วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การเจริญเติบโตทางด้านร่างกายและพัฒนาการของเด็ก 1 เดือน - 1 ปี

 



อายุ 1 เดือน
- น้ำหนักของเด็กทารกเท่ากับ 3 3.5 กิโลกรัม น้ำหนักจะเพิ่มประมาณ 1/8 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ ใน 6 เดือนแรก
- ความสูง แรกเกิดจะสูงประมาณ 50 เซนติเมตร จะเพิ่มประมาณ 1 นิ้วต่อเดือน ใน 6 เดือนแรก
- ชีพจร จะเต้น 120-150 ครั้งต่อนาที
- การหายใจ ประมาณ 30-60 ครั้งต่อนาที
การเคลื่อนไหว (Motor Control)
                - คอยังไม่แข็ง ต้องช่วยพยุงขณะอุ้ม เมื่อจับทารกนอนคว่ำทารกจะพยายามยกศีรษะขึ้นได้เล็กน้อย
                - มองวัตถุที่เคลื่อนไหวได้แต่อยู่ในสายตาเท่านั้น การมองรอบ ๆ ตัวยังไม่มีความหมายเพราะการพัฒนายังไม่ดีพอ
การออกเสียงและด้านร่างกาย (Vocalization And Socialization)
            - ออกเสียได้บ้างแต่อยู่ในลำคอ การยิ้มยังไม่มีความหมาย จะร้องให้เมื่อรู้สึกหิว หรือผ้าอ้อมเปียกชื้น ทารกจะนอนเสียเป็นส่วนใหญ่
                - ถ้าจับนอนคว่ำจะใช้เท้าถีบที่นอน
                - เมื่อจับทารกยืนจะแสดง คานซ์ รีเฟลกซ์
                -จะแสดง โทนิค เนค รีเฟลกซ์ ได้ดี
อายุ 2 เดือน
                -น้ำหนัก 4.8 5.1 กิโลกรัม
                -ความสูง 58 เซนติเมตร
                -กระหม่อมหลังปิด
การเคลื่อนไหว (Motor Control)
                -จับนอนคว่ำจะยกศีรษะขึ้น
                -โทนิค เนค และ มอโร รีเฟลกซ์ จะหายไป
                -สามารถพลิกตะแคงตัวได้
                -ถือของเล่นได้ไม่นานนัก
                -มองตามแสงหรือวัตถุ
การออกเสียงและด้านสังคม
                -ยิ้มอย่างมีความหมาย และจะยิ้มตอบเมื่อมารดายิ้มให้ก่อน
-สามารถเรียนรู้การเรียกร้องความสนใจจากมารดา เช่น เมื่อร้องไห้จะมีผู้มาหาและสนองตอบความต้องการของเขา เสียงของร้องไห้จะแตกต่างไปตามเหตุผล และจะร้องไห้เมื่อหิวง่วงนอน เจ็บปวด
                -เมื่อมีผู้คุยด้วยจะสนใจ
อายุ 3 เดือน
                -น้ำหนักตัวประมาร 5.5-6 กิโลกรัม
                -ส่วนสูงประมาณ 59-60 เซนติเมตร
การเคลื่อนไหว (Motor Control)
                - จะมีการเคลื่อนไหวมากขึ้น มีการเอื้อมมือไปหาวัตถุใกล้ ๆ แต่นิ้วมือยังไม่ทำงาน นับเป็นการเคลื่อนไหว เริ่มแรกที่แสดงถึงความอยากรู้อยากเห็น ซึ่งจะขึ้นอยู่กับอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมมาก ถ้าอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ได้ช่วยทางด้านการเคลื่อนไหวของทารกแรกเกิดแล้วจะปรากฏว่าลักษณะเอื้อมไปสู่สิ่งของจะไม่ปรากฏเป็นเวลาถึง 5 เดือน ในระยะเวลา 3 เดือนนี้เงที่การปรับตัวของเล็นซ์นัยน์ตาจะมีความสมบูรณ์ที่สุด
                - สามารถชันคอได้ มีคนหยอกล้อด้วยจะยิ้มรับ
                - เล่นมือและนิ้วได้
อายุ 4 เดือน
                - น้ำหนักตัวประมาณ 6.2-6.3 กิโลกรัม
                - ส่วนสูงประมาณ 61-63 เซนติเมตร
                การเคลื่อนไหว
                - จะมีการกลิ้งตัวจากด้านหลังมาด้านหน้า พลิกตะแคงตัวได้คล่อง
                - สามารถชันคอได้ คอแข็ง เมื่อจับนั่ง
                - จับของใส่ปากได้
                การออกเสียงและด้านสังคม
                - หัวเราะเสียงดัง ยิ้มตอบเมื่อมีผู้ยิ้มให้
                - ชอบคุยอ้อแอ้ และมีความสุขเมื่อมีผู้มาคุยด้วย
                - ต้องการความสนใจจากสมาชิกในครอบครัว
                - มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว เช่น คุยและร้องไห้
อายุ 5 เดือน
                - น้ำหนักจะเป็น 2 เท่าของแรกเกิด ประมาณ 6.3 7.0 กิโลกรัม
                - ความสูงประมาณ 63-65 เซนติเมตร

    
การเคลื่อนไหว
                - จับทารกให้นั่งตักได้
                - ถือขวดนมดูดเองได้
                - พลิกคว่ำได้
                - เล่นของเล่นมากขึ้น
                การออกเสียงและด้านสังคม
                - ชอบออกเสียงอ้อ ๆ แอ้ ๆ
                - จะร้องไห้แสดงความไม่พอใจ
                - เมื่อไม่ได้ของตามต้องการจะร้อง และดิ้น
                - จะแยกออกว่าผู้ใดคุ้นเคยหน้าและไม่คุ้นหน้า
อายุ 6 เดือน
                - น้ำหนักตัวประมาณ 7.1 7.2 กิโลกรัม
                - ความสูงประมาณ 65-66 เซนติเมตร
                การเคลื่อนไหว
                - ทารกจะหมุนได้รอบตัว เริ่มคืบและนอนคว่ำได้
                - เอื้อมมือสัมผัสสิ่งของที่อยู่ใกล้ตัวได้
                - ชอบถือและเขย่าของเล่นที่มีเสียงดัง
                การออกเสียงและด้านสังคม
                - จะมีการแสดงออกของอารมณ์รื่นเริง เช่น หัวเราะหรือทำเสียงอ้อ แอ้ จะร้องไห้แสดงความไม่พอใจ
                - เริ่มรู้จักคนแปลกหน้า แต่จะเกิดความกลัวคนแปลกหน้า
                - อยากให้บุคคลที่ตนรู้จักมาอยู่ใกล้ ๆ
อายุ 7 เดือน
                การเคลื่อนไหว
                - สามารถนั่งเองได้ตามลำพังแต่นั่งได้ประเดี๋ยวเดียว
                - ชอบเล่นเท้าและจับเท้าใส่ปาก
                - เอื้อมมือไปจับของเล่นและมือด้วยมือเดียว
- เปลี่ยนมือกันถือของได้
- พลิกคว่ำพลิกหงายตัวได้เอง
  การออกเสียงและด้านสังคม
- ชอบทำเสียง อ้อ ๆ แอ้ ๆ
- เวลาร้องไห้ออกเสียง แม แม แม
อายุ 8 เดือน
                การเคลื่อนไหว
                - นั่งได้เองและนาน
                - คืบได้โดยดันตัวไปข้างหน้าด้วยแขนทั้ง 2 ข้าง
                - ใช้นิ้วได้อย่างเต็มที่ โดยใช้นิ้วมือหยิบวัตถุ
                - หัดป้อนอาหารตนเองได้โดยใช้ช้อน
                การออกเสียงและด้านสังคม
                - อารมณ์เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว
                - แสดงความรักด้วยการโอบกอด
อายุ 9 เดือน
                การเคลื่อนไหว
                - สามารถนั่งได้และมีการประสานงานของกล้ามเนื้อได้ดี
                - ใช้มือถือขวดนมใส่ปากได้ สามารถดึงหัวนมเข้าและออกจากปากได้ตามความต้องการ
                - แสดงความถนัดของมือข้างใดข้างหนึ่ง
                - คลานได้ดีโดยใช้แขนและขาส่วนลำตัวขนานกับพื้นห้อง เด็กบางคนจะคลานไม่ได้ ถ้าเกิดการเจ็บป่วย แต่เด็กบางคนจะคลานได้ตั้งแต่อายุ 4 เดือน แต่เด็กส่วนมากจะคลานได้เมื่อประมาณ อายุ 9 เดือน
                - สามารถใช้มือยึดเก้าอี้และโต๊ะได้
                การออกเสียงและด้านสังคม
                - แสดงการออกเสียงแบบด้วยการพูด จ๊ะ จ๋า และออกเสียงอื่น ๆ
                จะสนองตอบต่อผู้ที่แสดงความไม่พอใจโกรธเมื่อถูกดุจะร้องไห้
อายุ 10 เดือน
                การเคลื่อนไหว
                - นั่งเป็นเวลานาน ไม่ชอบนอน ยกเว้นเมื่อง่วงนอน
                - หัดเดินเมื่อมีคนช่วยจูง สามารถยืนเกาะได้ถ้ามีสิ่งยึด
                - สามารถคลานได้อย่างรวดเร็ว และเกาะเดินตามลูกกรงเตียงได้
                  สามารถเก็บและจับวัตถุมาถือได้ และใช้นิ้วมือแหย่หรือเคาะเล่นได้
                -สามารถหยิบขนมหรืออาหารอื่น ๆ เข้าปากได้
                -สามารถใช้นิ้วและนิ้วหัวแม่มือได้
                การออกเสียงและด้านสังคม
                -พูดได้ 1 คำหรือ 2 คำ ตามคนเลี้ยง
                -สนใจเมื่อมีผู้เรียกชื่อตนเอง
                -เล่นเกมส์ง่าย ๆ ได้ โบกมือไปมาได้
อายุ 11 เดือน
                การเคลื่อนไหว
                -ยืนได้โดยจับมือมารดา หรือหัดยืนด้วยตนเอง
                -สามารถนั่งเล่นตามลำพังได้เป็นเวลานานๆ
อายุ 12 เดือน
                -น้ำหนักจะเป็น 3 เท่าของแรกเกิด ประมาณ 9 กิโลกรัม (21-22 ปอนด์)
                -สูง 29 นิ้ว หรือประมาณ 71-74 เซนติเมตร
                -เส้นรอบศีรษะกับหน้าอกจะเท่ากัน
                -มีฟัน 6 ซี่
                -ชีพจร 100-140 ครั้งต่อนาที
                -การหายใจ 20-40 ครั้งต่อนาที
                การเคลื่อนไหว
                -ยืนได้ตามลำพัง
                -เดินได้เมื่อมีคนจูงเดิน เกาะเก้าอี้เดินได้
                -จับดินสอสีและขีดบนกระดาษได้
                การออกเสียงและด้านสังคม
                -สามารถพูดได้ 2 คำติดต่อกัน เช่น พ่อ พ่อ  แม่ แม่
                -จำชื่อตนเองได้
                -ชอบพูดคุยคนเดียวหรือกับคนที่อยู่ใกล้ตัวเขา
                -เข้าใจคำห้ามต่าง ๆ เช่น อย่า, ไม่
                -สนใจต่อตนเองเท่านั้น
                -แสดงความอิจฉา พอใจโกรธ

การเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กแรกเกิด-1ปี


การเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กแรกเกิด - 1ปี

วัยแรกเกิด (The Newborn)
                หมายถึงทารกที่คลอดใหม่จนถึง 1 เดือน หรือ 4 สัปดาห์ ซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญมากของมนุษย์และเป็นวัยที่เริ่มเรียนรู้ที่จะเข้าใจหรือไม่ไว้ใจในสภาพแวดล้อม การเจริญเติบโตในวัยทารกนี้มีอัตราการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว การเจริญเติบโตและการพัฒนาต่างๆ ซึ่งจะกล่าวเรียงลำดับดังนี้
การเจริญเติบโตทางร่างกาย
น้ำหนัก (Weight) เด็กคลอดครบกำหนดจะมีน้ำหนักแรกเกิดของเด็กไทยเฉลี่ย 2500-3000 กรัม ในระยะ 2-3 วันแรกของชีวิตน้ำหนักจะลดลงได้ประมาณ 5-10 % ของน้ำหนักตัวแรกเกิด ทั้งนี้เนื่องจากทารกได้อาหารน้อย มีการเสียน้ำออกจากร่างกายมากทั้งทางอุจจาระ ปัสสาวะ เหงื่อ และการหายใจ และจะเริ่มขึ้นเมื่ออายุได้ 3 วันไปแล้ว และจะขึ้นเท่าน้ำหนักแรกเกิดเมื่ออายุประมาณ 7-10 วัน ต่อไปน้ำหนักจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ใน 3 เดือนแรกจะขึ้นประมาณวันละ 1 ออนซ์ หรือ 30 กรัม
Special senses
-                          Touch เด็กจะมีความรู้สึกต่อการสัมผัสโดยเฉพาะที่ปาก ลิ้น หู หน้าผาก เด็กแรกเกิดปกติจะ respond ต่อการอุ้ม ถ้าเด็กไม่งับหัวนมเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าอาจมี brain damage
-                          Sight ตาจะเป็นสีน้ำเงินหรือเทา เมื่อแรกเกิดและจะเปลี่ยนเป็นสีปกติเมื่ออายุ 3-6 เดือน การเคลื่อนไหวของตาจะไม่สอดคล้องกัน ตาจะกลอกไปมาเป็นการยากที่จะทราบว่าเด็กมองเห็นหรือไม่ pupil จะ react ต่อแสงไม่ชอบแสงสว่างจ้าและยังไม่มีน้ำตาปรากฏชัดเจนกว่าอายุ 3-4 สัปดาห์ ถ้าตาเปิดได้ครึ่งเดียว บวม มีหนองไหลอาจเกิดการระคายเคืองจาก AgNO3 หรือมีการติดเชื้อเกิดขึ้น
-                          Hearing เด็กจะไม่ได้ยินจนกว่าจะร้องไห้ครั้งแรก การทดสอบว่าเด็กได้ยินหรือไม่กโดยการสั่นกระดิ่งถ้าเขาได้ยินจะมี activity เพิ่มขึ้น จะมีการเคลื่อนไหวแขนขา และตา ปกติจะ Respond ต่อเสียงประมาณอายุ 3-7 วัน
-                          Taste จะรู้รสได้เป็็นอย่างดี และมีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว จะยอมรับอาหารเหลวรสหวาน จะไม่ยอมรับอาหารที่มีรสเปรี้ยวหรือขม
-                          Smell จะได้กลิ่นนมแม่และหันเข้าหาหัวนม
Skin sensations
                เด็กจะมีความรู้สึกต่อการสัมผัส, ความกดดัน, อุณหภูมิ, ความเจ็บปวด ได้ตั้งแต่แรกเกิด
-                          organic sensation เด็กทารกจะมีความรู้สึกต่อ ออร์แกนิค สติมูเลชั่น เช่น การหิวกระหายจะเป็นสาเหตุปกติที่ทำให้เด็กร้อง เด็กที่อายุประมาณ 2-3 สัปดาห์ อาจจะมีการปวดท้องเนื่องจากมีลมในลำไส้มากได้
การนอนหลับ
                เด็กแรกเกิดส่วนใหญ่จะนอนวันละประมาณ 15-20 ชม. จะตื่นเป็นระยะเวลาสั้นๆ เมื่อได้รับการกระตุ้นจากภายใน เช่น หิว เจ็บปวด หรือกระตุ้นจากภายนอก เช่น เปียกแฉะ เป็นต้น เมื่อเด็กโตขึ้นก็จะตื่นนานขึ้น
ภูมิต้านทานโรค
-             แอนติบอดี้ ของโรคต่าง ๆ จะผ่านทารก ไปยังเด็กระหว่างที่เด็กอยู่ในครรภ์มารดา เช่น ฝีดาษ, คางทูม, คอตีบ และหัด ถ้ามารดาเคยเป็นโรคดังกล่าวมาก่อน ภูมิต้านทานที่ได้รับจากมารดานี้จะอยู่ประมาณ 2-3 สัปดาห์จนถึงหลายเดือน เด็กแรกเกิดอาจเกิดโรคสุกใส และ ไอกรนได้ เนื่องจากมีภูมิต้านทานโรคเพียงเล็กน้อย ในเด็กแรกเกิดจะเกิดการติดเชื้อลุกลามและมีโรคแทรกซ้อนได้ง่าย
พัฒนาการทางด้านจิตใจและอารมณ์
                เด็กแต่ละคนมีลักษณะพื้นฐานทางนิสัยที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดเป็นแบบประจำตัวของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แม้ในพี่น้องท้องเดียวกันก็ยังมีนิสัยต่างกันไป การเจริญเติบโตทางจิตใจเป็นผลเนื่องมาจากการเลี้ยงดูอบรมเด็กได้รับจากบิดามารดาหรือสภาพแวดล้อม มารดาจึงเป็นผู้ที่มีความสำคัญที่สุดสำหรับเด็กทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กตั้งแต่แรกเกินจนถึง 6 ขวบ จึงเป็นวัยที่อุปนิสัยใจคอเริ่มก่อตัวฝังแน่นอยู่ในใจของเด็ก เด็กต้องการความรักเท่า ๆ กับอาหาร เด็กเจ็บป่วยเพราะถูกทอดทิ้งก็มีมากบางคนป่วยเพราะต้องการความรัก ความเอาใจใส่จากแม่ หรือเพราะแม่ให้ไม่เพียงพอ การพัฒนาทางด้านอารมณ์ จะทำให้เราเห็นการสนองตอบที่ไม่เหมือนกัน เมื่อเด็กก้าวจากวัยหนึ่งมาสู่วัยหนึ่ง การเจริญเติบโตและพัฒนาการทางจิตใจและอารมณ์ที่ปกติจะนำไปสู่ความเป็นผู้มีบุคลิกดี คือเป็นผู้ที่มีอารมณ์มั่นคง เป็นผู้ใหญ่เพียงพอ รู้ตัวเมื่อทำอะไรผิดพลาด อยู่ในสังคมได้ด้วยความสุข และเป็นตัวของตัวเอง
                อารมณ์ของทารกแรกเกิด มีอยู่ 2 ประเภท คือ อารมณ์ชื่นบาน และอารมณ์ไม่แจ่มใสหรืออารมณ์โกรธ โดยที่ทารกได้รับการเปลี่ยนท่านอนอย่างรวดเร็วไม่นุ่มนวลถูกจับตรึงไม่ให้
กระดุกกระดิก หรือได้ยินเสียงดัง ไม่ได้รับการอุ้มชู และการเจ็บป่วย ทารกจะร้องไห้ เมื่อทารกรู้จักชื่นบาน เมื่อได้รับการตอบสนองทางด้านความต้องการทางร่างกาย การสัมผัสอย่างนุ่มนวล การกอดรัด เห่ กล่อม และให้อาหาร ทารกจะมีอารมณ์ชื่นบานโดยแสดงสีหน้าอย่างมีความสุข

การจัดกิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์การปั้น

ชื่อเรื่อง การจัดกิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์การปั้นโดยเน้นวัสดุอุปกรณ์ ธรรมชาติในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาความ      สามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนบ้านเขาตาว

ผู้วิจัย ชุติมา แก้วแท้
ปีที่วิจัย 2550
โรงเรียน บ้านเขาตาว
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ การปั้นโดยเน้นวัสดุอุปกรณ์ ธรรมชาติในท้องถิ่นและศึกษาผลความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัยโดยรวมและรายด้าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ เด็กนักเรียนชาย-หญิง อายุ 4 ปี กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนบ้านเขาตาว อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ได้มาโดยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวนนักเรียน 19 คน ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ จำนวน 40 ครั้ง วันละ 30 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ คู่มือการใช้แผน การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์การปั้น คู่มือการใช้ นวัตกรรม ศิลปะสร้างสรรค์ การปั้นโดยเน้นวัสดุอุปกรณ์ธรรมชาติในท้องถิ่นและแบบประเมินความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อของเด็กปฐมวัย ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กกับจุดประสงค์ IOC อยู่ระหว่าง 0.68 – 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .90 การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิเคราะห์ ความแปรปรวน แบบวัดซ้ำ (One-way Reported Measures Anova) และ LSD แบบวัดซ้ำในการเปรียบเทียบแบบรายคู่
ผลการวิจัยพบว่าก่อนและระหว่างจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์การปั้นโดยเน้นวัสดุ อุปกรณ์ธรรมชาติในท้องถิ่น
เด็กปฐมวัยมีระดับคะแนนความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<.05 ทั้งโดยรวม (F=1152.832) และความสามารถรอบด้าน คือ ด้านความคล่องแคล่ว (F=303.202) ด้านความยืดหยุ่น (F=364.797)
ด้านความถูกต้องและความสามารถในการควบคุม (F=429.704) ด้านประสานกัน (F=231.186) และด้านการรับรู้โดยใช้ประสาทสัมผัส (F=524.347) โดยการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์การปั้นเน้นวัสดุ อุปกรณ์ ธรรมชาติในท้องถิ่น ส่งผลต่อความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัยสูงกว่าก่อนทดลองทุกสัปดาห์ แสดงว่ากิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์การปั้นเน้นวัสดุ อุปกรณ์ธรรมชาติในท้องถิ่น มีประสิทธิภาพสามารถพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็ก ของเด็ก