนะนำการส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามแนวทาง DIR/Floortime

นักจิตวิทยาเด็ก
• ส่งเสริมส่งเสริมพัฒนาการและปรับพฤติกรรมในกลุ่มเด็กออทิสติก เด็กพัฒนาการล่าช้า เด็กสติปัญญาบกพร่อง
• ให้คำปรึกษาแก่ผู้ปกครองในการช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมและพัฒนาการ  ประเมินและให้คำแนะนำการส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามแนวทาง DIR/Floortime


รูปแบบการให้บริการตรวจวินิจฉัยและประเมินพัฒนาการโดยแพทย์
การบำบัดส่งเสริมพัฒนาการโดยนักวิชาชีพแบบเดี่ยว
เวลาทำการ
ทุกวันราชการเวลา 8.30-16.30 น

ขั้นตอนการรับบริการ
1. รับเอกสารสารลงทะเบียนโดยมารับเองที่สถาบัน หรือ Download จาก Website
• ผู้ปกครองกรอกข้อมูลสุขภาพและพัฒนาการของเด็ก  
OPD Card>>>>ดาวน์โหลด • เด็กที่เข้าโรงเรียนแล้ว ผู้ปกครองนำเอกสารให้ ครูประจำชั้นช่วยกรอกข้อมูลด้วย
2. นำเอกสารส่งที่สถาบัน หรือส่งทางไปรษณีย์/โทรสาร
3. ท่านจะได้รับการติดต่อกลับเพื่อตรวจประเมินพัฒนาการโดยนักวิชาชีพ
และจะได้รับการนัดพบแพทย์หลังจากนั้น
4. การบำบัดส่งเสริมพัฒนาการอาจต้องรอตามคิวขึ้นกับ อายุ ความสามารถของเด็ก
และจำนวนเด็กที่มารับบริการ


“ความสำคัญในการดูแลเด็ก คือ การเข้าใจและยอมรับ ในความแตกต่างของเด็ก
เด็กทุกคนสามารถพัฒนาได้ ความสามารถในการพัฒนาขึ้นกับศักยภาพของเด็กและการส่งเสริมอย่างถูกต้องจากครอบครัวและบุคคลใกล้ชิด”

วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

How to get ready for a new baby (warning)

พัฒนาการของเด็กปฐมวัย

พัฒนาการของเด็กปฐมวัย
     เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความสำคัญการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาเด็กให้บรรลุตาม จุดมุ่งหมายจึงเป็นสิ่งที่บุคลากรผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยต้องให้ความสนใจ และเข้าใจพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กวัยนี้ พัฒนาการของเด็กปฐมวัยมีดังนี้
    1. พัฒนาการด้านร่างกาย (Physical Development) เด็กปฐมวัยจะอยู่ในช่วงอายุประมาณ 3–6 ขวบ เด็กในวัยนี้มีอัตราพัฒนาการด้านร่างกายช้ากว่าตอนอยู่ในวัยทารก และเนื่องจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมีอัตราพัฒนาการแตกต่างกัน จึงทำให้เด็กปฐมวัยมีการเปลี่ยนแปลงทางสัดส่วนอย่างเห็นได้ชัด โดยเด็กวัยนี้จะมีความก้าวหน้าเกี่ยวกับพัฒนาการการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ความงุ่นง่านในวัยทารกจะหายไป การเติบโตทางสัดส่วนจะเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ตามลำดับ
    2. พัฒนาการด้านอารมณ์-จิตใจ และสังคม (Emotional and Social Development) พัฒนาการด้านอารมณ์ และจิตใจเป็นความสามารถในการรู้สึกและแสดงความรู้สึกรวมทั้งความสามารถในการแยกแยะ ความลึกซึ้ง และควบคุมการแสดงออกของอารมณ์อย่างเหมาะสม เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนการสร้างความรู้สึกที่ดีและนับถือต่อตนเอง ซึ่งเกี่ยวข้องกับพัฒนาการด้านสังคมด้วย บางครั้งจึงมีการรวมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ กับทางด้านสังคมเป็นกลุ่มเดียวกัน
    3. พัฒนาการด้านสติปัญญา (Intellectial Development) พัฒนาการด้านสติปัญญา เป็นพัฒนาการที่สำคัญอีกด้านหนึ่ง เนื่องจากเด็กปฐมวัยจะอยู่ในขั้นความคิดในสิ่งที่เป็นนามธรรม การคิดเชิงเหตุผล คิดแก้ปัญหา คิดสร้างสรรค์ ซึ่งต้องอาศัยการเรียนรู้ที่ผ่านการลงมือกระทำที่เป็นรูปธรรมชัดเจน เช่น เรียนรู้ธรรมชาติวัตถุ จากการทำ กิจกรรมกลุ่ม กิจกรรมสำรวจ ปฏิบัติทดลอง การเรียนรู้ และแสดงความรู้สึกผ่านสื่อ วัสดุ ของเล่นและผลงานต่าง ๆ ซึ่งการอธิบายเกี่ยวกับสิ่งของและความสัมพันธ์ของวิ่งต่าง ๆ โดยเด็กได้พัฒนาทักษะการสังเกต การจำแนก เปรียบเทียบ ซึ่งเป็นกระบวนการกระตุ้นให้เด็กใช้กระบวนการคิดมากว่าเน้นความรู้ความจำเป็น
     ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อพัฒนาการเด็ก มีดังนี้
    1. ปัจจัยด้านธรรมชาติของตัวบุคคล (organismic factor) เป็นผลโดยตรงของพันธุกรรมที่กำหนดศักยภาพ กำหนดเพศ และลักษณะแตกต่างจำเพาะบุคคล รวมถึงขั้นตอนการบรรลุวุฒิภาวะและระดับความอ่อนแอ เมื่อบุคคลนั้นถูกกระทบโดยสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
    2. ปัจจัยด้านภาวะแวดล้อมที่หล่อเลี้ยง (environmental factor) แบ่งเป็น 2 ด้าน คือ
        2.1 ชีวกายภาพ ได้แก่ อาหาร ภูมิประเทศ สภาวะอากาศ สิ่งแวดล้อม ที่อยู่อาศัย การเจ็บป่วย การได้รับรังสี สารเคมี และมลภาวะ เป็นต้น
        2.2 จิตสังคม วัฒนธรรม ได้แก่ การเลี้ยงดู โอกาสรับการศึกษา ลักษณะครอบครัวบิดามารดาและผู้เลี้ยงดู เศรษฐกิจ ฐานะ สภาพสังคม วัฒนธรรม การเมือง ตลอดจนระบบสาธารณูปโภค สื่อมวลชน บริการทางสังคม การศึกษา สุขภาพ และสวัสดิการที่มีอยู่ในสังคมอีกทั้ง ระยะเวลา ที่ปัจจัยต่าง ๆ กระทบต่อเด็กเป็นสิ่งสำคัญ

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การเจริญเติบโตทางด้านร่างกายและพัฒนาการของเด็ก 1 เดือน - 1 ปี

 



อายุ 1 เดือน
- น้ำหนักของเด็กทารกเท่ากับ 3 3.5 กิโลกรัม น้ำหนักจะเพิ่มประมาณ 1/8 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ ใน 6 เดือนแรก
- ความสูง แรกเกิดจะสูงประมาณ 50 เซนติเมตร จะเพิ่มประมาณ 1 นิ้วต่อเดือน ใน 6 เดือนแรก
- ชีพจร จะเต้น 120-150 ครั้งต่อนาที
- การหายใจ ประมาณ 30-60 ครั้งต่อนาที
การเคลื่อนไหว (Motor Control)
                - คอยังไม่แข็ง ต้องช่วยพยุงขณะอุ้ม เมื่อจับทารกนอนคว่ำทารกจะพยายามยกศีรษะขึ้นได้เล็กน้อย
                - มองวัตถุที่เคลื่อนไหวได้แต่อยู่ในสายตาเท่านั้น การมองรอบ ๆ ตัวยังไม่มีความหมายเพราะการพัฒนายังไม่ดีพอ
การออกเสียงและด้านร่างกาย (Vocalization And Socialization)
            - ออกเสียได้บ้างแต่อยู่ในลำคอ การยิ้มยังไม่มีความหมาย จะร้องให้เมื่อรู้สึกหิว หรือผ้าอ้อมเปียกชื้น ทารกจะนอนเสียเป็นส่วนใหญ่
                - ถ้าจับนอนคว่ำจะใช้เท้าถีบที่นอน
                - เมื่อจับทารกยืนจะแสดง คานซ์ รีเฟลกซ์
                -จะแสดง โทนิค เนค รีเฟลกซ์ ได้ดี
อายุ 2 เดือน
                -น้ำหนัก 4.8 5.1 กิโลกรัม
                -ความสูง 58 เซนติเมตร
                -กระหม่อมหลังปิด
การเคลื่อนไหว (Motor Control)
                -จับนอนคว่ำจะยกศีรษะขึ้น
                -โทนิค เนค และ มอโร รีเฟลกซ์ จะหายไป
                -สามารถพลิกตะแคงตัวได้
                -ถือของเล่นได้ไม่นานนัก
                -มองตามแสงหรือวัตถุ
การออกเสียงและด้านสังคม
                -ยิ้มอย่างมีความหมาย และจะยิ้มตอบเมื่อมารดายิ้มให้ก่อน
-สามารถเรียนรู้การเรียกร้องความสนใจจากมารดา เช่น เมื่อร้องไห้จะมีผู้มาหาและสนองตอบความต้องการของเขา เสียงของร้องไห้จะแตกต่างไปตามเหตุผล และจะร้องไห้เมื่อหิวง่วงนอน เจ็บปวด
                -เมื่อมีผู้คุยด้วยจะสนใจ
อายุ 3 เดือน
                -น้ำหนักตัวประมาร 5.5-6 กิโลกรัม
                -ส่วนสูงประมาณ 59-60 เซนติเมตร
การเคลื่อนไหว (Motor Control)
                - จะมีการเคลื่อนไหวมากขึ้น มีการเอื้อมมือไปหาวัตถุใกล้ ๆ แต่นิ้วมือยังไม่ทำงาน นับเป็นการเคลื่อนไหว เริ่มแรกที่แสดงถึงความอยากรู้อยากเห็น ซึ่งจะขึ้นอยู่กับอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมมาก ถ้าอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ได้ช่วยทางด้านการเคลื่อนไหวของทารกแรกเกิดแล้วจะปรากฏว่าลักษณะเอื้อมไปสู่สิ่งของจะไม่ปรากฏเป็นเวลาถึง 5 เดือน ในระยะเวลา 3 เดือนนี้เงที่การปรับตัวของเล็นซ์นัยน์ตาจะมีความสมบูรณ์ที่สุด
                - สามารถชันคอได้ มีคนหยอกล้อด้วยจะยิ้มรับ
                - เล่นมือและนิ้วได้
อายุ 4 เดือน
                - น้ำหนักตัวประมาณ 6.2-6.3 กิโลกรัม
                - ส่วนสูงประมาณ 61-63 เซนติเมตร
                การเคลื่อนไหว
                - จะมีการกลิ้งตัวจากด้านหลังมาด้านหน้า พลิกตะแคงตัวได้คล่อง
                - สามารถชันคอได้ คอแข็ง เมื่อจับนั่ง
                - จับของใส่ปากได้
                การออกเสียงและด้านสังคม
                - หัวเราะเสียงดัง ยิ้มตอบเมื่อมีผู้ยิ้มให้
                - ชอบคุยอ้อแอ้ และมีความสุขเมื่อมีผู้มาคุยด้วย
                - ต้องการความสนใจจากสมาชิกในครอบครัว
                - มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว เช่น คุยและร้องไห้
อายุ 5 เดือน
                - น้ำหนักจะเป็น 2 เท่าของแรกเกิด ประมาณ 6.3 7.0 กิโลกรัม
                - ความสูงประมาณ 63-65 เซนติเมตร

    
การเคลื่อนไหว
                - จับทารกให้นั่งตักได้
                - ถือขวดนมดูดเองได้
                - พลิกคว่ำได้
                - เล่นของเล่นมากขึ้น
                การออกเสียงและด้านสังคม
                - ชอบออกเสียงอ้อ ๆ แอ้ ๆ
                - จะร้องไห้แสดงความไม่พอใจ
                - เมื่อไม่ได้ของตามต้องการจะร้อง และดิ้น
                - จะแยกออกว่าผู้ใดคุ้นเคยหน้าและไม่คุ้นหน้า
อายุ 6 เดือน
                - น้ำหนักตัวประมาณ 7.1 7.2 กิโลกรัม
                - ความสูงประมาณ 65-66 เซนติเมตร
                การเคลื่อนไหว
                - ทารกจะหมุนได้รอบตัว เริ่มคืบและนอนคว่ำได้
                - เอื้อมมือสัมผัสสิ่งของที่อยู่ใกล้ตัวได้
                - ชอบถือและเขย่าของเล่นที่มีเสียงดัง
                การออกเสียงและด้านสังคม
                - จะมีการแสดงออกของอารมณ์รื่นเริง เช่น หัวเราะหรือทำเสียงอ้อ แอ้ จะร้องไห้แสดงความไม่พอใจ
                - เริ่มรู้จักคนแปลกหน้า แต่จะเกิดความกลัวคนแปลกหน้า
                - อยากให้บุคคลที่ตนรู้จักมาอยู่ใกล้ ๆ
อายุ 7 เดือน
                การเคลื่อนไหว
                - สามารถนั่งเองได้ตามลำพังแต่นั่งได้ประเดี๋ยวเดียว
                - ชอบเล่นเท้าและจับเท้าใส่ปาก
                - เอื้อมมือไปจับของเล่นและมือด้วยมือเดียว
- เปลี่ยนมือกันถือของได้
- พลิกคว่ำพลิกหงายตัวได้เอง
  การออกเสียงและด้านสังคม
- ชอบทำเสียง อ้อ ๆ แอ้ ๆ
- เวลาร้องไห้ออกเสียง แม แม แม
อายุ 8 เดือน
                การเคลื่อนไหว
                - นั่งได้เองและนาน
                - คืบได้โดยดันตัวไปข้างหน้าด้วยแขนทั้ง 2 ข้าง
                - ใช้นิ้วได้อย่างเต็มที่ โดยใช้นิ้วมือหยิบวัตถุ
                - หัดป้อนอาหารตนเองได้โดยใช้ช้อน
                การออกเสียงและด้านสังคม
                - อารมณ์เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว
                - แสดงความรักด้วยการโอบกอด
อายุ 9 เดือน
                การเคลื่อนไหว
                - สามารถนั่งได้และมีการประสานงานของกล้ามเนื้อได้ดี
                - ใช้มือถือขวดนมใส่ปากได้ สามารถดึงหัวนมเข้าและออกจากปากได้ตามความต้องการ
                - แสดงความถนัดของมือข้างใดข้างหนึ่ง
                - คลานได้ดีโดยใช้แขนและขาส่วนลำตัวขนานกับพื้นห้อง เด็กบางคนจะคลานไม่ได้ ถ้าเกิดการเจ็บป่วย แต่เด็กบางคนจะคลานได้ตั้งแต่อายุ 4 เดือน แต่เด็กส่วนมากจะคลานได้เมื่อประมาณ อายุ 9 เดือน
                - สามารถใช้มือยึดเก้าอี้และโต๊ะได้
                การออกเสียงและด้านสังคม
                - แสดงการออกเสียงแบบด้วยการพูด จ๊ะ จ๋า และออกเสียงอื่น ๆ
                จะสนองตอบต่อผู้ที่แสดงความไม่พอใจโกรธเมื่อถูกดุจะร้องไห้
อายุ 10 เดือน
                การเคลื่อนไหว
                - นั่งเป็นเวลานาน ไม่ชอบนอน ยกเว้นเมื่อง่วงนอน
                - หัดเดินเมื่อมีคนช่วยจูง สามารถยืนเกาะได้ถ้ามีสิ่งยึด
                - สามารถคลานได้อย่างรวดเร็ว และเกาะเดินตามลูกกรงเตียงได้
                  สามารถเก็บและจับวัตถุมาถือได้ และใช้นิ้วมือแหย่หรือเคาะเล่นได้
                -สามารถหยิบขนมหรืออาหารอื่น ๆ เข้าปากได้
                -สามารถใช้นิ้วและนิ้วหัวแม่มือได้
                การออกเสียงและด้านสังคม
                -พูดได้ 1 คำหรือ 2 คำ ตามคนเลี้ยง
                -สนใจเมื่อมีผู้เรียกชื่อตนเอง
                -เล่นเกมส์ง่าย ๆ ได้ โบกมือไปมาได้
อายุ 11 เดือน
                การเคลื่อนไหว
                -ยืนได้โดยจับมือมารดา หรือหัดยืนด้วยตนเอง
                -สามารถนั่งเล่นตามลำพังได้เป็นเวลานานๆ
อายุ 12 เดือน
                -น้ำหนักจะเป็น 3 เท่าของแรกเกิด ประมาณ 9 กิโลกรัม (21-22 ปอนด์)
                -สูง 29 นิ้ว หรือประมาณ 71-74 เซนติเมตร
                -เส้นรอบศีรษะกับหน้าอกจะเท่ากัน
                -มีฟัน 6 ซี่
                -ชีพจร 100-140 ครั้งต่อนาที
                -การหายใจ 20-40 ครั้งต่อนาที
                การเคลื่อนไหว
                -ยืนได้ตามลำพัง
                -เดินได้เมื่อมีคนจูงเดิน เกาะเก้าอี้เดินได้
                -จับดินสอสีและขีดบนกระดาษได้
                การออกเสียงและด้านสังคม
                -สามารถพูดได้ 2 คำติดต่อกัน เช่น พ่อ พ่อ  แม่ แม่
                -จำชื่อตนเองได้
                -ชอบพูดคุยคนเดียวหรือกับคนที่อยู่ใกล้ตัวเขา
                -เข้าใจคำห้ามต่าง ๆ เช่น อย่า, ไม่
                -สนใจต่อตนเองเท่านั้น
                -แสดงความอิจฉา พอใจโกรธ

การเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กแรกเกิด-1ปี


การเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กแรกเกิด - 1ปี

วัยแรกเกิด (The Newborn)
                หมายถึงทารกที่คลอดใหม่จนถึง 1 เดือน หรือ 4 สัปดาห์ ซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญมากของมนุษย์และเป็นวัยที่เริ่มเรียนรู้ที่จะเข้าใจหรือไม่ไว้ใจในสภาพแวดล้อม การเจริญเติบโตในวัยทารกนี้มีอัตราการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว การเจริญเติบโตและการพัฒนาต่างๆ ซึ่งจะกล่าวเรียงลำดับดังนี้
การเจริญเติบโตทางร่างกาย
น้ำหนัก (Weight) เด็กคลอดครบกำหนดจะมีน้ำหนักแรกเกิดของเด็กไทยเฉลี่ย 2500-3000 กรัม ในระยะ 2-3 วันแรกของชีวิตน้ำหนักจะลดลงได้ประมาณ 5-10 % ของน้ำหนักตัวแรกเกิด ทั้งนี้เนื่องจากทารกได้อาหารน้อย มีการเสียน้ำออกจากร่างกายมากทั้งทางอุจจาระ ปัสสาวะ เหงื่อ และการหายใจ และจะเริ่มขึ้นเมื่ออายุได้ 3 วันไปแล้ว และจะขึ้นเท่าน้ำหนักแรกเกิดเมื่ออายุประมาณ 7-10 วัน ต่อไปน้ำหนักจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ใน 3 เดือนแรกจะขึ้นประมาณวันละ 1 ออนซ์ หรือ 30 กรัม
Special senses
-                          Touch เด็กจะมีความรู้สึกต่อการสัมผัสโดยเฉพาะที่ปาก ลิ้น หู หน้าผาก เด็กแรกเกิดปกติจะ respond ต่อการอุ้ม ถ้าเด็กไม่งับหัวนมเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าอาจมี brain damage
-                          Sight ตาจะเป็นสีน้ำเงินหรือเทา เมื่อแรกเกิดและจะเปลี่ยนเป็นสีปกติเมื่ออายุ 3-6 เดือน การเคลื่อนไหวของตาจะไม่สอดคล้องกัน ตาจะกลอกไปมาเป็นการยากที่จะทราบว่าเด็กมองเห็นหรือไม่ pupil จะ react ต่อแสงไม่ชอบแสงสว่างจ้าและยังไม่มีน้ำตาปรากฏชัดเจนกว่าอายุ 3-4 สัปดาห์ ถ้าตาเปิดได้ครึ่งเดียว บวม มีหนองไหลอาจเกิดการระคายเคืองจาก AgNO3 หรือมีการติดเชื้อเกิดขึ้น
-                          Hearing เด็กจะไม่ได้ยินจนกว่าจะร้องไห้ครั้งแรก การทดสอบว่าเด็กได้ยินหรือไม่กโดยการสั่นกระดิ่งถ้าเขาได้ยินจะมี activity เพิ่มขึ้น จะมีการเคลื่อนไหวแขนขา และตา ปกติจะ Respond ต่อเสียงประมาณอายุ 3-7 วัน
-                          Taste จะรู้รสได้เป็็นอย่างดี และมีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว จะยอมรับอาหารเหลวรสหวาน จะไม่ยอมรับอาหารที่มีรสเปรี้ยวหรือขม
-                          Smell จะได้กลิ่นนมแม่และหันเข้าหาหัวนม
Skin sensations
                เด็กจะมีความรู้สึกต่อการสัมผัส, ความกดดัน, อุณหภูมิ, ความเจ็บปวด ได้ตั้งแต่แรกเกิด
-                          organic sensation เด็กทารกจะมีความรู้สึกต่อ ออร์แกนิค สติมูเลชั่น เช่น การหิวกระหายจะเป็นสาเหตุปกติที่ทำให้เด็กร้อง เด็กที่อายุประมาณ 2-3 สัปดาห์ อาจจะมีการปวดท้องเนื่องจากมีลมในลำไส้มากได้
การนอนหลับ
                เด็กแรกเกิดส่วนใหญ่จะนอนวันละประมาณ 15-20 ชม. จะตื่นเป็นระยะเวลาสั้นๆ เมื่อได้รับการกระตุ้นจากภายใน เช่น หิว เจ็บปวด หรือกระตุ้นจากภายนอก เช่น เปียกแฉะ เป็นต้น เมื่อเด็กโตขึ้นก็จะตื่นนานขึ้น
ภูมิต้านทานโรค
-             แอนติบอดี้ ของโรคต่าง ๆ จะผ่านทารก ไปยังเด็กระหว่างที่เด็กอยู่ในครรภ์มารดา เช่น ฝีดาษ, คางทูม, คอตีบ และหัด ถ้ามารดาเคยเป็นโรคดังกล่าวมาก่อน ภูมิต้านทานที่ได้รับจากมารดานี้จะอยู่ประมาณ 2-3 สัปดาห์จนถึงหลายเดือน เด็กแรกเกิดอาจเกิดโรคสุกใส และ ไอกรนได้ เนื่องจากมีภูมิต้านทานโรคเพียงเล็กน้อย ในเด็กแรกเกิดจะเกิดการติดเชื้อลุกลามและมีโรคแทรกซ้อนได้ง่าย
พัฒนาการทางด้านจิตใจและอารมณ์
                เด็กแต่ละคนมีลักษณะพื้นฐานทางนิสัยที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดเป็นแบบประจำตัวของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แม้ในพี่น้องท้องเดียวกันก็ยังมีนิสัยต่างกันไป การเจริญเติบโตทางจิตใจเป็นผลเนื่องมาจากการเลี้ยงดูอบรมเด็กได้รับจากบิดามารดาหรือสภาพแวดล้อม มารดาจึงเป็นผู้ที่มีความสำคัญที่สุดสำหรับเด็กทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กตั้งแต่แรกเกินจนถึง 6 ขวบ จึงเป็นวัยที่อุปนิสัยใจคอเริ่มก่อตัวฝังแน่นอยู่ในใจของเด็ก เด็กต้องการความรักเท่า ๆ กับอาหาร เด็กเจ็บป่วยเพราะถูกทอดทิ้งก็มีมากบางคนป่วยเพราะต้องการความรัก ความเอาใจใส่จากแม่ หรือเพราะแม่ให้ไม่เพียงพอ การพัฒนาทางด้านอารมณ์ จะทำให้เราเห็นการสนองตอบที่ไม่เหมือนกัน เมื่อเด็กก้าวจากวัยหนึ่งมาสู่วัยหนึ่ง การเจริญเติบโตและพัฒนาการทางจิตใจและอารมณ์ที่ปกติจะนำไปสู่ความเป็นผู้มีบุคลิกดี คือเป็นผู้ที่มีอารมณ์มั่นคง เป็นผู้ใหญ่เพียงพอ รู้ตัวเมื่อทำอะไรผิดพลาด อยู่ในสังคมได้ด้วยความสุข และเป็นตัวของตัวเอง
                อารมณ์ของทารกแรกเกิด มีอยู่ 2 ประเภท คือ อารมณ์ชื่นบาน และอารมณ์ไม่แจ่มใสหรืออารมณ์โกรธ โดยที่ทารกได้รับการเปลี่ยนท่านอนอย่างรวดเร็วไม่นุ่มนวลถูกจับตรึงไม่ให้
กระดุกกระดิก หรือได้ยินเสียงดัง ไม่ได้รับการอุ้มชู และการเจ็บป่วย ทารกจะร้องไห้ เมื่อทารกรู้จักชื่นบาน เมื่อได้รับการตอบสนองทางด้านความต้องการทางร่างกาย การสัมผัสอย่างนุ่มนวล การกอดรัด เห่ กล่อม และให้อาหาร ทารกจะมีอารมณ์ชื่นบานโดยแสดงสีหน้าอย่างมีความสุข

การจัดกิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์การปั้น

ชื่อเรื่อง การจัดกิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์การปั้นโดยเน้นวัสดุอุปกรณ์ ธรรมชาติในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาความ      สามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนบ้านเขาตาว

ผู้วิจัย ชุติมา แก้วแท้
ปีที่วิจัย 2550
โรงเรียน บ้านเขาตาว
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ การปั้นโดยเน้นวัสดุอุปกรณ์ ธรรมชาติในท้องถิ่นและศึกษาผลความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัยโดยรวมและรายด้าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ เด็กนักเรียนชาย-หญิง อายุ 4 ปี กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนบ้านเขาตาว อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ได้มาโดยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวนนักเรียน 19 คน ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ จำนวน 40 ครั้ง วันละ 30 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ คู่มือการใช้แผน การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์การปั้น คู่มือการใช้ นวัตกรรม ศิลปะสร้างสรรค์ การปั้นโดยเน้นวัสดุอุปกรณ์ธรรมชาติในท้องถิ่นและแบบประเมินความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อของเด็กปฐมวัย ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กกับจุดประสงค์ IOC อยู่ระหว่าง 0.68 – 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .90 การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิเคราะห์ ความแปรปรวน แบบวัดซ้ำ (One-way Reported Measures Anova) และ LSD แบบวัดซ้ำในการเปรียบเทียบแบบรายคู่
ผลการวิจัยพบว่าก่อนและระหว่างจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์การปั้นโดยเน้นวัสดุ อุปกรณ์ธรรมชาติในท้องถิ่น
เด็กปฐมวัยมีระดับคะแนนความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<.05 ทั้งโดยรวม (F=1152.832) และความสามารถรอบด้าน คือ ด้านความคล่องแคล่ว (F=303.202) ด้านความยืดหยุ่น (F=364.797)
ด้านความถูกต้องและความสามารถในการควบคุม (F=429.704) ด้านประสานกัน (F=231.186) และด้านการรับรู้โดยใช้ประสาทสัมผัส (F=524.347) โดยการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์การปั้นเน้นวัสดุ อุปกรณ์ ธรรมชาติในท้องถิ่น ส่งผลต่อความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัยสูงกว่าก่อนทดลองทุกสัปดาห์ แสดงว่ากิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์การปั้นเน้นวัสดุ อุปกรณ์ธรรมชาติในท้องถิ่น มีประสิทธิภาพสามารถพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็ก ของเด็ก

วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553

คอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย

คอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย
คอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Using Computers in Pre-school)

แนวคิดทฤษฎีและหลักการคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย ความรู้พื้นฐานในคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย การเลือกและการจัดโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ เทคนิคการสอนคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย การฝึกฝนปฏิบัติการสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย การวัดและการประเมินผลการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย ครูและผู้ปกครองกับการจัดโปรแกรมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์การใช้คอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย

e-learning : http://tcu.npru.ac.th/
จุดประสงค์ของวิชา

1. เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎีและหลักการของคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2. สามารถอธิบายเทคนิคการสอน การเลือกโปรแกรมที่เหมาะสมเพื่อการส่งเสริมพัฒนาการต่าง ๆ ตลอดจนสามารถจัดกิจกรรมการใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
3. ให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติการใช้คอมพิวเตอร์และสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย


หัวข้อวิชา (course outline)

1. แนวคิด ทฤษฎี หลักการ และความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2. การเลือก การจัดโปรแกรม การวัดและการประเมินผลการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ
3. บทบาทของครูและผู้ปกครองในการจัดกิจกรรม เพื่อการส่งเสริมประสบการณ์และการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
4. เทคนิคการสอนคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย
5. การจัดสภาพแวดล้อมที่เป็นมัลติมีเดียสำหรับการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
6. การใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานกับระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (Microsoft Windows)
7. ระบบคอมพิวเตอร์และมัลติมีเดียสำหรับเด็กปฐมวัย
8. การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
9. การใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Microsoft Office ขั้นพื้นฐาน
10. การใช้โปรแกรมกราฟิก Adobe Photoshop ขั้นพื้นฐาน
11. การใช้โปรแกรมบันทึกเสียง CoolEdit ขั้นพื้นฐาน
12. การใช้โปรแกรมนำเสนอ Microsoft PowerPiont ขั้นพื้นฐาน
13. การสร้างสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับเด็กปฐมวัย
14. การสร้างสื่อมัลติมีเดียสำหรับเด็กปฐมวัย
15. การนำเสนอผลงานการสร้างโปรแกรมมัลติมีเดียสำหรับเด็กปฐมวัย

การเรียนและการสอน ประกอบด้วย

1. การบรรยายในชั่วโมงเรียนโดยใช้สื่อต่างๆ เพื่อให้มีความรู้พื้นฐานที่สามารถค้นคว้าต่อได้
2. ให้นักศึกษาจัดทำแฟ้มบันทึกการเรียนรู้และการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมนอกห้องเรียน หลังการเรียนในแต่ละหัวข้อวิชา โดยอาจารย์ผู้สอนจะติดตามอ่านแฟ้มบันทึกการเรียนรู้ เพื่อติดตามและทราบพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา
3. ให้นักศึกษาและทำความเข้าใจเนื้อหาวิชาด้วยการทดลองปฏิบัติการในห้องคอมพิวเตอร์
4. ให้นักศึกษาค้นคว้านอกห้องเรียน จากตำรา เอกสารประกอบการสอน และ web sites ต่างๆ





อุปกรณ์สื่อการสอน ได้แก่

1. เครื่อง LCD projector และ คอมพิวเตอร์
2. ตำรา และ เอกสารประกอบการสอน
3. web sites : http://tcu.npru.ac.th/ และ http://pathomwai.pantown.com/

การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประกอบด้วย

1. บันทึกการเรียนรู้และการศึกษาค้นคว้านอกห้องเรียน 10 %
2. การปฏิบัติงานระหว่างภาคเรียน 60 %
3. สอบปลายภาค 30 %

ระยะเวลาการศึกษา

สัปดาห์ที่ 1
- แนวคิด ทฤษฎี หลักการ และความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- การเลือก การจัดโปรแกรม การวัดและการประเมินผลการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ

สัปดาห์ที่ 2
- บทบาทของครูและผู้ปกครองในการจัดกิจกรรม เพื่อการส่งเสริมประสบการณ์และการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
- การจัดสภาพแวดล้อมที่เป็นมัลติมีเดียสำหรับการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

สัปดาห์ที่ 3
- เทคนิคการสอนคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย และการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัย
- การใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานกับระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (Microsoft Windows)

สัปดาห์ที่ 4
- ระบบคอมพิวเตอร์และมัลติมีเดียสำหรับเด็กปฐมวัย
- การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย

สัปดาห์ที่ 5
- การใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Microsoft Office ขั้นพื้นฐาน

สัปดาห์ที่ 6
- การใช้โปรแกรมกราฟิก Adobe Photoshop ขั้นพื้นฐาน (1)

สัปดาห์ที่ 7
- การใช้โปรแกรมกราฟิก Adobe Photoshop (2)
- ปฏิบัติการสร้างสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับเด็กปฐมวัย

สัปดาห์ที่ 8
- การสร้างสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับเด็กปฐมวัย (1)
- ปฏิบัติการสร้างสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับเด็กปฐมวัย

สัปดาห์ที่ 9
- การสร้างสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับเด็กปฐมวัย (2)
- ปฏิบัติการสร้างสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับเด็กปฐมวัย

สัปดาห์ที่ 10
- การใช้โปรแกรมบันทึกเสียง CoolEdit ขั้นพื้นฐาน
- ปฏิบัติการบันทึกเสียงด้วยคอมพิวเตอร์

สัปดาห์ที่ 11
- การสร้างสื่อมัลติมีเดียสำหรับเด็กปฐมวัย
- การใช้โปรแกรมนำเสนอ Microsoft PowerPiont ขั้นพื้นฐาน (1)

สัปดาห์ที่ 12
- การใช้โปรแกรมนำเสนอ Microsoft PowerPiont ขั้นพื้นฐาน (2)
- ปฏิบัติการสร้างสื่อมัลติมีเดียสำหรับเด็กปฐมวัย

สัปดาห์ที่ 13
- สอบปฏิบัติรอบแรก
- หลักการสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับเด็กปฐมวัย

สัปดาห์ที่ 14
- สอบปฏิบัติรอบสอง
- หลักการสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับเด็กปฐมวัย

สัปดาห์ที่ 15
- การนำเสนอผลงานการสร้างโปรแกรมมัลติมีเดียสำหรับเด็ก
- ส่งงานนำเสนอกลุ่มและส่งข้อสอบข้อเขียน

หมายเหตุ
- ไม่เกินสัปดาห์ที่ 16 ส่งงานนำเสนอเดี่ยวขึ้นเว็บส่วนตัว

วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เพลงม้าลาย

กิจกรรมสร้างสรรค์หรือกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย

กิจกรรมสร้างสรรค์หรือกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย

กิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย มีจุดมุ่งหมายเพื่อ

- ให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ผ่อนคลายความเครียด
- ส่งเสริมพัฒนาการทางภาษา
- ส่งเสริมและพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อมือ
- ส่งเสริมและพัฒนาประสาทสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
- ฝึกทักษะการสังเกต การคิด และการแก้ปัญหา
- ส่งเสริมการทำงาน และการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- ส่งเสริมคุณธรรม เช่น  ความรรับผิดชอบ ความมีวินัยในตนเอง การรอคอย

ศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย

ศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย

การจัดกิจกรรมศิลปะให้กับเด็กปฐมวัยในแต่ละวัน นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับเด็กปฐมวัย นอกจากจะได้พัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเล็กและการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับสายตาแล้ว กิจกรรมศิลปะยังสอดคล้องกับแบบแผนการเรียนรู้ของสมอง หรือที่เรียกว่า Brain Base Learning (BBL) อีกด้วย เด็กจะได้ฝึกปฏิบัติจริง มีประสบการณ์ตรง เรียนรู้ผ่านการสังเกตและฝึกกิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อพัฒนาจุดเชื่อมต่อของใยประสาท ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ผ่อนคลาย มีอิสระทางความคิด กิจกรรมศิลปะ เป็นกิจกรรมที่สามารถพัฒนากล้ามเนื้อเล็กได้เป็นอย่างดี และยังเชื่อมโยงพัฒนาการของอวัยวะหลายส่วน ทำให้เกิดจุดเชื่อมต่อของใยประสาทที่สามารถพัฒนาไปสู่แบบแผนการเรียนรู้ของสมอง ในการจัดกิจกรรมศิลปะหรือกิจกรรมสร้างสรรค์ ครูควรจัดกิจกรรมให้เด็กมีประสบการณ์ตรงและฝึกปฏิบัติอย่างหลากหลาย หากย้อนอดีต สะท้อนประสบการณ์เดิมด้านการเรียนการสอนศิลปะ คุณครูจะให้นักเรียนวาดภาพทิวทัศน์ในกระดาษวาดเขียน แนวคิดเดิม ๆ คือ ภาพทิวทัศน์จะมีดวงอาทิตย์อยู่ตรงกลางระหว่างภูเขา มีก้อนเมฆ มีต้นมะพร้าวหรือต้นไม้อื่น มีน้ำทะเล มีเรือใบ มีนกบิน ฯลฯ แต่ยุคปัจจุบันการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย จะต้องจัดกิจกรรมให้เด็กอย่างหลากหลายรูปแบบนะครับ เช่น - กิจกรรมวาดภาพระบายสี - กิจกรรมเล่นกับสีน้ำ เช่น เป่าสี หยดสี พับสี ระบายสีด้วยนิ้วมือ ฝ่ามือ - กิจกรรมการพิมพ์ภาพด้วยส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและวัสดุต่าง ๆ - กิจกรรมการปั้น ขยำดินเหนียว ดินน้ำมัน แป้งโด กระดาษ ฯลฯ - กิจกรรมการพับ ฉีก ตัด ปะ - กิจกรรมการร้อย สาน และการออกแบบ - กิจกรรมการฝนสีด้วยกระดาษทราย ฯ ล ฯ ในการจัดกิจกรรมดังกล่าว ครูสามารถส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ที่เพิ่มจุดเชื่อมต่อของใยประสาท โดยส่งเสริมให้เด็กสังเกตรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ พัฒนาการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับสายตา การพัฒนาระบบกายสัมผัสโดยให้เด็กมีโอกาสสัมผัสรับรู้วัสดุที่มีผิวสัมผัสต่างกันในระหว่างทำกิจกรรมสร้างสรรค์ เช่น ผ้ากระสอบ ผ้าสักหลาด กำมะหยี่ กระดาษทราย กระดาษที่มีผิวสัมผัสต่างกัน ฯลฯ ระหว่างทำกิจกรรมศิลปะ ครูต้องจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เช่น แสงสว่างพอเหมาะ มีเสียงดนตรีเบา ๆ บรรยากาศผ่อนคลาย ทำให้เกิดการเชื่อมโยงสมองส่วนประสาทสัมผัสกับสมองส่วนที่คุมกล้ามเนื้อพร้อม ๆ กัน การเชื่อมโยงสมองซีกซ้ายเข้ากับซีกขวาที่เป็นด้านจินตนาการ ดังนั้น งานศิลปะจึงไม่ควรเป็นการลอกเลียนแบบหรือต้องทำให้เหมือนจริง รวมทั้งไม่เน้นความถูกต้องของสัดส่วน แต่ส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ สังคม และความคิดสร้างสรรค์ ทำให้เด็กสนุกสนาน ซึมซับความงามของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว มีความมั่นใจ ภาคภูมิใจในผลงานของตน ควบคู่กับความสามารถถ่ายทอดการรับรู้ภายในด้านมิติ รูปทรง ขนาด ระยะ ฯลฯ ตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์เด็ก

วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เรื่องของลูกๆ บทความการดูแลเด็ก



          การเติบโตไม่สมวัย คือ การที่เด็กไม่สามารถทำในสิ่งที่ควรจะทำได้เมื่อเทียบกับเด็กในช่วงอายุเดียวกัน   คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ว่าการเติบโตตามปกติในช่วงขอบปีแรก ลูกสามารถทำอะไรได้บ้าง เช่น
   อายุ 1 เดือน เด็กเริ่มยิ้ม
   อายุ 3 เดือน หันตามเสียงเรียก คว่ำได้
   อายุ 5 เดือน เริ่มนั่งได้
   อายุ 6 เดือน เริ่มคลาน
   อายุ 7 เดือน เกาะยืน
  อายุ 9 เดือน และเริ่มเดินได้เมื่ออายุ 1 ปี
             โดยใช้วิธีการสังเกตลูก และสอบถามผู้ที่มีลูก หรือดูจากบันทึกในสมุดสุขภาพของเด็กก็ได้
เมื่อทราบและสังเกตพบว่า ลูกมีการเติบโตช้ากว่าเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นประมาณ 2 – 3 เดือน เช่น อายุ 9 เดือน แล้วเด็กยังนั่งไม่ได้ หรือ อายุ 1 ปี แล้วยังไม่เริ่มเกาะยืน เป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าลูกควรจะต้องได้รับการช่วยเหลือสิ่งแรกที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องทำก็คือ
 - ประการแรก พาลูกไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อประเมินพัฒนาการของลูก
-  ประการที่สอง พาลูกไปรับการส่งเสริมพัฒนาการตามโรงพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชน รวมทั้งศูนย์บริการสาธารณสุขต่าง ๆ
          การดูแลเอาใจใส่ลูกอย่างใกล้ชิด จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นการเจริญเติบโตของลูกและทำให้ทราบถึงความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ เมื่อพบแล้วคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรพาลูกไปพบแพทย์ และกระตุ้นพัฒนาการที่เด็กทำได้ช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน จะช่วยให้ลูกเจริญเติบโตได้สมวัยต่อไป

หลักการสอนแบบวอลดอร์ฟ

หลักสูตรการสอนแบบวอลดอร์ฟ
waldorf

การศึกษาในโรงเรียนวอลดอร์ฟ มิใช่เป็นเรื่องของระบบวิธีการสอน หากแต่เป็นเรื่องของศิลปะ ศิลปะแห่งการปลุกสิ่งที่ดำรงอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคนให้ตื่นขึ้นมา ฉะนั้น โรงเรียนวอลดอร์ฟมิได้มุ่งหมายจะให้การอบรมสั่งสอน หากแต่มุ่งหมายจะปลุก โดยแรกสุดจะต้องปลุกครูขึ้นเสียก่อน จากนั้นครูจะต้องปลุกนักเรียนและอนุชนทั้งหลายอีกต่อหนึ่ง

ข้างต้นคือคำกล่าวของ รูดอล์ฟ สไตเนอร์ นักปรัชญาและนักการศึกษาชาวออสเตรีย ผู้ให้กำเนิดปรัชญาการศึกษาวอลดอร์ฟ และก่อตั้งโรงเรียนวอลดอร์ฟแห่งแรกขึ้นที่ประเทศเยอรมนี โดยมุ่งหมายให้เด็กได้รับการพัฒนาอย่างสมดุลครบถ้วนทั้งร่างกาย จิตใจ และปัญญา เพื่อเติบโตขึ้นมาเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ซึ่งต่อมาได้กลายต้นแบบของเครือข่ายโรงเรียนวอลดอร์ฟจำนวนนับพันแห่งใน 50 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทยคือ ศูนย์การเรียนปัญโญทัย ของ นพ.พร พันธุ์โอสถ

บ่มเพาะความเป็นมนุษย์ ปลุกศักยภาพในตัวเด็ก
โรงเรียนวอลดอร์ฟแห่งแรกถือกำเนิดขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นช่วงที่ชาวเยอรมันรู้สึกเจ็บปวดกับสงครามที่เพิ่งผ่านไป นักคิดและปัญญาชนจำนวนไม่น้อยต่างมุ่งแสวงหาแนวทางที่จะเปลี่ยนแปลงสังคม ขจัดความโหดร้ายทารุณต่อมนุษยชาติให้หมดสิ้นไป หนึ่งในนั้นคือนักอุตสาหกรรมหัวก้าวหน้านาม เอมิล มอลต์ เจ้าของโรงงานยาสูบวอลดอร์ฟ แอสโทเรีย ในเมืองสตุทการ์ด ในเดือนเมษายน ปี ค.ศ.1919 เอมิลได้เชิญ รูดอล์ฟ สไตเนอร์ นักปรัชญาที่มีชื่อเสียงขณะนั้นมาบรรยายให้คนงานที่โรงงานยาสูบฟัง ปราฏว่าเอมิลรู้สึกประทับใจในสิ่งที่สไตเนอร์พูดเกี่ยวกับการสร้างสังคมใหม่ จึงร้องขอให้สไตเนอร์ช่วยเปิดโรงเรียนขึ้นตามปรัชญาของเขา เพื่อเป็นสถานศึกษาสำหรับลูกหลานคนงานในโรงงาน

สไตนอร์ตอบกลับเอมิลไปว่า เขายินดีจะเปิดโรงเรียนตามคำร้องขอ ถ้าเอมิลยอมรับเงื่อนไข 4 ข้อของเขาได้ นั่นคือ 1.เป็นโรงเรียนที่เปิดกว้างสำหรับเด็กทุกคน 2.เป็นโรงเรียนสหที่เปิดรับเด็กชายหญิงเรียนร่วมกัน 3.เป็นโรงเรียนที่จัดการศึกษาต่อเนื่อง 12 ปี และ 4.ครูและบุคลากรของโรงเรียนต้องอยู่ภายใต้ความดูแลของโรงเรียน จะต้องไม่มีการแทรกแซงจากรัฐหรือแม้แต่นายทุนผู้ให้การสนับสนุนโรงเรียน (เอมิลนั่นเอง) ผลปรากฏว่าเอมิลยอมรับเงื่อนไขดังกล่าว โรงเรียนวอลดอร์ฟแห่งแรกจึงเกิดขึ้น และเปิดประตูรับเด็กนักเรียนในวันที่ 7 กันยายน ค.ศ.1919

โรงเรียนวอลดอร์ฟดำเนินการตามแนวปรัชญาของสไตเนอร์ที่ว่า การศึกษาไม่ใช่เรื่องของการสอนหนังสือหรือการให้ข้อมูลความรู้แก่เด็ก แต่คือการบ่มเพาะความเป็นมนุษย์และปลุกความสามารถที่ซ่อนเร้นอยู่ในตัวเด็กให้ปรากฏออกมา เพื่อช่วยให้เด็กบรรลุศักยภาพสูงสุดในตัวเอง เติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่สร้างสรรค์ มีอิสระทางปัญญา รู้จักตนเอง รู้จักโลก และสามารถกำหนดแนวทางชีวิตของตนได้อย่างอิสระตามศักยภาพที่มี ซึ่งมนุษย์จะบรรลุศักยภาพสูงสุดของตนได้นั้น ต้องสัมผัสหรือค้นพบส่วนต่างๆ ในตนเองก่อน ดังนั้น การศึกษาวอลดอร์ฟจึงเน้นศึกษาเรื่องมนุษย์และความเชื่อมโยงของมนุษย์กับโลกและจักรวาล เพื่อให้มนุษย์รู้จักจุดยืนที่สมดุลของตนในโลก

สอนตามพัฒนาการ
สไตเนอร์แบ่งพัฒนาการของมนุษย์ช่วงวัยศึกษาเรียนรู้ในระบบการศึกษาคือ ตั้งแต่แรกเกิดถึง 21 ปี ออกเป็น 3 ช่วง ช่วงละ 7 ปี ดังนี้

แรกเกิด-7 ปี : เรียนรู้ด้วยการกระทำ ดังนั้น การสอนต้องเน้นให้เด็กมุ่งมั่นตั้งใจกับการกระทำความดี

7-14 ปี : เรียนรู้จากความประทับใจ ดังนั้น การสอนต้องเน้นให้เด็กรู้สึกถึงความงาม

14-21 ปี : เรียนรู้จากการคิด ดังนั้น การสอนต้องเน้นให้เด็กคิด จนเกิดปัญญา เห็นสัจธรรมและความจริงในโลก

แม้ว่าพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยจะแตกต่างกัน แต่การจัดการศึกษาในทุกช่วงวัยตามปรัชญาวอลดอร์ฟจะมีจุดร่วมที่เหมือนกันคือ ต้องพัฒนาร่างกายและจิตวิญญาณควบคู่กันไป โดยให้เกิดความสมดุลในการเรียนรู้ด้วยกาย (การลงมือทำ) หัวใจ (ความรู้สึก ความประทับใจ) และสมอง (ความคิด)

เด็กทุกคนมี 'เวลา' ของตัวเอง

สไตเนอร์เชื่อว่ากระบวนการเรียนรู้ในวัยเด็กนั้นแตกต่างจากผู้ใหญ่ เพราะเด็กมีทัศนะและวิธีการมองโลกที่ต่างออกไป หากครูหรือนักการศึกษาละเลยความสำคัญของสิ่งนี้ แล้วแทนที่ด้วยการใช้ทัศนะแบบผู้ใหญ่ อันเป็นทัศนะที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ทางเชาว์ปัญญา จะส่งผลเสียต่อความสามารถในการพัฒนาตนเองขึ้นมาเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้

ด้วยแนวคิดดังกล่าว ทำให้เด็กนักเรียนในโรงเรียนวอลดอร์ฟอ่านหนังสือออกช้ากว่าเด็กวัยเดียวกันในโรงเรียนอื่นๆ นั่นเพราะโรงเรียนวอลดอร์ฟจะไม่เร่งรัดให้เด็กอ่าน เพราะเชื่อว่าเด็กแต่ละคนมีช่วงเวลาที่เหมาะสมของตนเอง ถ้าเด็กได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี เอื้อต่อการเรียนรู้ มองเห็นหนังสืออยู่รายรอบตัว และมีประสบการณ์ที่ครูหรือผู้ปกครองอ่านหนังสือนิทานให้ฟังเป็นประจำ เมื่อถึงเวลาที่กำหนดอยู่ภายใน เด็กจะหยิบหนังสือขึ้นมาอ่านเอง ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้เด็กพัฒนาการอ่านได้ดี และมีนิสัยรักการอ่าน

ทั้งนี้ พบว่าเด็กที่อ่านออกได้ช้ากว่าเพื่อนๆ แล้วรู้สึกวิตกกังวลหรือเกิดปมด้อยนั้น ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากความคาดหวังของพ่อแม่ผู้ปกครองที่ต้องการให้ลูกของตนอ่านหนังสือออกเร็วๆ เมื่อเห็นว่าลูกยังอ่านไม่ได้ ขณะที่เด็กวัยเดียวกันคนอื่นๆ เช่น ลูกของเพื่อนบ้าน ลูกของญาติพี่น้อง หรือเพื่อนร่วมชั้นของลูก อ่านกันได้แล้ว พ่อแม่จะเริ่มวิตกกังวล หวั่นเกรงว่าลูกจะผิดปกติ และความหวั่นวิตกของพ่อแม่นี่เองที่จะถ่ายทอดไปสู่ลูก ฉะนั้น เป็นเรื่องสำคัญที่พ่อแม่จะต้องเข้าใจ ยอมรับ และรอเวลาที่เด็กพร้อมจะอ่าน
สุนทรียะ ศิลปะ และจินตนาการ
วอลดอร์ฟให้ความสำคัญกับสุนทรียภาพ ศิลปะ และจินตนาการ โดยมองว่าสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเรียนรู้ พัฒนาการ และความเจริญงอกงามในจิตใจของเด็ก การจัดสภาพแวดล้อมและอาคารสถานที่ในโรงเรียนจึงมุ่งเน้นความเป็นธรรมชาติ รายล้อมด้วยต้นไม้ ดอกไม้ ผืนหญ้า และสายน้ำ มีแสงจากธรรมชาติสอดส่องเข้ามาในห้องหรืออาคารเรียนอย่างพอเหมาะ ไม่จ้าหรือมืดทึมจนเกินไป เพราะแสงจ้ามากๆ ทำให้เกิดความร้อนและเด็กจะขาดสมาธิ ครูอาจใช้ผ้าม่านมาช่วยกรองแสงให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะ บรรยากาศเงียบสงบ ไม่มีเสียงดังรบกวน อาจมีเพียงเสียงแผ่วๆ จากธรรมชาติ เช่น เสียงนกร้อง ลมพัด ฝนตก หรือเสียงดนตรีและเพลงที่ไพเราะอ่อนโยน สไตเนอร์เชื่อว่าสภาพแวดล้อมเช่นนี้จะเอื้อต่อการเรียนรู้ ช่วยให้เด็กรู้สึกสงบ มีสมาธิ และเรียนรู้ได้ดีทั้งโลกภายนอกและโลกที่อยู่ภายในตนเอง

จุดเน้นสำคัญประการหนึ่งของการศึกษาวอลดอร์ฟคือ การกระตุ้นให้เด็กเกิดการพัฒนาด้วยจินตนาการของตนเอง ถ้าครูจะเล่าเทพนิยายให้เด็กปฐมวัย ครูจะเล่าปากเปล่า เพราะภาษาพูดของครูจะกระตุ้นให้เด็กสร้างจินตนาการภายในใจของแต่ละคน บางครั้งครูอาจเล่นนิ้วมือหรือหุ่นง่ายๆ ประกอบการเล่า แต่จะไม่ใช้สื่อมากเกินไป เพราะจะไปจำกัดจินตนาการของเด็ก รวมทั้งไม่ควรเปิดเทปนิทานแทนการเล่าปากเปล่า เพราะภาษาจากสื่อวิทยุเป็นภาษาที่ไม่มีชีวิต และไม่สามารถส่งพลังสั่นสะเทือน เข้าไปกระตุ้นการตอบสนองที่ละเอียดอ่อนภายในของเด็กได้ดีเท่าภาษาพูดจากครูที่อยู่ตรงหน้า

ด้วยเหตุนี้โรงเรียนวอลดอร์ฟจึงไม่สนับสนุนการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัยและประถมศึกษา เพราะเชื่อว่าสื่อเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ วิดีโอ และวิทยุ จะไปปิดกั้นจินตนาการของเด็ก ยังไม่นับรวมว่าบางรายการในสื่อเหล่านี้อาจมีเนื้อหาไม่เหมาะสมกับเด็กอีกด้วย

อีกเอกลักษณ์หนึ่งของโรงเรียนวอลดอร์ฟคือ "ยูริธมี (Eurythmy)" ศิลปะการเคลื่อนไหวร่างกายที่สไตเนอร์พัฒนาขึ้น เป็นการเคลื่อนไหวร่างกายร่วมกับดนตรีและการพูด ยูริธมีจึงมีอีกชื่อว่า "เสียงพูดหรือดนตรีที่มองเห็นได้" สไตเนอร์ชี้ว่าการฝึกยูริธมีจะช่วยจัดระเบียบและความกลมกลืนทั้งกายและจิตระดับต่างๆ ตัวอย่างเช่น ยูริธมีสำหรับเด็กปฐมวัยมักเป็นคำกลอนที่ผูกเป็นนิทานหรือเรื่องเล่าสั้นๆ ที่ให้เด็กทำท่าประกอบ ท่าทางที่ออกแบบมานั้นจะมีความสมดุลเปรียบเสมือนกับมีท่าที่เป็นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก การเรียนยูริธมีจะทำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยมีครูพิเศษที่ผ่านการฝึกหัดมาโดยเฉพาะเป็นผู้สอน

นอกจากนี้ยังมีการเรียนการสอนอื่นๆ อีกมากที่เป็นศิลปะ สร้างสุนทรียะและจินตนาการ เช่น การทำงานฝีมือ ที่ฝึกความอุตสาหะ สมาธิ ความละเอียดปราณีต และความคิดสร้างสรรค์ หรือการทำสวน ที่ช่วยให้เด็กได้สัมพันธ์กับพื้นโลก เรียนรู้คุณค่าและความยิ่งใหญ่ของแผ่นดิน เป็นต้น

โรงเรียนวอลดอร์ฟก่อเกิดทฤษฎีการศึกษาที่น่าสนใจหลายประการ ที่เครือข่ายโรงเรียนวอลดอร์ฟทั่วโลกนำไปเป็นแนวทางในการจัดการศึกษาที่โรงเรียนของตน แต่สำหรับสไตเนอร์แล้ว หัวใจสำคัญของการจัดการศึกษาวอลดอร์ฟนั้นคือ การที่ครูมีความรักต่อเด็กด้วยใจจริง และศรัทธาในพลังที่ซ่อนอยู่ในตัวเด็ก อันจะเป็นกุญแจไขนำไปสู่ขุมพลังในตัวเด็ก ก่อนจะกระตุ้นให้เด็กแสดงพลังนั้นออกมาและพัฒนาอย่างสูงสุดต่อไป

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สื่อการเรียนการสอนที่พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน

สื่อการรียนการสอนที่พัฒนาการทั้ง  4 ด้าน

เด็กปฐมวัยต้องมีพัฒนาการที่สมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย  อารมณ์  สังคม  และ  สติปัญญา
ดังนั้นเพื่อให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถพัฒนาเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้ครบทั้ง 4  ด้าน


สื่อการเรียนการสอน  ด้านร่างกาย  ควรประกอบด้วย
1. ค้อนตอกหมุด  หรือด้านอื่นๆ
2. รูปทรงต่างระดับ
3. สี่เหลี่ยม/สามเหลี่ยมต่างระดับ
4. กล่องรูปทรงเรขาคณิต
5. กล่องรูปทรงปริศนา
6. อุปกรณ์ฝึกลากเส้น
7. รางฝึกความสัมพันธ์กล้ามเนื้อมือกับตา  หรือกล้ามเนื้ออื่นๆ
8. โต๊ะเตรียมความพร้อม (โต๊ะกิจกรรมกลุ่ม )
9. อุปกรณ์ร้อยวัสดุ ( ขนาดไม่น้อยกว่า 1 นิ้วขึ้นไป )
10. กรรไกรปลายงอน  ขนาด 4 นิ้วขึ้นไป , กระดาษ
11. ไม้หนีบผ้า ( ไม้หรือพลาสติก )
12. ภาพต่อมีจุก
13. ฟองน้ำ
14. อุปกรณ์ทำความสะอาด
15. กะละมัง , แปรงซักผ้า
16. ลูกบอลขนาดเล็ก / ห่วงยาง
17. ตุ๊กตาร้อยเชือก
18. ชุดสร้างจินตนาการด้วยเชือกแบบต่างๆ
19. สื่ออื่นๆ 

สื่อการเรียนการสอน   ด้านอารมณ์  ควรประกอบด้วย   
1. ระนาดประเภทต่างๆ เช่น  ระนาดสีรุ้ง  ระนาดเล็ก ฯลฯ   
2. เครื่องเคาะจังหวะ / กรับมือ   
3. กลอง   
4. ชุดบูรณาการด้านดนตรี/ เทปหรือซีดีเพรงสำหรับเด็ก   
5. กระดานสำหรับวาดภาพ   
6. ชั้นวางอุปกรณ์ศิลปะ   
7. สีชนิดต่างๆ เช่น สีเทียน  สีน้ำ  สีผสมอาหาร   
8. แป้งโดว์ / ไม้นวดแป้ง / พิมพ์กดแป้ง   
9. ผ้าเช็ดมือ / ผ้ากันเปื้อน / แผ่นรองกันเลอะ   
10. สื่ออื่นๆ

สื่อการเรียนการสอน  ด้านสังคม  ควรประกอบด้วย       
1. บ่อทรายหรือกระบะทราย       
2. เครื่องเล่นทราย       
3. อุปกรณ์สำหรับเล่นน้ำ       
4. ชุดเครื่องครัว       
5. เตาแก๊ส       
6. เครื่องซักผ้า           
7. ตู้เย็น       
8. จานชามช้อน / ภาชนะใส่อาหาร       
9. บ้านตุ๊กตา     
10.โทรศัพท์ / เตารีด /ที่รองรีด     
11.ผัก ผลไม้จำลอง อาหารชนิดต่างๆ ขนมจำลองต่างๆ     
12.เครื่องชั่ง   
13.ชุดเครื่องแต่งกายบุคคลอาชีพต่างๆ เช่น  ทหาร  ตำรวจ  แพทย์  พยาบาล  ครู  วิศวกร   
14.ชุดเครื่องมือเครื่องใช้ในอาชีพต่าง ๆ เช่น  ช่างยนต์  ช่างไม้  แพทย์  ฯลฯ       
15.เครื่องหมายจราจร       
16.ยานพาหนะจำลอง  รถต่าง ๆ เครื่องบิน เรือ ฯลฯ       
17.สื่ออื่น ๆ       

สื่อการเรียนการสอน   ด้านสติปัญญา   ควรประกอบด้วย
1. บล็อกไม้ชนิดและรูปร่างต่าง ๆ
2. ชิ้นส่วนปูพื้นสถาปัตยกรรม
3. บล็อกมหัสจรรย์
4. ตัวต่อสร้างสรรค์
5. ชุดจิ๊กซอร์ต่าง ๆ
6. ชุดจับคู่ที่เหมาะสม
7. ชิ้นส่วนสร้างภาพ
8. ถุงลึกลับ
9. ขวดสำรวจรส / สำรวจกลิ่น             
10.ถาดแยกพวก             
11.แท่งรูปทรงต่าง ๆ             
12.บันไดสี             
13.กล่องเสีองต่าง ๆ             
14.แผ่นไม้ประมาณน้ำหนัก             
15.จับคู่ตัวเลข / อ่านตัวแรก             
16.ลูกปักหลักเลขต่าง ๆ             
17.กระดานหลักเลขต่าง ๆ / บวก – ลบเลขอย่างง่าย             
18.เกมจุด / ลูกคิด / กระปุกเรียงเลข             
19.เศษส่วนหลากสี / โดมิโนจำนวน             
20.ตัวอักษรเคลื่อนที่  บัตรอักษร             
21.รถบรรทุก  รถไฟ  อักษรต่าง ๆ             
22.สื่ออื่น

นิทานอีสป ตอน อึ่งอ่างขี้โอ่

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัย

 การเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัย           
 
           นิทานคือ โลกของภาษา ภาพและหนังสือที่ปรากฏบนหนังสือนิทาน คือโลกของภาษา การอ่านหนังสือให้ลูกฟังจึงมีความสำคัญมาก ต่อการพัฒนาของเด็ก เปรียบเหมือนอาหารมื้อหนึ่งของวัน เพราะเป็นอาหารสมองและอาหารใจของลูก พ่อแม่ทุกคนอยากให้เด็กรักการอ่านหนังสือ และเรียนเก่ง การทำให้เด็กรักการอ่านหนังสือไม่ยากเพราะเด็ก มีความอยากรู้อยากเห็น ชอบสนุกสนาน ถ้าได้หนังสือที่ชอบและยากอ่าน
         นิทานสำหรับเด็กปฐมวัยควรเป็นหนังสือภาพสำหรับเด็ก ซึ่งหมายถึงหนังสือที่พ่อแม่อ่านให้เด็กฟัง ไม่ใช่หนังสือสำหรับเด็กอ่าน การเล่านิทานให้ลูกฟังด้วยเสียงตนเอง ใช้ภาษาที่ดี เวลาเล่า ความรู้สึกของผู้เล่าจะผ่านไปสู่ตัวลูกด้วย ถ้าผู้เล่านิทานรู้สึกตื่นเต้น ลูกก็จะรู้สึกตื่นเต้นไปด้วย ความรู้สึกร่วมกันระหว่างพ่อแม่และเด็กระหว่างการเล่านิทาน จึงเปรียบเสมือนสายใยผูกพันระหว่างพ่อแม่ลูก การเล่านิทานแม้เพียง 5 - 10 นาทีต่อเล่ม แต่ผลที่มีต่อลูกและความสุขในครอบครัวนั้นมหาศาล ลูกจะได้รับการพัฒนาทักษะการฟังและการพูด สร้างจินตนาการแก่เด็ก ฝึกสมาธิให้เด็กรู้จักสำรวจให้จดจ่ออยู่กับเรื่องที่ฟัง ซึ่งเป็นพื้นฐานการเตรียมความพร้อม ด้านการอ่านหนังสือ และปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้แก่เด็กไปพร้อมกัน

         นิทานสำหรับเด็กปฐมวัย       ความเหมาะสมของนิทานสำหรับเด็กปฐมวัยจำเป็นต้องคำนึงถึงความสนใจ การรับรู้และความสามารถตามวัยของเด็ก เป็นสำคัญ จึงยังเกิดประโยชน์ที่แท้จริงต่อการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะเริ่มรับรู้นิทาน จากภาพที่มองเห็นและเสียงที่ได้ยิน โดยรู้ความหมายไปทีละเล็กทีละน้อย จนสามารถเชื่อมโยงภาพ และคำบอกเล่าที่ได้ยิน ตลอดจนจดจำเนื้อหาและเรื่องราวต่างๆ ที่นำไปสู่การอ่านตัวหนังสือได้อย่างมีความหมายต่อไป

  
 เด็กอายุ 0 - 1 ป
               นิทานที่เหมาะสมในวัยนี้ ควรเป็นหนังสือภาพที่เป็นภาพเหมือนรูปสัตว์ ผัก ผลไม้ สิ่งของในชีวิตประจำวัน และเขียนเหมือนภาพของจริง มีสีสวยงาม ขนาดใหญ่ชัดเจน เป็นภาพเดี่ยวๆที่มีชีวิตชีวา ไม่ควรมีภาพหลัง หรือส่วนประกอบภาพที่รกรุงรัง รูปเล่มอาจทำด้วยผ้าหรือพลาสติก หนานุ่มให้เด็กหยิบเล่นได้
                เวลาเด็กดูหนังสือภาพ พ่อแม่ควรชี้ชวนให้ดูด้วยความรัก เด็กจะตอบสนองความรักของพ่อแม่ด้วยการแสดงความพอใจ ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและหนังสือภาพจึงส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกด้วย
               


เด็กอายุ 2 - 3 ปี
              เด็กแต่ละคนจะเริ่มชอบต่างกัน แล้วแต่สภาพแวดล้อมที่ถูกเลี้ยงดู การเลือกหนังสือนิทานที่เหมาะกับเด็กวัยนี้ ควรเป็นหนังสือนิทาน หรือหนังสือภาพที่เด็กสนใจ ไม่ควรบังคับให้เด็กดูแต่หนังสือที่พ่อแม่ต้องการให้อ่าน หนังสือที่เหมาะสม ควรเป็นภาพเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน สัตว์ สิ่งของ    เด็กเล็กในช่วงนี้ มีประสาทสัมผัสทางหูดีมาก หากมีประสบการณ์ด้านภาษา และเสียงที่ดีในวัยนี้ เด็กจะสามารถพัฒนาศักยภาพด้านภาษาและดนตรีได้ดี โดยเฉพาะช่วงอายุ 2 - 4 ปี เด็กมีความสนใจเสียงและภาษาที่มีจังหวะ เด็กบางคนจำหนังสือที่ชอบได้ทั้งเล่ม จำได้ทุกหน้า ทุกตัวอักษร เหมือนอ่านหนังสือออก เด็กอายุ 3 ปี มีจินตนาการสร้างสรรค์ อยากรู้อยากเห็น เข้าใจเรื่องเล่าง่ายๆ ชอบเรื่องซ้ำไปซ้ำมา ดังนั้น หากเด็กมีประสบการณ์ที่ดีในช่วงเวลานี้ จะเป็นพื้นฐานในการสร้างนิสัยรักการอ่าน ของเด็กในอนาคต
                                              
  เด็กอายุ 4 - 5 ปี
                เด็กวัยนี้มีจินตนาการสร้างสรรค์ อยากรู้อยากเห็นสิ่งรอบตัวเกี่ยวกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมว่าสิ่งนี้มาจากไหน ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ เริ่มเข้าใจความแตกต่างระหว่างความจริงกับเรื่องสมมุติ นิทานที่เหมาะสมกับเด็กวัยนี้ควรเป็นนิทานที่เป็นเรื่องที่ยาวขึ้น แต่เข้าใจง่าย ส่งเสริมจินตนาการ และอิงความจริงอยู่บ้าง เนื้อเรื่องสนุกสนานน่าติดตาม มีภาพประกอบที่มีสีสรรสดใสสวยงาม มีตัวอักษรบรรยายเนื้อเรื่องไม่มากเกินไป และมีขนาดใหญ่พอสมควรใช้ภาษาง่ายๆ การอ่านนิทานให้เด็กฟัง พร้อมกับชี้ชวนให้เด็กดูภาพ ในหนังสือประกอบ จะเป็นการสร้างจินตนาการ สร้างสรรค์ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของพลังเรียนรู้จากการอ่านหนังสือ
                 หากเด็กพบว่าเด็กชอบหนังสือเล่มใดเป็นพิเศษ ก็จะให้พ่อแม่อ่านซ้ำไปมาทุกวันไม่เบื่อ ดังนั้นพ่อแม่ควรอดทนเพื่อลูก เด็กบางคนจำข้อความในหนังสือได้ทุกคำ แม้ว่าจะมีคำบรรยายยาว ได้ทั้งเล่ม ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากต่อพัฒนาการด้านภาษาของเด็ก