วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553

คอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย

คอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย
คอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Using Computers in Pre-school)

แนวคิดทฤษฎีและหลักการคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย ความรู้พื้นฐานในคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย การเลือกและการจัดโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ เทคนิคการสอนคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย การฝึกฝนปฏิบัติการสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย การวัดและการประเมินผลการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย ครูและผู้ปกครองกับการจัดโปรแกรมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์การใช้คอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย

e-learning : http://tcu.npru.ac.th/
จุดประสงค์ของวิชา

1. เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎีและหลักการของคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2. สามารถอธิบายเทคนิคการสอน การเลือกโปรแกรมที่เหมาะสมเพื่อการส่งเสริมพัฒนาการต่าง ๆ ตลอดจนสามารถจัดกิจกรรมการใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
3. ให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติการใช้คอมพิวเตอร์และสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย


หัวข้อวิชา (course outline)

1. แนวคิด ทฤษฎี หลักการ และความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2. การเลือก การจัดโปรแกรม การวัดและการประเมินผลการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ
3. บทบาทของครูและผู้ปกครองในการจัดกิจกรรม เพื่อการส่งเสริมประสบการณ์และการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
4. เทคนิคการสอนคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย
5. การจัดสภาพแวดล้อมที่เป็นมัลติมีเดียสำหรับการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
6. การใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานกับระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (Microsoft Windows)
7. ระบบคอมพิวเตอร์และมัลติมีเดียสำหรับเด็กปฐมวัย
8. การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
9. การใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Microsoft Office ขั้นพื้นฐาน
10. การใช้โปรแกรมกราฟิก Adobe Photoshop ขั้นพื้นฐาน
11. การใช้โปรแกรมบันทึกเสียง CoolEdit ขั้นพื้นฐาน
12. การใช้โปรแกรมนำเสนอ Microsoft PowerPiont ขั้นพื้นฐาน
13. การสร้างสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับเด็กปฐมวัย
14. การสร้างสื่อมัลติมีเดียสำหรับเด็กปฐมวัย
15. การนำเสนอผลงานการสร้างโปรแกรมมัลติมีเดียสำหรับเด็กปฐมวัย

การเรียนและการสอน ประกอบด้วย

1. การบรรยายในชั่วโมงเรียนโดยใช้สื่อต่างๆ เพื่อให้มีความรู้พื้นฐานที่สามารถค้นคว้าต่อได้
2. ให้นักศึกษาจัดทำแฟ้มบันทึกการเรียนรู้และการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมนอกห้องเรียน หลังการเรียนในแต่ละหัวข้อวิชา โดยอาจารย์ผู้สอนจะติดตามอ่านแฟ้มบันทึกการเรียนรู้ เพื่อติดตามและทราบพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา
3. ให้นักศึกษาและทำความเข้าใจเนื้อหาวิชาด้วยการทดลองปฏิบัติการในห้องคอมพิวเตอร์
4. ให้นักศึกษาค้นคว้านอกห้องเรียน จากตำรา เอกสารประกอบการสอน และ web sites ต่างๆ





อุปกรณ์สื่อการสอน ได้แก่

1. เครื่อง LCD projector และ คอมพิวเตอร์
2. ตำรา และ เอกสารประกอบการสอน
3. web sites : http://tcu.npru.ac.th/ และ http://pathomwai.pantown.com/

การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประกอบด้วย

1. บันทึกการเรียนรู้และการศึกษาค้นคว้านอกห้องเรียน 10 %
2. การปฏิบัติงานระหว่างภาคเรียน 60 %
3. สอบปลายภาค 30 %

ระยะเวลาการศึกษา

สัปดาห์ที่ 1
- แนวคิด ทฤษฎี หลักการ และความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- การเลือก การจัดโปรแกรม การวัดและการประเมินผลการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ

สัปดาห์ที่ 2
- บทบาทของครูและผู้ปกครองในการจัดกิจกรรม เพื่อการส่งเสริมประสบการณ์และการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
- การจัดสภาพแวดล้อมที่เป็นมัลติมีเดียสำหรับการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

สัปดาห์ที่ 3
- เทคนิคการสอนคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย และการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัย
- การใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานกับระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (Microsoft Windows)

สัปดาห์ที่ 4
- ระบบคอมพิวเตอร์และมัลติมีเดียสำหรับเด็กปฐมวัย
- การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย

สัปดาห์ที่ 5
- การใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Microsoft Office ขั้นพื้นฐาน

สัปดาห์ที่ 6
- การใช้โปรแกรมกราฟิก Adobe Photoshop ขั้นพื้นฐาน (1)

สัปดาห์ที่ 7
- การใช้โปรแกรมกราฟิก Adobe Photoshop (2)
- ปฏิบัติการสร้างสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับเด็กปฐมวัย

สัปดาห์ที่ 8
- การสร้างสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับเด็กปฐมวัย (1)
- ปฏิบัติการสร้างสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับเด็กปฐมวัย

สัปดาห์ที่ 9
- การสร้างสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับเด็กปฐมวัย (2)
- ปฏิบัติการสร้างสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับเด็กปฐมวัย

สัปดาห์ที่ 10
- การใช้โปรแกรมบันทึกเสียง CoolEdit ขั้นพื้นฐาน
- ปฏิบัติการบันทึกเสียงด้วยคอมพิวเตอร์

สัปดาห์ที่ 11
- การสร้างสื่อมัลติมีเดียสำหรับเด็กปฐมวัย
- การใช้โปรแกรมนำเสนอ Microsoft PowerPiont ขั้นพื้นฐาน (1)

สัปดาห์ที่ 12
- การใช้โปรแกรมนำเสนอ Microsoft PowerPiont ขั้นพื้นฐาน (2)
- ปฏิบัติการสร้างสื่อมัลติมีเดียสำหรับเด็กปฐมวัย

สัปดาห์ที่ 13
- สอบปฏิบัติรอบแรก
- หลักการสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับเด็กปฐมวัย

สัปดาห์ที่ 14
- สอบปฏิบัติรอบสอง
- หลักการสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับเด็กปฐมวัย

สัปดาห์ที่ 15
- การนำเสนอผลงานการสร้างโปรแกรมมัลติมีเดียสำหรับเด็ก
- ส่งงานนำเสนอกลุ่มและส่งข้อสอบข้อเขียน

หมายเหตุ
- ไม่เกินสัปดาห์ที่ 16 ส่งงานนำเสนอเดี่ยวขึ้นเว็บส่วนตัว

วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เพลงม้าลาย

กิจกรรมสร้างสรรค์หรือกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย

กิจกรรมสร้างสรรค์หรือกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย

กิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย มีจุดมุ่งหมายเพื่อ

- ให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ผ่อนคลายความเครียด
- ส่งเสริมพัฒนาการทางภาษา
- ส่งเสริมและพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อมือ
- ส่งเสริมและพัฒนาประสาทสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
- ฝึกทักษะการสังเกต การคิด และการแก้ปัญหา
- ส่งเสริมการทำงาน และการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- ส่งเสริมคุณธรรม เช่น  ความรรับผิดชอบ ความมีวินัยในตนเอง การรอคอย

ศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย

ศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย

การจัดกิจกรรมศิลปะให้กับเด็กปฐมวัยในแต่ละวัน นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับเด็กปฐมวัย นอกจากจะได้พัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเล็กและการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับสายตาแล้ว กิจกรรมศิลปะยังสอดคล้องกับแบบแผนการเรียนรู้ของสมอง หรือที่เรียกว่า Brain Base Learning (BBL) อีกด้วย เด็กจะได้ฝึกปฏิบัติจริง มีประสบการณ์ตรง เรียนรู้ผ่านการสังเกตและฝึกกิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อพัฒนาจุดเชื่อมต่อของใยประสาท ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ผ่อนคลาย มีอิสระทางความคิด กิจกรรมศิลปะ เป็นกิจกรรมที่สามารถพัฒนากล้ามเนื้อเล็กได้เป็นอย่างดี และยังเชื่อมโยงพัฒนาการของอวัยวะหลายส่วน ทำให้เกิดจุดเชื่อมต่อของใยประสาทที่สามารถพัฒนาไปสู่แบบแผนการเรียนรู้ของสมอง ในการจัดกิจกรรมศิลปะหรือกิจกรรมสร้างสรรค์ ครูควรจัดกิจกรรมให้เด็กมีประสบการณ์ตรงและฝึกปฏิบัติอย่างหลากหลาย หากย้อนอดีต สะท้อนประสบการณ์เดิมด้านการเรียนการสอนศิลปะ คุณครูจะให้นักเรียนวาดภาพทิวทัศน์ในกระดาษวาดเขียน แนวคิดเดิม ๆ คือ ภาพทิวทัศน์จะมีดวงอาทิตย์อยู่ตรงกลางระหว่างภูเขา มีก้อนเมฆ มีต้นมะพร้าวหรือต้นไม้อื่น มีน้ำทะเล มีเรือใบ มีนกบิน ฯลฯ แต่ยุคปัจจุบันการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย จะต้องจัดกิจกรรมให้เด็กอย่างหลากหลายรูปแบบนะครับ เช่น - กิจกรรมวาดภาพระบายสี - กิจกรรมเล่นกับสีน้ำ เช่น เป่าสี หยดสี พับสี ระบายสีด้วยนิ้วมือ ฝ่ามือ - กิจกรรมการพิมพ์ภาพด้วยส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและวัสดุต่าง ๆ - กิจกรรมการปั้น ขยำดินเหนียว ดินน้ำมัน แป้งโด กระดาษ ฯลฯ - กิจกรรมการพับ ฉีก ตัด ปะ - กิจกรรมการร้อย สาน และการออกแบบ - กิจกรรมการฝนสีด้วยกระดาษทราย ฯ ล ฯ ในการจัดกิจกรรมดังกล่าว ครูสามารถส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ที่เพิ่มจุดเชื่อมต่อของใยประสาท โดยส่งเสริมให้เด็กสังเกตรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ พัฒนาการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับสายตา การพัฒนาระบบกายสัมผัสโดยให้เด็กมีโอกาสสัมผัสรับรู้วัสดุที่มีผิวสัมผัสต่างกันในระหว่างทำกิจกรรมสร้างสรรค์ เช่น ผ้ากระสอบ ผ้าสักหลาด กำมะหยี่ กระดาษทราย กระดาษที่มีผิวสัมผัสต่างกัน ฯลฯ ระหว่างทำกิจกรรมศิลปะ ครูต้องจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เช่น แสงสว่างพอเหมาะ มีเสียงดนตรีเบา ๆ บรรยากาศผ่อนคลาย ทำให้เกิดการเชื่อมโยงสมองส่วนประสาทสัมผัสกับสมองส่วนที่คุมกล้ามเนื้อพร้อม ๆ กัน การเชื่อมโยงสมองซีกซ้ายเข้ากับซีกขวาที่เป็นด้านจินตนาการ ดังนั้น งานศิลปะจึงไม่ควรเป็นการลอกเลียนแบบหรือต้องทำให้เหมือนจริง รวมทั้งไม่เน้นความถูกต้องของสัดส่วน แต่ส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ สังคม และความคิดสร้างสรรค์ ทำให้เด็กสนุกสนาน ซึมซับความงามของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว มีความมั่นใจ ภาคภูมิใจในผลงานของตน ควบคู่กับความสามารถถ่ายทอดการรับรู้ภายในด้านมิติ รูปทรง ขนาด ระยะ ฯลฯ ตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์เด็ก